การจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวในมิติวัฒนธรรมเมืองปลายแดนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติและภูมินิเวศน์วัฒนธรรมเมืองเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาแหล่งทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวที่สำคัญภายในเมืองเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อศึกษาการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในเมืองเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนี้ดำเนินการในพื้นที่อำเภอเขมราฐ ซึ่งเลือกแบบเจาะจงได้แก่พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวของอำเภอเขมราฐ รวมกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 42 คน เลือกแบบเจาะจงประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 14 คน ผู้ให้มูลเชิงปฏิบัติจำนวน 14 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 14 คน ข้อมูลการวิจัยได้รวบรวมจากเอกสาร และการปฏิบัติการภาคสนามโดยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า อำเภอเขมราฐ เดิมมีฐานะเป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญต่อเมืองอื่นๆ เพราะเป็นเมืองที่เทียบได้กับหัวเมืองเอก ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มิได้ขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี เช่นเมืองอื่นๆ และ เมืองเขมราฐ ยังมีเมืองขึ้นอีกหลายเมือง เช่น เมืองอำนาจเจริญ เมืองคำเขื่อนแก้ว ยังมี แหล่งทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวที่สำคัญภายในเมืองเขมราฐ เช่น หาดทรายสูง แก่งช้างหมอบ ภูอ่าง และ แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา ได้แก่ พระเจ้าใหญ่องค์แสน พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น และพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ส่วนปัญหาการท่องเที่ยวเขมราฐได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์ การเดินทางไปยังที่ท่องเที่ยว และบริการด้านอาหาร ส่วนด้านพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในเมืองเขมราฐ มีการจัดการด้านศิลปะจิตรกรรม มีการจัดการแหล่งอารยธรรมโบราณ 2000ปี ตำบลเจียด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาถึงโบราณวัตถุ และมีการศึกษาหาข้อมูลภายในวัดที่มีภาพศิลปกรรม จิตรกรรมและโบราณวัตถุ ที่มีให้กลุ่มคนที่สนใจมาศึกษาของเก่าแก่ของโบราณในเขตอำเภอเขมราฐได้ ด้านอาหาร มีการจัดการด้วยการสร้างภาพลักษณ์อาหารให้เกิดความน่าสนใจกับนักท่องเที่ยว และส่วนที่สำคัญซึ่งเป็นจุดดึงดูดกับนักท่องเที่ยวนั้นประกอบไปด้วยการจัดจำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร คาวหวาน ที่นำมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ร้านค้าและตลาดถนนคนเดินจะเป็นอาหารพื้นเมือง อาหารทั่วไปที่เป็นการปรุงแบบสดและใหม่ ด้านการแต่งกาย มีการจัดการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายพื้นเมือง และควรค่าที่จะสนับสนุนและส่งเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยว และการจับจ่ายซื้อเป็นของฝากโดยการประชาสัมพันธ์ และจัดเดินแบบผ้าพื้นเมืองที่ตลาดถนนคนเดินเขมราฐยามเย็น ด้านสถานที่ มีการจัดการด้วยการทำแผนที่ท่องเที่ยวบอกเส้นทางไปท่องเที่ยวยังที่ต่างๆและการจัดการประชุมและแถลงข่าวเปิดงานการท่องเที่ยวถนนคนเดินเขมราฐของทางกลุ่มคนรักษ์เขมราฐ การเปิดชมรมรักษ์วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเขมราฐ การจดทะเบียนทางวัฒนธรรมขึ้น ระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิตกับกลุ่มคนรักษ์เขมราฐ กับการประชุมเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเขมราฐเพื่อความก้าวหน้าสู่สากล และการศึกษาดูงานในต่างพื้นที่วัฒนธรรมจากอีสานสู่เหนือร่วมศึกษาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่จังหวัดน่าน ในการเตรียมการพัฒนาต่อยอดถนนสายวัฒนธรรม ถนนคนเดินเขมราฐ โดยสรุปในการศึกษา การจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวในมิติวัฒนธรรมเมืองปลายแดนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า อำเภอเขมราฐ เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญต่อเมืองอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ สภาพปัจจุบันและปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวที่ยังขาดความร่วมมือกับการพัฒนาในหลายด้านที่ควรจะมีการจัดการให้ยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น