การพัฒนาการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการปกครองคณะสงฆ์ ของพระสังฆาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูพิมลสุวรรณเขต (สนิท สุวณฺโณ)
  • พระครูพิมลสุวรรณเขต (สนิท สุวณฺโณ)

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหารจัดการ, การปกครองคณะสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับ
การพัฒนาการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัด
สุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาหลักการ และวิธีการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการปกครองคณะสงฆ์
ของพระสังฆาธิการ จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3)เพื่อนาเสนอการพัฒนาการบริหารจัดการ
ที่เหมาะสมในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรีการวิจัยใช้แบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ
การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ จานวน 18 รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจาก
ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง ด้วยการสัมภาษณ์
แบบตัวต่อตัว และการสนทนากลุ่มเฉพาะจานวน 11 รูป/คนวิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งสองขั้นตอน
โดยการพรรณนาความ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 290 รูป สุ่มตัวอย่างแบบ
ง่าย จากประชากร 1,050 รูป โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือเก็บข้อมูล
ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.955 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ คาความถี่ ค่าร้อยละ คาเฉลี่ย และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปของการพัฒนาการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการปกครองคณะสงฆ์
จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า 1) ด้านดาเนินการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยพระภิกษุ
สามเณรตั้งอยู่ในพระธรรมวินัยและเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาเป็นอย่างดี มีการกาหนดนโยบายในการ
ปกครอง คณะสงฆ์ที่ชัดเจน 2) ด้านส่งเสริมกิจการงานคณะสงฆ์ พบว่า ผู้บังคับบัญชา มีการส่งเสริม
ให้พระภิกษุสามเณร ได้สวดมนต์ เช้า-เย็น ตลอดทั้งปี และส่งเสริมการศึกษา หลักสูตร
ประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) แก่พระภิกษุเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่อง และมีการวางนโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน 3) ด้านระงับอธิกรณ์ พบว่า
ผู้บังคับบัญชา มีอานาจในการระงับการปฏิบัติหน้าที่ของพระสังฆาธิการ ในเมื่อล่วงละเมิดพระธรรม
วินัย มีการเดินเรี่ยไรเงิน ไม่อยู่ในกฎระเบียบของผู้บังคับบัญชา 4) ด้านการแก้ไขข้อขัดข้องของเจ้า
คณะปกครองให้เป็นไป โดยชอบ พบว่า มีการออกคาสั่งให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย
และมีนโยบายให้เจ้าคณะผู้ปกครองกากับสอดส่องดูแลความเรียบร้อยของพระภิกษุสามเณรอย่าง
สม่าเสมอ 5) ด้านการกากับบังคับบัญชาเจ้าคณะ และพระสังฆาธิการ พบว่า มีการออกกฎ ระเบียบ
คาสั่ง เพื่อให้พระสังฆาธิการได้ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ไม่ให้เกิดการทุจริตในหน้าที่

เผยแพร่แล้ว

2018-09-20

How to Cite

(สนิท สุวณฺโณ) พ., & (สนิท สุวณฺโณ) พ. (2018). การพัฒนาการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการปกครองคณะสงฆ์ ของพระสังฆาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 26–37. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/148464