การจัดการทางวัฒนธรรมของผู้นาชุมชนในการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อความมั่นคงทาง สังคมที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • โฆสิต แพงสร้อย

คำสำคัญ:

การจัดการ, วัฒนธรรม, ผู้นำชุมชน, ความมั่นคง, สังคม, ยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาและสภาพปัญหาของผู้นำชุมชนในการส่งเสริมกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม 2. ศึกษาการจัดการทางวัฒนธรรมของผู้นำชุมชนในการส่งเสริมกิจกรรม  เพื่อความมั่นคงทางสังคมที่ยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 40 คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์แบบปากต่อปาก ตัวต่อตัวและเก็บข้อมมูลจากการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ที่มีส่วนร่วม เช่น ผู้นำชุมชนภาครัฐและภาคชุมชน วัฒนธรรมอำเภอ
ครูพัฒนากร สาธารณสุขตำบล ผู้ใหญ่บ้าน ประธานกลุ่มสตรีแม่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ปราชญ์ชาวบ้าน และเจ้าอาวาสวัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา

              ผลการวิจัยพบว่า

              หมู่บ้านทั้ง 2 แห่ง มีความเป็นมาของประวัติศาสตร์ชุมชนที่แตกต่างกันไปตามบริบทพื้นที่ ความคล้ายคลึงกันอยู่ที่รูปแบบ ความเชื่อประเพณี พิธีกรรมตามฮีตสิบสองครองสิบสี่ โดยเฉพาะกิจกรรมสำคัญระดับจังหวัดและอำเภอผู้นำชุมชนและประชาชนร่วมเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่บุญคูณลานสู่ขวัญข้าว ประเพณีบุญเผวส บุญบั้งไฟ พิธีแห่ประสาทผึ้ง ในเทศกาลออกพรรษา และกิจกรรมผู้สู้อายุ เป็นต้น สภาพปัญหาในการส่งเสริมกิจกรรม ด้านสังคมและวัฒนธรรม จะเป็นกระบวนการขั้นตอนการขับเคลื่อนงาน ได้แก่ การวางแผน การจัดโครงสร้างการทำงาน การจัดคนทำงาน และการควบคุมติดตามผล โดยปัจจัยที่เป็นอุปสรรคจะเกี่ยวข้องกับบุคลากร ค่าใช้จ่ายวัสดุอุปกรณ์ และวิธีดำเนินงานตามลำดับการจัดการทางวัฒนธรรมของผู้นำชุมชนในการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อความมั่นคงทางสังคม (ชุมชนเข้มแข็ง) ที่ยั่งยืน จำเป็นจะต้องถอดบทเรียนจากสภาพปัญหาที่พบในขั้นตอนการวางแผน การจัดโครงสร้างการทำงาน การจัดคนเข้าทำงาน และการควบคุมติดตามผล เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาให้เป็นจุดแข็งในการส่งเสริมกิจกรรมที่สอดคล้องสัมพันธ์กันเป็นวงจรทำงานที่มีคุณภาพ ทำให้คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้มีจิตสาธารณะ พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมหมู่บ้านอย่างพร้อมเพียง สม่ำเสมอ มีสุขภาวะที่ดี และประกอบอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพึ่งตนเองได้

References

Ministry of Culture. (2013). 1 Century Ministry Of Culture Cultural Capital Brings Society And Economy. , Printed at the company Amarin Printing & Publishing Public Company Limited.
Phuang Phakaprasoetsin. (1999). Thai Traditions and Changes Along The World Culture. 3rd edition, Pikanesh Publishing House.
Phrasamat Anontho. (2005). Leadership in the Throne of Thesis. Mahamakut Buddhist University.

เผยแพร่แล้ว

2018-02-21

How to Cite

แพงสร้อย โ. (2018). การจัดการทางวัฒนธรรมของผู้นาชุมชนในการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อความมั่นคงทาง สังคมที่ยั่งยืน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 32–42. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/235150