นวัตกรรมการบริหารจัดการชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ชุมพล รอดแจ่ม -
  • ปัญญดา จันทกิจ
  • เอกโอฬาร โชติอนุสรณ์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการชุมชน, เศรษฐกิจฐานราก, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และความต้องการการบริหารจัดการชุมชน เพื่อสร้างและประเมินนวัตกรรมการบริหารจัดการชุมชน ด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยประกอบด้วย (1) ผู้นำชุมชนจำนวน 30 คน (2) กลุ่มสมาชิกจำนวน 200 คน (3) ตัวแทนประธานและวิสาหกิจชุมชนจำนวน 30 คน และ (4) ผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับการประเมินจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ การอภิปรายกลุ่ม แบบสอบถามสำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ แบบสอบถามการประเมินความพึงพอใจ และแบบสอบถามการประเมินการตรวจสอบรูปแบบการพัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) สถานการณ์การบริหารจัดการชุมชนใน 3 ด้านหลัก คือ การผลิตสินค้าและบริการ การเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (2) การสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการชุมชน ได้แก่ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการสร้างอัตลักษณ์ของตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการพัฒนาหลักสูตรอบรมทรัพยากรมนุษย์ ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการเหล่านี้อยู่ในระดับมากที่สุด (3) การประเมินนวัตกรรมการบริหารจัดการชุมชน โดยใช้การประเมิน 4 ด้าน พบว่านวัตกรรมดังกล่าวมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ โดยได้รับคะแนนประเมินในระดับสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม

References

Boondeang, P., & Sitthanon, K. (2023). Development of agritourism potential of the Nong Ya Plong community, Phetchaburi province. Journal of Research and Development, Loei Rajabhat University, 18(63), 53-65. (in Thai)

Boonsong, P., et al. (2021). Development of agritourism management models through community participation in Phetchaburi province. Phetchaburi Rajabhat University Academic Journal, 11(2), 78-88. (in Thai)

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Creswell, J. W., & Creswell, J. D. (2018). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods Approaches. 5th ed. SAGE Publications.

Etikan, I., Musa, S. A., & Alkassim, R. S. (2016). Comparison of convenience sampling and purposive sampling. American Journal of Theoretical and Applied Statistics, 5(1), 1-4.

Field, A., Miles, J., & Field, Z. (2012). Discovering statistics using R. Los Angeles: Sage.

Kittiya, R. (2023). Skills development and management for enhancing the capacity of agricultural tourism community enterprises. Journal of Community Development, 12(3), 67-81. (in Thai)

Krippendorff, K. (2018). Content analysis: An introduction to its methodology. 4th ed. SAGE Publications.

Liang, A. R. D., & Wang, Y. C. (2022). Agritourism businesses' adaptive strategies and innovations during the COVID-19 pandemic. Tourism Management, 92, 104556.

Lun, Y., Xu, C., Shi, Q., Wang, H., & Gao, J. (2020). Community-based tourism and sustainable development of rural destinations: A case study in China. Sustainability, 12(11), 4720.

Petroman, C., Mirea, A., Lozici, A., Nicolae, S., Petroman, I., Marin, D., & Momir, B. (2020). The rural educational tourism at the farm. Animals, 10(10), 1935.

Presenza, A., Messeni Petruzzelli, A., & Sheehan, L. (2021). Community-based tourism development: An evaluation of the resident's perspective in small rural communities. Journal of Rural Studies, 86, 155-168.

Rungson, W., Wongwanich, S., & Sombun, C. (2022). The application of item-objective congruence index for validation of questionnaires in research studies. Journal of Research Methodology, 2(3), 45-5

Suksaa-at, P., & Atiwatthanapirom, T. (2024). Guidelines for the development of creative tourism in Ban Bang Phlap community, Amphawa district, Samut Songkhram province. Journal of Thai and International Tourism, 20(1), 1-15. (in Thai)

Suttanipa, S. (2022). Linking local products with culture to enhance community economy. Journal of Tourism Research, 15(1), 27-34. (in Thai)

Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2007). Using multivariate statistics. 5thed. Boston: Pearson Education.

Taherdoost, H. (2016). Sampling methods in research methodology: How to choose a sampling technique for research. International Journal of Academic Research in Management, 5(2), 18-27.

Thanin, K. (2023). The development of grassroots economy to strengthen local communities. Journal of Management and Economics, 20(2), 45-58. (in Thai)

Zhao, Y., Peng, X., Qiao, W., & Wu, C. (2023). Community-based tourism development: A systematic literature review. Tourism Management Perspectives, 45, 101076.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

รอดแจ่ม ช., จันทกิจ ป. ., & โชติอนุสรณ์ เ. . (2024). นวัตกรรมการบริหารจัดการชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 9(2), 135–147. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/282895