แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ผลการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน ของผู้สอนต่างรุ่นอายุในสถาบันอุดมศึกษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ผลการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนของผู้สอนต่างรุ่นอายุในสถาบันอุดมศึกษาไทย 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ผลการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนของผู้สอนต่างรุ่นอายุในสถาบันอุดมศึกษาไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ระเบียบวิธีวิจัยของงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 195 คน
ที่เคยเรียนกับผู้สอนต่างรุ่นทั้ง 3 รุ่นอายุ มาไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา และผู้สอนต้องมีอายุงานไม่น้อยกว่า 10 ปี ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ผลการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนของผู้สอนต่างรุ่นอายุในสถาบันอุดมศึกษาไทยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทุกแบบจำลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, 0.01 และ 0.001 โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบจำลองของผู้สอนเจเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์ เจเนอเรชันเอ็กซ์ เจเนอเรชันวาย และผู้สอนรวมทุกเจเนอเรชัน พบว่า ทุกแบบจำลองผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทั้งสิ้น 8 ดัชนี จากทั้งหมด 11 ดัชนี โดยการวิเคราะห์ค่าอิทธิพลมีดังต่อไปนี้ 1) แบบจำลองของผู้สอนเจเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์ พบว่า ตัวแปรความสามารถในการสื่อสารและการรับรู้ปัญหาในการสื่อสารมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจในการสื่อสาร ตัวแปรความพึงพอใจในการสื่อสารมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการตอบสนองต่อการสื่อสาร 2) แบบจำลองของผู้สอนเจเนอเรชันเอ็กซ์ พบว่า ตัวแปรความสามารถในการสื่อสารมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจในการสื่อสาร และการตอบสนองต่อการสื่อสาร 3) แบบจำลองของผู้สอนเจเนอเรชันวาย พบว่า ตัวแปรความสามารถในการสื่อสารมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจในการสื่อสาร และ ตัวแปรความพึงพอใจในการสื่อสารมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการตอบสนองต่อการสื่อสาร 4) แบบจำลองของผู้สอนรวมทุกเจเนอเรชัน พบว่า ตัวแปรความสามารถในการสื่อสารมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจในการสื่อสาร และ ตัวแปรความพึงพอใจในการสื่อสารมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการตอบสนองต่อการสื่อสาร ทั้งนี้ ตัวแปรการรับรู้ความสามารถในการสื่อสารมีค่าอิทธิพลโดยรวมสูงสุดต่อความพึงพอใจในการสื่อสารในทุกแบบจำลอง
Article Details
References
เกวลี ขันธ์เงิน. (2553). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารของพนักงานใหม่ในองค์กรไทยมหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์.
ชิตาภา สุขพลำ. (2548). การสื่อสารระหว่างบุคคล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ชัชฏาพันธ์ อยู่เพชร. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักศึกษาช้ันปีที่ 2 ภาคปกติคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาท่ัวไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธรรมรัตน์ อยู่พรต. (2556). ค่านิยมในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของเจนเนอเรชั่นต่าง ๆ. วารสารบริหารธุรกิจ. 36, 138 (เมษายน-มิถุนายน)
นงลักษณ์ ศรีอัษฎาพร เจริญงาม. (2541). ความสามารถในการสื่อสาร: แนวคิดเชิงวัฒนธรรมในองค์กรไทย. โลกของสื่อ ปีที่ 1 (ลำดับที่ 2 (มิถุนายน)).
________________________. (2541). ความสามารถในการสื่อสารแนวคิดเชิงนิเวศในองค์กร. วารสารนิเทศศาสตร์ . 18(4), 1-18.
นรดี กิจบูรณะ. (2537). ผลของการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียน และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุรณี ทรัพย์ถนอม และปัทมา มูลหงส์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาขาวิชาการบัญชีของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ปภัสสรา ชัยวงศ์. (2557). กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์.
พิบูล ทีปะปาล. (2545). การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย. กรุงเทพฯ: มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์. (2563). อย่าให้ ‘เจนฯ’ เป็นเส้นคั่นระหว่างเรา : จุดอ่อนของการมองโลกแบบเจเนอเรชัน. วันที่เข้าถึงข้อมูล 25 ตุลาคม, 2563 แหล่งที่มา https://www.the101.world/family-generation/
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). การพัฒนาเคร่ืองมือวัดด้านเจตพิสัยและทักษะพิสัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิไล พึ่งผล ประสพชัย พสุนนท์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การวิเคราะห์คุณลักษณะของเจนเนอร์เรชั่นวายยุคประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(2)
วิไลวรรณ จันทร. (2541). ปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์มีผลการเรียนต่ำ. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมยศ นาวีการ. (2549). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
สุขุม เฉลยทรัพย์. (2561). ‘มหาวิทยาลัยไทย’ ทำอย่างไร? จึงจะอยู่‘รอด’. วันที่เข้าถึงข้อมูล 28 กุมภาพันธ์, 2563 แหล่งที่มา https://www.matichon.co.th/columnists/news_810261
สุชาดา สุขเสถียรพาณิชย์. (2545). ความสามารถทางการสื่อสารระหว่างบุคคลในบริษัทนานาชาติญี่ปุ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์.
สุมาลี รามนัฎ. (2552). การศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ปีการศึกษา 2552. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
สุรชัย กังวล. (2557). การวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ของนักศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
หทัยพร ทิมสว่าง. (2551). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารสำหรับบุคลากรผู้มีศักยภาพสูงในองค์กรเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์.
อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมการสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hofstede, G. (1980). Culture’s Consequences: International Differences in Work-Related Values. Beverly Hills. CA: Sage.
Lyons, S., Duxbury, L. and Higgins, C. (2007). An empirical assessment of generational differences in basic human value, Psychological Reports, 101, 339–352.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. 2nd ed. New York: Harper and Row.
McComb, M. E., & Becker, L. B. (1979). Using Mass Communication Theory: Perception in Mass Communication. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hall.
McCroskey, J., Richmond, V., & McCroskey, L. (2006). An Introduction to Communication in the classroom. Boston: Pearson.
McQuail, D., J.G. Blumler & J.R. Brown. (1972). The Television Audience: A Revised Perspective. Sociology of Mass Communication. Middlesex, UK: Penguin.
Mottet, T. P., Richmond, V. P., & McCroskey, J. C. (2006). Handbook of Instructional Communication: Rhetorical and Relational Perspectives. New York: Allyn & Bacon.