State and religion: morality, authority, and freedom. State-to-religious violence

Phra Sutheevirabundith and others

Authors

  • พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) และคณะ

Keywords:

ศีลธรรม, อำนาจ, อิสรภาพ

Abstract

ในช่วงที่ผ่านมารัฐกับศาสนาส่วนหนึ่งสนับสนุนส่งเสริมกันและกัน แต่ก็มีส่วนหนึ่งขัดแย้ง กระทั่งเป็นการปะทะใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มศาสนา ดังกรณีจับสึก พระมหาอภิชาต ปุณณจนฺโท (สึก ‘พระมหาอภิชาติ’ เป็นภัยต่อความมั่นคง สร้างความขัดแย้ง/ข่าวสด : 20 กันยายน 2560) รวมไปถึงการล้อมปราบวัดพระธรรมกาย โดยใช้กองกาลังทหาร ตารวจ จานวนมาก ปิดล้อมวัดเป็นแรมเดือน ซึ่งก็ไม่สามารถจับตัว บุคคลที่ถูกกล่าวโทษการกระทาความผิดได้ (ธรรมกายกระอัก เจออีก127 หมาย ดีเอสไอชี้สิ้น มี.ค.รู้เลิกม.44/ไทยรัฐ : 19 มี.ค. 2560) รวมถึงการที่ “พระพุทธอิสระ” ดาเนินกิจกรรมทางการเมือง จนกลายเป็นคาถามจากฟากฝั่งตรงข้ามต่อพระกับบทบาททางการเมืองเป็นสิ่งที่ทาได้หรือไม่ ? รวมไปถึงการที่มีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งออกไปเรียกร้องการเลือกตั้งให้พระมีส่วนร่วมต่อการเลือกตั้ง มีส่วนร่วมในการเมืองเรื่องสีเสื้อ(สุรพศ ทวีศักดิ์, 2554) หรือกรณีล่าสุดเหตุการณ์ล้อมปราบ และจับพระสึกภายใต้ความผิดคดีใช้เงินผิดประเภท ที่เรียกเงินทอนวัด และการฟอกเงิน (สึกหมด! พระเถระ 5 รูปหลังศาลฯ ไม่ให้ประกันส่งตัวไปเรือนจา : ไทยรัฐ : 24 พฤษภาคม 2561) แต่ทั้งหมดเป็นโฉมหน้าทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาหนึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความเหมาะเปราะบางระหว่างรัฐกับศาสนาที่เคยค้ายันกันอย่างเป็นเอกภาพภายใต้แนวคิด “ธรรมราชา” หรือ “ทศพิศราชธรรม” ธรรมของผู้ปกครอง การสนับสนุนแนวคิดพระราชาผู้ทรงธรรม เป็นส่วนหนึ่งของการหลอมสร้างให้รัฐมีหลักปฏิบัติ จริยาวัตร ที่เป็น “ธรรม” สู่ความเป็นผู้มี “ธรรมาภิบาล” ในรัฐ จากนั้นรัฐก็อยู่ในบทบาทผู้อุปถัมภ์หรือสนับสนุนศาสนา หากศึกษาแนวคิดจากจากพระพุทธศาสนาภายใต้แนวคิด “การยอมตามรัฐ” กับพุทธพจน์ที่ว่า “อนุชานามิ ภิกฺขเว ราชูน อนุวตฺติตุํ-เราอนุญาตให้คล้อยตามพระราชา (ผู้ปกครอง) หรืออนุโลมตามบ้านเมืองได้” (วิ.มหา.(ไทย) 4/186/295)” หมายถึงพระพุทธเจ้าเปิดโอกาสให้ “สงฆ์สาวก” ผ่อนปรนกับหลักการแห่งรัฐได้ โดยต้องไม่เสียหลักการแห่งพระธรรมวินัย หากศึกษาแนวคิดเรื่องรัฐกับศาสนา จะได้ข้อสรุปในความเป็นรัฐในแบบโครงสร้างที่มีเป้าหมายควบรวมศาสนาให้เป็นมิติหนึ่งของรัฐ ซึ่งในบทศึกษานี้จะได้นาองค์ความรู้จากหนังสือ “รัฐกับศาสนา : ศีลธรรม อานาจ และอิสรภาพ” (2561) โดย สุรพศ ทวีศักดิ์ ที่เรียบเรียงเผยแผ่ไว้ และนามารวบรวมจัดพิมพ์อีกครั้ง เพื่อสื่อสารแนวคิด องค์ความรู้ต่อสาธารณะ ซึ่งจะได้นามานาเสนอทวนย้อน ยืนยันร่วมกับเหตุการณ์ “รัฐกับศาสนา” ภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปัจจุบัน (พ.ค.61)

Author Biography

พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) และคณะ

Department of Political Science, Faculty of Social Sciences, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Published

2018-07-04

How to Cite

(โชว์ ทสฺสนีโย) และคณะ พ. (2018). State and religion: morality, authority, and freedom. State-to-religious violence: Phra Sutheevirabundith and others. Journal of MCU Social Science Review, 7(2), 273–292. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/132840