การสื่อสารในภาวะวิกฤตของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ที่ได้รับคำสั่งปรับทางปกครอง หลังการรายงานข่าวคนร้ายจับตัวประกัน ที่จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

สลิสา ทีฆกุล
ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารในภาวะวิกฤตผ่านช่องทางสื่อสารทางออนไลน์ และเพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤตของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ที่ได้รับคำสั่งปรับทางปกครอง จาก กสทช. หลังการรายงานข่าวคนร้ายจับตัวประกัน ที่จังหวัดนครราชสีมา ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ หรือผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤต ของสถานีโทรทัศน์ช่องวัน ไทยรัฐทีวี และอมรินทร์ทีวี พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤต และการบริหารจัดการองค์กรสื่อมวลชน รวม 7 ท่าน ผลการวิจัยจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ในช่องทางออนไลน์ของทั้ง 3 สถานีฯ พบว่า มีเพียงสถานีฯ เดียวที่ออกมาทำการสื่อสารในภาวะวิกฤตผ่านทางออนไลน์ ด้วยกลยุทธ์การขออภัย (Excuse) ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ โดยหลังจากที่ได้สัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบทั้ง 3 สถานีฯ พบว่ามีอีกหนึ่งสถานีฯ ที่ทำการสื่อสารในภาวะวิกฤตผ่านหน้าจอของสถานีฯ และยังพบว่ากลยุทธ์การบริหารจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤตของทั้ง 3 สถานีฯ ดำเนินงานคล้ายกัน โดยไม่ได้มองว่าการได้รับคำสั่งปรับทางปกครองเป็นภาวะวิกฤตของสถานีฯ ทั้งนี้การบริหารจัดการภาวะวิกฤตจะดำเนินการโดยฝ่ายข่าว อย่างไม่มีแผนงานและคู่มือ ซึ่งเมื่อรับรู้ถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม และกสทช. ก็ได้ปรับลดโทนการรายงานข่าว ในขณะผู้เชี่ยวชาญมองว่าการบริหารจัดการภาวะวิกฤตควรต้องดำเนินการโดยฝ่ายสื่อสารองค์กร เพราะมีความชำนาญในด้านการจัดการภาวะวิกฤต

Article Details

บท
Articles

References

ธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2562). เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาการจัดการภาวะวิกฤตในยุคดิจิทัล. [เอกสารไม่ตีพิมพ์]. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผู้จัดการออนไลน์. (2561). เปิดชื่อเด็ก-ดักฟัง-ลอบใช้โดรน ประณามเคสถ้ำหลวง เด็กรอด-สื่อไม่รอด-ไร้จรรยาบรรณ!! วันที่เข้าถึงข้อมูล 27 กรกฎาคม 2563 แหล่งที่มา https://mgronline.com/live/detail/9610000068340

ผู้จัดการออนไลน์. (2561). เวิร์คพอยท์-พีพีทีวี ขอโทษกรณีออกอากาศคลิปเสียงถ้ำหลวง-ส่งโดรนประกบ ฮ.แต่ยันไม่ได้ทำผิดกฎ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 15 มีนาคม 2563 แหล่งที่มา https://mgronline.com/entertainment/detail/9610000068299

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2548). CEO PR & IMAGE. กรุงเทพฯ: ฐานมีเดีย เน็ตเวิร์ค.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2561). ความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนในยุคข่าวสารไร้พรมแดน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พิชญาพร ประครองใจ. (2558). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2560). พลังแห่งการประชาสัมพันธ์. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่

วนิดา แสงสารพันธ์. (2554). หลักกฎหมายสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2552). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต และการบริหารภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์. (2559). จริยธรรมสื่อมวลชน. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สมิทธิ์ บุญชุติมา และ ชนาภา หนูนาค. (2560). การสื่อสารในภาวะวิกฤต. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่

สาวิตรี รินวงษ์. (2563). ถอดบทเรียน 'สื่อ' ชิงเรทติ้งจนคลั่ง! วันที่เข้าถึงข้อมูล 15 มีนาคม 2563 แหล่งที่มา https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867520

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2557). คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เผยประมูลฯ ดิจิตอลทีวีประสบความสำเร็จทั้ง 4 หมวดหมู่ ได้ผู้มีสิทธิเป็นผู้ชนะการประมูล 24 ราย ลุ้นผลรับรองทางการภายใน 15 วัน. วันที่เข้าถึงข้อมูล 24 มิถุนายน 2563 แหล่งที่มา https://www.nbtc.go.th/News/Press-Center/คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์-(กสท.aspx

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2557). คู่มือจริยธรรมและการกำกับดูแลกันเอง ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2563). มติ กสทช. สั่งปรับ 3 ช่องทีวี กรณีการออกอากาศเหตุการณ์กราดยิงโคราช. วันที่เข้าถึงข้อมูล 2 มิถุนายน 2563 แหล่งที่มา https://www.nbtc.go.th/News/Press-Center/44102.aspx

change.org. (2563). สื่อไลฟ์สดกระทบเจ้าหน้าที่และญาติผู้เสียหาย ต้องรับผิดชอบการเสนอข่าวกราดยิงที่โคราช. วันที่เข้าถึงข้อมูล 5 มีนาคม 2563 แหล่งที่มา https://change.org/p/สื่อไลฟ์สดกระทบเจ้าหน้าที่และญาติผู้เสียหาย-ต้องรับผิดชอบการเสนอข่าวกราดยิงที่โคราช

Benoit, W. L. (1995). Accounts, excuses, and apologies a theory of image restoration strategies. New York: State University of New York Press.

Bland, M. (1998). Communicating out of a crisis. Houndmills, Basingstoke, Hampshire: Macmillan Business.

Coombs, W. T. (2012). Ongoing Crisis Communication: Planning, managing, and responding Los Angeles: Sage Publications.

Coombs, W. T. (2015). Ongoing Crisis Communication: Planning, managing, and responding Thousand Oaks, California: SAGE.

Fearn-Banks, K. (2011). Crisis communications: A casebook approach. New York: Routledge.

Newsom, D., Vanslyketurk, Judy, Scott, Allan. (1992). This is PR : the realities of public relations. United State of America: Wadsworth Publishing Companny.

Saffir Leonard & Tarrant, J. (1992). Power public relations How to Get PR Work for You. Illinois: NTC Business Books Publishing Group.