การสำรวจการสื่อสารการตลาดในคลิปวิดีโอของนักเล่นเกมบนยูทูบของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปรากฏการณ์ที่คลิปวิดีโอของนักเล่นเกม (นักแคสเกม) บนยูทูบได้รับความนิยมในกลุ่มเด็ก เป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เพื่อให้เข้าใจภาพรวมในปัจจุบันเรื่องการสื่อสารการตลาดในคลิปวิดีโอของนักเล่นเกม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อสำรวจจำนวนครั้งที่ตราสินค้าและตัวสินค้าปรากฏในคลิป 2.เพื่อสำรวจประเภทของสินค้า รูปแบบการโฆษณา แหล่งข้อมูลทางการตลาดที่ใช้ในวิดีโอ ชื่อตราสินค้าที่ปรากฏบนชื่อวิดีโอ ประเภทของเกม และความเกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาของคลิปวิดีโอของเล่นเกมบนยูทูบของประเทศไทย จำนวน 216 คลิป ที่เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 จนถึง เมษายน พ.ศ.2563 ผลวิจัยพบว่า 1.มีการโฆษณาแฝงในคลิปวิดีโอของนักเล่นเกม โดยจำนวนครั้งที่มีตราสินค้าปรากฏในคลิปมากที่สุดคือจำนวน1ครั้ง 2.มีประเภทสินค้าที่ปรากฎมากที่สุดคือเกม รูปแบบของการโฆษณาที่แสดงการเล่นเกมมากที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบการสื่อสารการตลาดอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น แจ้งกิจกรรมพิเศษของเกม ซึ่งแหล่งข้อมูลการตลาดที่ปรากฏในคลิปวิดิโอมากที่สุดคือลิงก์ที่นำพาไปดูสินค้าเพิ่มเติม และมีชื่อตราสินค้าปรากฏในชื่อวิดีโอคลิปมากที่สุด นอกจากนี้ ไม่มีช่องใดปรากฏความเกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อมเลย งานวิจัยนี้สนับสนุนงานวิจัยที่ผ่านมาที่เสนอแนะว่า สำหรับคลิปวิดีโอยูทูบที่มีการโฆษณาแฝงที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเด็กนั้น ควรมีการนำเสนออย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และควรมีการระบุที่เด่นชัดว่ามีเป็นการโฆษณาหรือเป็นการให้ความบันเทิง
Article Details
References
Hfocus. (2019). กุมารแพทย์ย้ำต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรยุ่ง “จอใส” อย่าปล่อยลูกอยู่กับ “พี่เลี้ยงยูทูป”. วันที่เข้าถึงข้อมูล 28 ธันวาคม 2563, แหล่งที่มา https://www.hfocus.org/content/2019/12/18155
Melissa. (2562). TOP 20 GAMER IN THAILAND: 20 อันดับ เกมส์เมอร์ในประเทศไทย. วันที่เข้าถึงข้อมูล 20 กุมภาพันธ์ 2563, แหล่งที่มา https://starngage.com/top-20-gamer-thailand-20-อันดับ-เกมเมอร์ใน/
Positioning. (2550). โฆษณาในเกม ของเล่นที่เป็นเงิน. วันที่เข้าถึงข้อมูล 10 มกราคม 2562, แหล่งที่มา https://positioningmag.com/10417
Posttoday. (2561). นักแคสเกม เล่นไปพูดไปก็รวยได้. วันที่เข้าถึงข้อมูล 10 มีนาคม 2563, แหล่งที่มา https://www.posttoday.com/life/healthy/556584
กรุงเทพธุรกิจ. (2562). ตลาดเกมโตพุ่ง 13% ทะลุ 2.2 หมื่นล้าน .วันที่เข้าถึงข้อมูล 11 มกราคม 2563, แหล่งที่มา https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/851066
ไทยรัฐออนไลน์. (2558). พาไปส่อง! MR.Heart Rocker นักแคสเกม อันดับ 1 เมืองไทย ผู้ติดตามล้านกว่าคน.
