ปัจจัยที่พยากรณ์การซื้อสินค้าออนไลน์อย่างฉับพลันบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์อย่างฉับพลันบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการออกแบบร้านค้าออนไลน์ การส่งอีเมลตรงถึงผู้บริโภค การรับรองโดยบุคคลที่มีชื่อเสียง การส่งเสริมการขาย และการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์อย่างฉับพลัน 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านการออกแบบร้านค้าออนไลน์ การส่งอีเมลตรงถึงผู้บริโภค การรับรองโดยบุคคลที่มีชื่อเสียง และการส่งเสริมการขาย ที่สามารถพยากรณ์การซื้อสินค้าออนไลน์อย่างฉับพลันของผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย รูปแบบการดำเนินงานใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวิธีสำรวจโดยการแจกแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและเคยใช้บริการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ตามแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่มีอายุระหว่าง 20-45 ปี จำนวน 431 คน ผลการวิจัยชี้ว่า ปัจจัยด้านการออกแบบร้านค้าออนไลน์ การรับรองโดยบุคคลที่มีชื่อเสียง การทำการตลาดโดยส่งอีเมลตรงถึงผู้บริโภค และการส่งเสริมการขายด้วยโปโมชัน มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์อย่างฉับพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์อย่างฉับพลันได้ ได้แก่ การออกแบบร้านค้าออนไลน์ (β = 0.345) การรับรองโดยบุคคลที่มีชื่อเสียง (β = 0.160) และการส่งอีเมลตรงถึงผู้บริโภค (β = 0.147) สามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์อย่างฉับพลันได้ร้อยละ 25.1 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น R Square (R²) เท่ากับ .251 (F = 47.588, p < .05)
Article Details
References
กิจปฏิภาณ วัฒนประจักษ์ และพิมลมาศ เนตรมัย. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการซื้อแบบไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าในร้านสะดวกซื้อ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 3 ธันวาคม 2566 แหล่งที่มา https://mis.nrru.ac.th/gradjournal/uploadify/uploads/Test/674%2009-02-18%2001-13-31.pdf
กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2565). การใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้น. วันที่เข้าถึงข้อมูล 12 ธันวาคม 2566 แหล่งที่มา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RPUBAJOURNAL/article/download/261820/174066/980700
ณัฏฐ์หทัย เจิมแป้น และศศิประภา พันธนาเสวี. (2560). การโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สก๊อตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วันที่เข้าถึงข้อมูล 7 กันยายน 2566 แหล่งที่มา http://dspace. bu.ac.th/handle/123456789/2414
พลศักดิ์ ศิริเสตสุวรรณ และคณะ. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการซื้อโดยฉับพลันของผู้บริโภคขนมขบเคี้ยวในรุ่นเจเนอเรชั่น X, Y และ Z ในประเทศไทย. วันที่เข้าถึงข้อมูล 30 สิงหาคม 2566 แหล่งที่มา https://so05.tci-thaijo.org/index.php /DPUSuthiparithatJournal/article/view/242270/164698
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยปี 2562. วันที่เข้าถึงข้อมูล 10 สิงหาคม 2566 แหล่งที่มา https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Value-of-e-Commerce-Survey-in-Thailand-2019.aspx
ศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล และปรีชญา ประวีณไว. (2562). การรับรู้การสื่อสารการตลาดและกระบวนการยอมรับการใช้บริการพร้อมเพย์ในประเทศไทย. วันที่เข้าถึงข้อมูล 3 มิถุนายน 2566 แหล่งที่มา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/147821
D.J. O’Keefe. (2556). การโน้มน้าวใจ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 7 กันยายน 2566 แหล่งที่มา https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=10272&context=chulaetd
Agarwal, A., & Priya Chetty (2562). Use of Hawkins Stern’s impulse buying theory (1962) in online shopping. Retrieved June 20, 2023 from https://www.projectguru.in/hawkins-sterns-impulse-buying-theory-online-shopping/
Bayley, G., & Nancarrow, C. (2541). Impulse purchasing: a qualitative exploration of the phenomenon. Qualitative Market Research: An International Journal. 1(2), 99–114.
Dawson, S., & Kim, M. (2553). Cues on apparel web sites that trigger impulse purchases. Journal of Fashion Marketing and Management: An International Journal. 14(2), 230-246.
Husnain, M., Rehman, B., Syed, F., & Akhtar, M. W. (2019). Personal and in-store factors influencing impulse buying behavior among generation Y consumers of small cities. Business Perspectives and Research, 7(1), 92-107.
Jawaid, S., Rajput, A., & Naqvi, S. (2556). Impact of celebrity endorsement on teenager’s impulsive buying behavior. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business, 4(10), 1071-1080.
Le, P. (2561). The Influence of Online Visual Merchandising on Impulse Purchasing. Retrieved June 2, 2023 from https://core.ac.uk/download/pdf/161430099.pdf
Matharaarachchi, R., Abeysekera, N., & Nawala, N. (2016). Factors influencing on online impulse buying. Young Economists Journal/Revista Tinerilor Economisti, 13(27), 127-140.
Stern, H. (2505). The significance of impulse buying today. Journal of marketing, 26(2), 59-62.