แนวคิดทางพระพุทธศาสนา พละ 5: การประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
พละ 5, การพัฒนาการจัดการศึกษา, การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการคิด วิเคราะห์ การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจที่จะหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา รู้จักการทำงานเป็นทีมที่มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการเรียนรู้มีการเชื่อมโยงและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ สอดคล้องกับพุทธญาณวิทยาที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาปัญญาจากการลงมือปฏิบัติหรือภาวนามยปัญญาซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูงนอกเหนือจากปัญญาที่เกิดจากการอ่านและการฟังหรือสุตตมยปัญญาซึ่งเป็นปัญญาขั้นต้น และปัญญาที่เกิดจากการคิดวิเคราะห์หรือจินตมยปัญญาซึ่งเป็นปัญญาขั้นกลาง โดยการพัฒนาปัญญาต้องเกิดร่วมกับการพัฒนาศรัทธา วิริยะ สติ และสมาธิ ตามหลักพละ 5 จึงจะเกิดผลดี แต่ปัจจุบันผู้เรียนมีปัญหา 1) กระบวนการคิดวิเคราะห์ 2) สติในการเรียนรู้ 3) การเข้าใจบทบาทตนเองอย่างลึกซึ้ง 4) การควบคุมตนเอง 5) ศรัทธาและเป้าหมายที่จะบูรณาการไปสู่ผลการเรียนรู้ทางการศึกษา
ข้อเสนอแนะสำหรับการประยุกต์ใช้แนวคิดพละ 5 ได้แก่ 1) ศรัทธา: เลือก/พัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างศรัทธาต่อการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและนำไปสู่ความสามารถในการควบคุมตนเอง 2) วิริยะ: พัฒนาเครื่องมือและขั้นตอนการเรียนรู้ เพื่อนำสู่ สติ สมาธิ การเพียรพยายามเพื่อแสวงหาความรู้ทั้งวิธีนิรนัยและอุปนัย 3) สติ: กำหนด กำกับและทวนสอบผลการเรียนรู้โดยผู้เรียนซึ่งเป็นการพัฒนาสติให้เกิดการตระหนักรู้ตนเองด้วยการรู้คิดอย่างมีความหมาย 4) สมาธิ: สร้างบทโต้ตอบสนทนาระหว่างอาจารย์กับผู้เรียนส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการสื่อสาร การใช้แนวคำถามที่กระตุ้นกระบวนการคิดและการเชื่อมโยงความรู้ 5) ปัญญา: จัดประสบการณ์จริงเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจากสถานการณ์จริงซึ่งเป็นปัญญาในระดับที่สูงขึ้น
References
Management & Academic Problems of Nursing Students. Lampang:
BCNLP.
Khan, S. (2008). Model-based teaching as a source of insight for the design of a
viable science simulation. Technology Instruction Cognition and Learning.
6, 63-78.
Kraiyod Pattarawat. (2016).Thailand's Education to Thailand 4.0. Retrieved June 3, 2016,
from https://www.thaihealth.or.th/html.
Kriengsak Chareonwongsak. (2559). KSL 31220 Model versus K-3 Teaching
Quality Harvard's Rutgers Weekly Review. 63 (24) Page 31.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996).Tipitaka Thai Version.
Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Marzano, R. J., & Kendall, J. S. (2007). The new taxonomy of educational
Objectives. (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Mezirow, Jack. Taylor, Edward W. (2009). Transformative Learning in Practice:
Insights from Community, Workplace, and Higher Education.
San Francisco, CA. Jossey-Bass.
Sang ChotBoon, Prayoon Boonchai and Sumran Kumjudpai. (2017). Development
of Enrichment A Curriculum to Enhance Health Literacy for Primary
Students Based on the Concepts of Participatory Learning and Self-regulated Learning. Journal of MCU Peace Studies.6(Special Issue).323-333.
Siripat Jessasaviroj. (2550).Backward Design Learning Management Design.
Bangkok: Faculty of Education Ramkhamhaeng University.
Siriporn Srichantha. (2017). Project Based Learning in Instructional
Methodology and Management in Mathematics 1 Course for Bachelor's
Degree Students of the Faculty of Education in Mathematics at
Loei Rajabhat University. Journal of MCU Social science review. 6 (1), pp.127-139.
Thaworn Lorga et al. (2559). Doctrine of Learning through Activities. Lampang:
Boromrajonani College of Nursing Nakorn Lampang.
Vichai Wongyai and Marut Pataphon. (2558).Coaching Paradigm to Enhance Learning
Bangkok: Charansanit Wong Printing.
Vicharn Panich. (2558). Enjoy learning in the 21st century.Nonthaburi: SR Printing Mass Products.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น