Management Strengthening of Sangkha Administration in Pattani Province

Authors

  • Phrakhru Suwansutalangkan (Toem Charuwanno) Doctor of Philosophy in Buddhist Management, Faculty of Social Sciences Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  • Phramaha Sunun Sunundho Department of Political Science, Faculty of Social Sciences, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
  • Yuttana Praneet Department of Political Science, Faculty of Social Sciences, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Keywords:

Management Strengthening, Sangkha Administration

Abstract

การศึกษาครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและบริบทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดปัตตานี ๒) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดปัตตานี  ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดปัตตานี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๒ รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๒ รูป และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์ในเขตปกครองจังหวัดปัตตานี จำนวน ๓๐๐ รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน

             ผลการวิจัยพบว่า

             ๑. สภาพปัจจุบันและบริบทในการบริหารการกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดปัตตานี พบว่า   ด้านการปกครอง  ยึดตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎหมายบ้านเมือง มีการนำนโยบายไปใช้ในการปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยผู้ปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติโดยเล็งเห็นความสำคัญกับส่วนรวมเป็นสำคัญ มีปกครองตามลำดับชั้น ด้านศาสนศึกษา ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อให้พระภิกษุและสามเณรมีความรู้ความสามารถ ส่งเสริมให้มีการเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี โดยมีการกำหนดให้พระภิกษุที่บวชใหม่จะต้องเรียนข้อวัตรปฏิบัติเบื้องต้นเพื่อให้สามารถนำหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ส่งเสริมการสร้างโรงเรียนไว้ภายในวัด มีการตั้งทุนสงเคราะห์และทุนการศึกษา เช่น การมอบทุนการศึกษา  มอบอุปกรณ์ทางการศึกษาแก่ภิกษุ สามเณร และประชาชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ทางการศึกษาด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีการแสดงพระธรรมเทศนาภายในวัด ส่งเสริมให้เยาวชนมีการเรียนรู้คู่คุณธรรม มีการสนับสนุนให้มีการปฏิบัติวิปัสสนาภายในวัด ด้านสาธารณูปการ มีการบูรณปฏิสังขรณ์และพัฒนาวัดให้คงสภาพเดิมเพื่อเป็นเอกลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ด้านการสาธารณะสงเคราะห์ มีการสงเคราะห์ทั้งทางด้านจิตใจโดยใช้หลักธรรมสงเคราะห์ประชาชน และหากประชาชนประสบภัยพิบัติ คณะสงฆ์ก็คอยให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านสิ่งของและการให้เข้ามาพักพิงในสถานที่ของวัด

             ๒. การใช้หลักธรรมาภิบาลในการเสริมความเข้มแข็งในบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดปัตตานี คณะสงฆ์มีการเชื่อมโยงกิจกรรมของวัดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมปัจจุบัน โดยบูรณาการให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล  ได้แก่ ๑) ด้านการปกครอง คณะสงฆ์มีการใช้กฎระเบียบต่างๆ ในการปกครองอย่างเสมอภาค และยึดคุณธรรมเป็นหลัก ๒) ด้านการศาสนศึกษา มีการปฏิบัติโดยยึดหลักความรับผิดชอบเป็นอันดับแรก ยึดหลักคุณธรรมในการจัดการเพื่อให้เกิดความยุติธรรม อาศัยหลักการมีส่วนร่วมจากหลายๆ ฝ่าย ๓) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ยึดหลักคุณธรรมในการสงเคราะห์ ขณะเดียวกันต้องใช้หลักการมีส่วนร่วม เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าร่วม ๔) ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีการยึดหลักความรับผิดชอบและหลังหลักนิติธรรมในการเผยแผ่ กล่าวคือ ผู้เผยแผ่ต้องรับผิดชอบต่อการกระที่ได้ทำลงไป และอยู่ในกฎระเบียบของคณะสงฆ์๕) ด้านการสาธารณูปการ ต้องยึดหลักความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้กระทำลงไป เน้นความคุ้มค่าต่องบประมาณที่ได้ลงทุนไป และ ๖) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ยึดหลักคุณธรรม และต้องทำด้วยความโปร่งใส และความคุ้มค่า โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย

             ๓.  แนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดปัตตานี ๑) ด้านการปกครอง ต้องให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลและบริหารจัดการให้เป็นไปตามกฎระเบียบและข้อบังคับที่มีกำหนดไว้ ปรับปรุงโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์โดยเน้นการกระจายอำนาจ มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ๒) ด้านการศาสนศึกษา ควรมีการจัดการศึกษาให้พระสงฆ์สามเณรและคฤหัสถ์ในวัดอย่างทั่วถึง ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนนักธรรม บาลีแก่พระภิกษุสามเณร มีการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้สอนปริยัติธรรม เปรียญธรรมและครูพระสอนศีลธรรมเพื่อให้มีขวัญกำลังใจในการทำงาน จัดอบรมเสริมความรู้ให้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง ๓) ด้านการเผยแผ่ มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน คัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อมาปฏิบัติหน้าที่ จัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านความรู้และทักษะแก่ผู้ที่ออกไปเผยแผ่ จัดหางบประมาณและสถานที่เพื่อใช้ในการเผยแผ่ ๔) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ควรมีการประชุมเพื่อวางแผนและกำหนดแนวทางในการจัดหางบประมาณและจัดตั้งทุนสงเคราะห์ ๕) ด้านสาธารณูปการ  ควรจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อวางแผนจัดหาทุนและบริหารงบประมาณให้เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด ๖) ด้านสาธารณสงเคราะห์  มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ ผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้ควรมีการทำกิจกรรมร่วมกันกับหน่วยงานราชการและองค์กรอื่นๆ เช่น การจัดทำโครงการฝึกอบรมอาชีพ การดูแลด้านสาธารณสุข เป็นแกนนำในการพัฒนาชุมชนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ

Published

2019-03-24

How to Cite

(Toem Charuwanno), P. S. ., Sunundho, P. S. ., & Praneet, Y. . (2019). Management Strengthening of Sangkha Administration in Pattani Province. Journal of MCU Social Science Review, 8(1), 42–58. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/171367