ศึกษาโครงสร้างองค์การเพื่อการดาเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัย สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปรมต วรรณบวร

คำสำคัญ:

บัณฑิตวิทยาลัย, องค์การ, การดาเนินงาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างองค์การและการดาเนินงานของ
บัณฑิตวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างองค์การของบัณฑิตวิทยาลัยสังกัด
มหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร จาแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาและ
ตาแหน่ง 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดาเนินงานกับลักษณะโครงสร้างองค์การของ
บัณฑิตวิทยาลัยสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ (4) เพื่อหาแนวทางการจัด
โครงสร้างองค์การเพื่อการดาเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัยสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในเขต
กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยนี้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้
แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จานวน 400 ชุด และศึกษาจากเอกสาร ตารา
งานวิจัยต่าง ๆ พร้อมเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาและอุปสรรคที่เหมาะสม

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรผู้เกี่ยวข้องในบัณฑิตวิทยาลัย สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในเขต
กรุงเทพมหานครใน 8 แห่งได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และมหาวิทยาลัย
รามคาแหง รวมจานวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ค่า
ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .945 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติ
สหสัมพันธ์เพียรสัน 

ผลการวิจัยพบว่า
ลักษณะโครงสร้างองค์การของบัณฑิตวิทยาลัยสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในเขต
กรุงเทพมหานคร ภาพรวมอยู่ในระดับดี ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับดี ได้แก่ ด้านการ
บังคับบัญชา และด้านการจัดองค์การ ส่วนด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการมอบหมาย
อานาจหน้าที่ และด้านการกระจายอานาจ
การดาเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัยสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร
ภาพรวมอยู่ในระดับดี ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หากมีการปรับปรุง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
ต่างๆ ให้เอื้ออานวยต่อระบบโครงสร้างการบริหารจัดการใหม่ จาเป็นต้องมีการประสานงานระหว่าง
ทุกฝ่ายหรือทุกกลุ่มงานก่อนทุกครั้ง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่าสุด คือ ในการสนับสนุนงบประมาณด้าน
ต่าง ๆ ที่มีความจาเป็นเพื่อให้บุคลากรเกิดการพัฒนาตนเอง หัวหน้างานสามารถดาเนินการได้เลย
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรผู้เกี่ยวข้องในบัณฑิตวิทยาลัย สังกัด
มหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานครที่มีเพศ สถานภาพ และระดับการศึกษาต่างกันมี
ความคิดเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างองค์การของบัณฑิตวิทยาลัย ภาพรวมแตกต่างอย่างไม่มี
นัยสาคัญทางสถิติ .05 แต่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องในบัณฑิตวิทยาลัย สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในเขต
กรุงเทพมหานครที่มีอายุ และตาแหน่งต่างกันมีความคิดเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างองค์การของ
บัณฑิตวิทยาลัย ภาพรวมแตกต่างอย่างมีนัย สาคัญทางสถิติ .05 และลักษณะโครงสร้างองค์การของ
บัณฑิตวิทยาลัยในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดาเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัยสังกัด
มหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานครที่นัยสาคัญทางสถิติโดยมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างต่า
ส่วนแนวทางการจัดโครงสร้างองค์การเพื่อการดาเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัยสังกัด
มหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร ควรประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) กลุ่มภารกิจ
ด้านการกาหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มคณะกรรมการต่างๆและ
เลขานุการบัณฑิตวิทยาลัย และ (2) กลุ่มภารกิจด้านการปฏิบัติการและการให้บริการ ประกอบด้วย
กลุ่มงานเกี่ยวกับบริหารด้านงานทั่วไป กลุ่มงานเกี่ยวกับบริหารด้านวิชาการและกลุ่มงานเกี่ยวกับ
การประสานงาน โดยมีสานักงานเลขานุการบัณฑิตวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่คอยอานวยความ
สะดวก ประสานงานเพื่อให้การดาเนินงานทั้งสองกลุ่มงานสาเร็จลุล่วง

เผยแพร่แล้ว

2018-09-20

How to Cite

วรรณบวร ป. (2018). ศึกษาโครงสร้างองค์การเพื่อการดาเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัย สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 284–297. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/148886