สุนทรียศาสตร์ผ่านความงามทางภาษาและวัฒนธรรมไทย

ผู้แต่ง

  • กิตติยา รัศมีแจ่ม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ฤดี กมลสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

สุนทรียศาสตร์, ความงามทางภาษา, วัฒนธรรมไทย

บทคัดย่อ

สุนทรียภาพของภาษาและจินตนาการของวรรณคดีเกิดขึ้นจากการใช้ภาษาที่เรียบง่ายใกล้เคียงกับภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่สามารถให้น้ำหนักของการย้ำความรู้สึกและการถ่ายทอดความคิดของผู้แต่งได้อย่างตรงไปตรงมา ผู้แต่งสามารถสื่อสารมายังผู้อ่านได้อย่างแนบเนียน โดยทั่วไปจินตนาการของผู้แต่งสามารถสร้างสัมผัสทางอารมณ์หรือการรับรู้ความงามทางภาษาได้อย่างซาบซึ้ง จะเห็นได้ว่างานประพันธ์ที่ใช้ฉันทลักษณ์ชนิดเดียวกันอาจให้สัมผัสทางอารมณ์ต่างกัน สุนทรียภาพของภาษาและจินตนาการของกวีจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถของกวีผู้ใช้ประโยชน์จากอัจฉริยภาพของภาษาไทย รวมไปถึงการพรรณนาความที่เกินกว่าความเป็นจริงเพื่อสื่อความหมายของภาษาที่ลึกซึ้งและสวยงามจะเห็นได้ว่าวรรณคดีนอกจากจะมีคุณค่าด้านความงามทางภาษาแล้วยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนวิถีชีวิต สะท้อนค่านิยมสถานะความเป็นอยู่  ความเชื่อ  วัฒนธรรม  ประเพณีของสังคมในอดีตด้วย  นอกจากจะให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่านแล้ว  ยังช่วยยกระดับจิตใจเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนของคนในสังคมอีกทั้งรวบรวมคติธรรมและคำสอนจากวรรณคดี ไว้เป็นแนวทางให้ผู้อ่านได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงชุมชนสังคมทั่วไป  เนื่องจากดั้งเดิมสังคมไทยในอดีตมีการยกระดับจิตใจด้วยหลักศาสนาและใช้ศาสนาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดวิถีชีวิตและคุณธรรม  ซึ่งปรากฏในวรรณคดีคำสอนและสุภาษิตซึ่งคนไทยได้ใช้เป็นหลักยึดเหนี่ยวสืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน และได้ยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติตนตามวิถีทางที่ถูกที่ควรตลอดมา

References

Banthoeng Pha Phichitchut. (2006). Tradition Thailand Culture And faith.
Bangkok : O.Es.Phrin Ting Hao.
Duangmon Chitchamnong. (1993). Aesthetics in Thai. 2nd Edition,
Bangkok : Thammasan.
Duangmon Chitchamnong and Suchitra Chongsathitwatthana. (2012). Patterns
and Aesthetics and Thai Literature Unit 8, Instructional Materials in
Thai Literature. 2nd Edition, Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open
University.
Prasit Kapklon and Niphon Insin. (1990). Language culture. Bangkok:
Thai Watthanaphanit.
Ratchabandittayasathan. (2013). Photchananukrom Chabap
Ratchabandittayasathan 2011. 2nd Edition, Bangkok: Nanmeebooks.
Ruenruethai Satchaphan. (2011). Literary Studies. Bangkok: Tarnpanya.
Wirun Tangcharoen. (2003). Aesthetics for life. 2nd Edition, Bangkok: Santisiri
Kan Phim.
Wirachai Michop. (1987). Judgment Language And Thai culture. Bangkok:
Aksonbandit.
Sakon Phungamdi. (2004). Visual Basic. Bangkok: bookpoint.
Ari Sutthiphan. (2010). Aesthetic experience. Bangkok: SamnakphimTonO.

เผยแพร่แล้ว

2019-03-25

How to Cite

รัศมีแจ่ม ก., & กมลสวัสดิ์ ฤ. . (2019). สุนทรียศาสตร์ผ่านความงามทางภาษาและวัฒนธรรมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 264 279. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/174074