แนวปฏิบัติด้านการสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการสื่อสารเพื่อนำมาใช้สร้างแนวปฏิบัติด้านการสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบทฤษฎีระบบและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากสื่อหลักที่องค์กรเผยแพร่ต่อสาธารณะร่วมกับการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้บริหารและพนักงานจากบริษัทจดทะเบียนไทยที่มีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอันโดดเด่นประจำปี 2562 ทั้งสิ้น 8 บริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสิ้น 28 คน
ผลการวิจัยพบว่าการสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทยมีปัจจัยนำเข้า คือ โครงสร้างการจัดการด้านความยั่งยืน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมที่ชัดเจน นโยบายและแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน การวิเคราะห์และการประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญ กลยุทธ์และการวางแผน และการวิเคราะห์ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญให้กับกระบวนการสื่อสาร ประกอบด้วย การกำหนดและออกแบบสาร การวางแผนและการใช้ช่องทาง และกระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่วนปัจจัยผลผลิต ได้แก่ การรับรู้และเข้าใจ เกิดนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม บริหารความเสี่ยงและจัดการภาวะวิกฤต และการเปิดเผยข้อมูลโปร่งใส เพียงพอและทันเวลา เป็นต้น ขณะที่ปัจจัยผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ ความพึงพอใจ ความเชื่อมั่นและการยอมรับ ภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กร ระดับความผูกพันและจงรักภักดี การมีส่วนร่วม การสร้างคุณค่าร่วม การตอบสนองความต้องการและความคาดหวังผู้มีส่วนได้เสีย การปรับตัวในภาวะวิกฤติ และเกิดความสมดุลในทุกมิติของความยั่งยืน เป็นต้น
ทั้งนี้การสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนถือได้ว่ามีความจำเพาะอันเกิดจากเป้าหมายที่มุ่งรักษาความสมดุลในทุกมิติของความยั่งยืน ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนความคิด วิธีการและกระบวนการทำงานทั้งของตนเองและองค์กร เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม สิ่งแวดล้อม ประเทศ และสังคมโลกให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง (communication for change)
Article Details
References
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2561). รายงานผลการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2530 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561. วันที่เข้าถึงข้อมูล 28 พฤศจิกายน 2563, เแหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/sep4sdgs/en/articles/70263-SEP-Publications-and-eBooks.html
ณัชฎา คงศรี. (2560). จาก MDGs สู่ SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่เปลี่ยนไปเพื่อความยั่งยืน. วันที่เข้าถึงข้อมูล 28 พฤศจิกายน 2563, เแหล่งที่มา https://sdgmove.wordpress.com/2017/08/13/mdgstosdgs/
ณัฐศิริ บุญชวน. (2562). การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน. วันที่เข้าถึงข้อมูล 28 พฤศจิกายน 2563, เแหล่งที่มา https://www.setsustainability.com/download/yz31wdmt64gq7jf
ธิราภร ย้อยแสง. (2555). การใช้ทฤษฎีระบบในการกำหนดนโยบายและแผนประชาสัมพันธ์รถยนต์ มิตซูบิชิ มิราจ ใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). ไขความหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). Sustainable development showcases 2017. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).
บูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์. (2539). การวิเคราะห์ระบบการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสงค์ กัลป์ยาณะธรรม. (2550). การวิเคราะห์กระบวนการกำหนดนโยบายศึกษาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนม คลี่ฉายา. (2561). หลัก เทคนิค และวิธีการประเมินผลการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2556). CSR กับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารเศรษฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช, 6(2), 1-10.
รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2558). การสื่อสารองค์กร : แนวคิดการสร้างชื่อเสียงอย่างยั่งยืน = Corporate Communication : Strategic Concepts for Sustainability Reputation. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันคลังสมองของชาติ. (2561). โครงการส่งเสริมการร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุดมศึกษาและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนากิจการเพื่อความยั่งยืน. วันที่เข้าถึงข้อมูล 28 พฤศจิกายน 2563, เแหล่งที่มา https://www.sec.or.th/cgthailand/th/pages/overview/cgandsustainablebusinessdevelopment.aspx
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546). การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย. เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2546 การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐ (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Ahlin, K. (2019). Measuring the Immeasurable? The Intangible Benefits of Digital Information Information Security and Privacy in Business and Society, 6176-6185. doi:10.24251/HICSS.2019.743
Business and Sustainable Development Commission. (2017). Better Business Better World. London: Business and Sustainable Development Commission.
BWD. (2020). Don’t report sustainability – communicate it!. Retrieved November 28, 2020, from https://bwdstrategic.com/thoughts/dont-report-sustainability-communicate/
Dalal-Clayton, B., & Bass, S. (2002). Sustainable Development Strategies: A Resource Book. New York: Organisation for Economic Co-operation and Development.
GRI. (2015). Item 20 – Transition to GRI Standards 2: Content Principles. Retrieved November 28, 2020 from Amsterdam: https://www.globalreporting.org/standards/media/2335/item-20-transition-to-gri-standards-mock-up-of-sustainability-reporting-standard-2-content-principles.pdf
GRI, UN Global Compact, & WBCSD. (2016). SDG Compass: The guide for business action on the SDGs. Retrieved from https://sdgcompass.org/
Jones, E. (2005). A systems approach to an into organizational communication within the Fire and Emergency Services Authority of Western Australia: An action research study: Edith Cowan University.
Miller, K. (2012). Organizational Communication: Approaches and Processes (6 ed.). USA: Lyn Uhl.
Parsons, J., Gokey, C., & Thornton, M. (2013). Indicators of Inputs, Activities, Outputs, Outcomes and Impacts in Security and Justice Programming. UK: Conflict, Crime, and Violence Results Initiative (CCVRI).
Riel, C. B. M. V. (1992). Principles of corporate communication. London: Prentice Hall.
Riel, C. B. M. V., & Fombrun, C. J. (2007). Essentials of Corporate Communication: Implementing practices for effective reputation management. USA: Routledge.
Kuntasuwun, R. (2018). Strategic Sustainability Communication Model of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand. (Doctor of Philosophy). National Institute of Development Administration, Bangkok.
Scott, W. R., & Davis, G. F. (2016). Organizations and Organizing: Rational, Natural, and Open System Perspectives. USA: Routledge.
Tiyarattanachai, R., & Chhang, R. (2019). Perspectives of Thai Listed Companies on the United Nations’ Sustainable Development Goals. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science, 265, 1-9. doi:10.1088/1755-1315/265/1/012011
United Nations. (2015). The Global Goals for Sustainable Development. Retrieved November 28, 2020 from https://www.un.or.th/globalgoals/the-goals/
United Nations. (2019). The Sustainable Development Agenda. Sustainable Development. Retrieved November 28, 2020 from https://www.un.org/sustainabledevelopment/development-agenda/
World Health Organization. (2017). WHO Strategic Communications Framework for effective communications. Switzerland: World Health Organization.