การกำหนดยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทย สู่ประชาคมอาเซียน
คำสำคัญ:
การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, พระธรรมทูต,ประชาคมอาเซียนบทคัดย่อ
บทความเรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในประชาคมอาเซียน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods) กำหนดวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ
พระธรรมทูตไทยในประชาคมอาเซียน และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interview) จำนวน 30 รูป/คน กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 306 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในประชาคมอาเซียน พบว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในประชาคมอาเซียน มีการประชุมวางแผนก่อนโดยคณะบริหารงานด้านพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ได้กำหนดเป้าหมายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประชาคมอาเซียนอย่างชัดเจน และกำหนดวิสัยทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างครอบคลุมและสอดคล้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอดีตและปัจจุบัน มีการติดตามและประเมินผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยมีระบบและกลไกในการติดตามและประเมินผลผ่านจำนวนของพระธรรมทูตที่เพิ่มขึ้น จำนวนของผู้มีความสนใจในพระพุทธศาสนาที่เพิ่มขึ้น ผลการวิเคราะห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในประชาคมอาเซียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยการวางแผนดำเนินงานมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ การดำเนินตามแผน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 อยู่ในระดับมาก และการติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 4.24 อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย ด้านหลักธรรม ด้านองค์การ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ โดยใช้การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) และค่า p-value โดยภาพรวมทุกด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในสู่ประชาคมอาเซียน (r = 0.803,p-value = 0.000)
References
Krejcie, R. V., and Morgan, D.W.(1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.
Phichit Phithakthepsombat.(2005). 12 Concepts of Public Administration: Meaning of Measurement. Bangkok: Semadharma Publishing.
Phramaha Montri Tikkharo (Siboonhung). (2007). Guidelines for The Propagation of Buddhism of The Dhamma Foreign Lines In The Next Decade (Master of Thesis). Graduate School: Silpakorn University.
Phra Mahathanat Atthuchari. (2000). Overseas Dhammaduta Bhikkhus. 2nd Edition, Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing School.
Phrakhrusuwithanphatthanabandit (Sukanya Aruno). (2014). Integrating Buddhism and Modern Sciences for Sustalable Development of Thailand in ASEAN Community. Khon Kaen: LP Printing Depot Nana Wittaya LP.
Phramaha Boonthai Punyamano.(2009). The Propagation of Buddhism by Using Information Technology of Thai Buddhist Monks at Present (Doctor of Thesis). Graduate Studies: Mahamakut University, Royal College.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น