กระบวนการสื่อสารเพื่อการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วดี ภิญโญทรัพย์
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้วิธีศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้แบบสอบถาม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และเสนอแนะกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร 2) วิเคราะห์กระบวนการสื่อสารเพื่อการมีส่วนร่วมของเจ้าของโครงการขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา 3) วิเคราะห์การใช้สื่อใหม่ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสารในการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มี 7 ข้อ ประกอบด้วย 1) เป็นการสื่อสารสองทาง 2) เริ่มต้นเร็ว มีเวลาเพียงพอ 3) ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 5) ใช้รูปแบบวิธีการเหมาะสม 6) ใช้สื่อและช่องทางการสื่อสารเหมาะสม 7) ดำเนินการด้วยความจริงใจ  ซึ่งเจ้าของโครงการดำเนินการไม่ครบทุกข้อ พบการดำเนินงาน 2 ข้อ คือการสื่อสารสองทางและใช้รูปแบบและวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม ส่งผลให้ผลลัพธ์ของกระบวนการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับต่ำ โดยเป็นเพียงการให้ข้อมูลข่าวสารของโครงการแต่ไม่เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประการสุดท้ายเจ้าของโครงการไม่มีการใช้สื่อใหม่ซึ่งเป็นช่องทางที่ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ในการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบข้อมูลโครงการในระดับน้อยมากที่สุด

Article Details

บท
Articles

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. วันที่เข้าถึงข้อมูล 26มิถุนายน 2563 แหล่งที่มา https://www.netpracharat.com/Documents/แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.pdf

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. วันที่เข้าถึงข้อมูล 26 มิถุนายน 2563 แหล่งที่มา http://www.onep.go.th/eia/wp-content/uploads/2019/01/EIA040162.pdf

กนกพร สว่างแจ้ง. (2549). ขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อสารมวลชน:ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ศาลาแดง จำกัด.

กาญจนา แก้วเทพ. (2549). สื่อสารเพื่อโลกสวย บทเรียนจากการสื่อสารเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

กาญจนา แก้วเทพ และ นิคม ชัยขุนพล. (2556). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และ สุมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสารศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

กานต์ ทัศนภักดิ์. (2555). สื่อใหม่กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง. เชียงใหม่: ศุภนิตย์การพิมพ์

คนางค์ คันธมธุรพจน์. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพมหานคร: แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปเรชั่น จำกัด.

คำสั่งโครงการพัมนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา. (กุมภาพันธ์ 2563). ข่าวศาลปกครอง, (7/2563). วันที่เข้าถึงข้อมูล 8 พฤศจิกายน 2563 แหล่งที่มา https://admincourt.go.th/admincourt/site/08hotsuit_detail.php?ids=19263

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2559). สื่อดิจิทัลใหม่ สื่อแห่งอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2540). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิภาษา.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2556). ขบวนการทางสังคมใหม่ (New Social Movement – NSM). วันที่เข้าถึงข้อมูล 1 กันยายน 2563 แหล่งที่มา https://www.imageplus.co.th/content-detail.php?id=77

ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2551). การสื่อสารประเด็นสาธารณะและการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงพนา คุณวัฒน์. (2545). กระบวนการสื่อสารสาธารณะของกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้านเขื่อนปากมูล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลดาพรรณ สิงคิบุตร. (2557). การสื่อสารการเคลื่อนไหวคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ผ่านเฟซบุ๊ก SASIN CHALENRMLARP(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผยปี 62 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 22 นาที Gen Y ครองแชมป์ 5 ปีซ้อน. (ข่าวประชาสัมพันธ์). วันที่เข้าถึงข้อมูล 30 พฤศจิกายน 2563 แหล่งที่มา https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx

สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. วันที่เข้าถึงข้อมูล 30 พฤศจิกายน 2563 แหล่งที่มา https://www.onep.go.th/การประเมินผลกระทบสิ่งแ/

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2557). นวัตกรรมสื่อสังคมกับประชาคมอคติ. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1(1), 19-32.

Arnstein, S.R. (1969). A Ladder Of Citizen Participation. Journal of the American Institute of Planners, 35(4), 216-224. DOI no.: 10.1080/01944366908977225

Jones, L., & Wells, K. (2007). Strategies for academic and clinician engagement in community-participatory partnered research. Jama, 297(4), 407-410.

Mostert, E. (2003). The challenge of public participation. Water Policy, 5(2), 179-197.

Rogers, E. M. (1962). The Diffusion of Innovations, Glencoe II: Free Press

Rowe Gene and Frewer, Lynn J. (2000). Public participation methods; a framework for evaluation. Safe Journal. 25, 3-29.

White, S. A., Nair, K. S., & Ascroft, J. (1994). Participatory communication: Working for change and development. New Delhi: Sage.

Siapera, E. (2018). Understanding New Media 2nd Edition. London: SAGE Publications.