วันที่เข้าถึงข้อมูล 29 ธันวาคม, แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/content/512564
บ้านเมือง. (2561). นักวิชาการชี้ โฆษณาอาหารในเฟซบุ๊ก“กระตุ้น” การกินของเด็กและเยาวชน. วันที่เข้าถึงข้อมูล 9 มิถุนายน 2564, แหล่งที่มา https://www.banmuang.co.th/news/education/123458
เปมิกา โสดสถิตย์. (2552). การวิเคราะห์เนื้อหาข่าวประชาสัมพันธ์ ในนิตยสารผู้หญิงต่างประเทศฉบับภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร.
วรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2562). การสื่อสารการตลาดในยูทูบและอิทธิพลที่มีต่อพฤติกรรมผู้บริโภค. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
สิริวรรณ ปัญญากาศ. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรง ในสื่อเกมออนไลน์กับพฤติกรรมก้าวร้าว ของเด็กวัยรุ่นตอนปลาย ในจังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่
Araújo, C., Magno, G., Meira Jr, W., Almeida, V., Hartung, P., Doneda, D. (2017). Characterizing Videos, Audience and Advertising in Youtube Channels for Kids. arXiv. 1707.00971. 341-359. Doi: 10.1007/978-3-319-67217-5_21.
Bila, J. (2018). YouTube’s dark side could be affecting your child’s mental health. Retrieved January 10, 2020, from https://www.cnbc.com/2018/02/13/youtube-is-causing-stress-and-sexualization-in-young-children.html
Phansab, C. (2018). Personal Branding Strategies of Influential Youtubers and Perceptions of Thai Millennials toward them (Master thesis, Chulalongkorn University). Retrieved January 10, 2020, from http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61416
Cheng C.C & Shiu E.C. (2012). Validation of a Proposed Instrument for Measuring Eco - Innovation: An Implementation Perspective Technovation,32(12). 81-95. Doi: 10.1016/j.technovation.2012.02.001
Grant, J. (2008), Viewpoint Green Marketing. Emerald Group Publishing Limited Strategic Direction, 24(6), 25-27.
Martínez-Pastor, E., Ongkrutraksa, W., & Vizcaíno-Laorga, R. (2020). An approach to Thai youtubers children. The case of minors as prescribers of toys. Mediterranean Journal of Communication, 11 (1), 213 223.
Ofcom. (2020). Children’s media lives wave 6. Retrieved December, 29, 2020, from https://www.ofcom.org.uk/__data/assets/pdf_file/0021/190524/cml-year-6-findings.pdf
Panda, T.K. (2004). Consumer response to brand placements in films role of brand congruity and modality of presentation in bringing attitudinal change among consumers with special reference to brand placements in Hindi films. South Asian Journal of Management, New Delhi, 11(4), 7-26.
Pastor, E., Nicolás O., Miguel & Salas, Á. (2013). Gender Representation in Advertising of Toys in the Christmas Period (2009-12). Comunicar. v. XXI. 187-194. 10.3916/C41-2013-18.
Salen, K., Tekinbaş, K. S., & Zimmerman, E. (2004). Rules of play: Game design fundamentals. MIT press.
Social Blade. (2020). Top 250 Youtubers in Thailand sorted by subscribers. Retrieved January 10, 2020, from https://socialblade.com/youtube/top/country/th/mostsubscribed
Tan, L. & See H. W., Omar, A., Karupaiah, T. (2018). What's on YouTube? A case study on food and beverage advertising in videos targeted at children on social media. Childhood Obesity. 14(5), 280-290. Doi:10.1089/chi.2018.0037.
Westenberg, W. (2016). The influence of YouTubers on teenagers, University of Twente. Retrieved January 12, 2020. From https://essay.utwente.nl/71094/1/Westenberg_MA_BMS.pdf
Williams, K., Petrosky, A., Hernandez, E., Page, R. (2011). Product Placement Effectiveness: Revisited and Renewed. Journal of Management & Marketing Research. 7. 132-155