ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาในปี 2563

ผู้แต่ง

  • จเร นาคทองอินทร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วัลลภ พิริยวรรธนะ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธวัช พุ่มดารา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บริบูรณ์ ฉลอง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การเคลื่อนไหวทางการเมือง, คณะราษฎร 2563, ความยุติธรรม, ความเท่าเทียม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้นิสิต นักศึกษา เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมือง (2) ศึกษาลักษณะขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง และ (3) ศึกษาผลกระทบทางการเมืองจากขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนิสิต นักศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้นิสิต นักศึกษา เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่มาจากการกล่อมเกลาทางการเมือง ได้แก่ กลุ่มเพื่อน ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัล (Digital) มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ส่วนลักษณะของขบวนการนิสิต นักศึกษาในการเคลื่อนไหวทางการเมือง พบว่า รูปแบบโครงสร้างการชุมนุมไม่มีแกนนำหลัก และไม่มีปักหลักที่เนิ่นนาน วิธีการของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเน้นสันติวิธี และอารยะขัดขืนในการต่อต้านอำนาจรัฐ มีเป้าหมายของชุมนุมมีความลุ่มลึก แหลมคม มุ่งเป้าในแง่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจทางการเมืองให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ส่วนผลกระทบทางการเมืองจากขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนิสิต นักศึกษา พบว่า กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในพื้นที่สาธารณะอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น กระทบต่อสถาบันนิติบัญญัติที่ขาดความน่าเชื่อถือ สถาบันบริหารที่ถูกมองว่าขาดความชอบธรรม เพราะใช้กลไกรัฐสภาที่ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมในการเลือกปฏิบัติ กระทบองค์กรอิสระที่ถูกมองว่าสนับสนุนเผด็จการอำนาจนิยม รวมถึงกระทบต่อสังคม คือเกิดช่องว่างระหว่างคนต่างรุ่น หรือที่เรียกว่า Generation Gap ซึ่งมีชุดความคิด (Mindset) แตกต่างกันในทางการเมือง

References

Almond, G. A. (1956). Comparative Political System. Journal of Politic, 18(3), 391-409.

Chittrutta, C. (2016). Pyramid culture and democratization. 2nd ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Matichon online. (March 13, 2020). Di Phayao, speeches against the government's failure, puts a mob down the road. [Online]. Retrieved from: https://www.matichon.co.th/politics/ news_2622442). (in Thai)

Pintabtang, P. (2009). The framework of political analysis in social movement theory. Chiang Mai: Heinrich Bell Foundation, Southeast Region Office. (in Thai)

Chumphon, P. (2004). Political system: an introduction. Bangkok: Press, Chulalongkorn University. (in Thai)

Pye, Lucian. (1962). Politics, Personality, and Nation Building: Burma’s Search for Identity. New Haven: Yale University Press. (in Thai)

Seksan Prasertkul. (2009). People's Politics in Thai Democracy, 2nd edition. Bangkok: Language. (in Thai)

Thai Post Online. (2020, 24 March). Consultant Brain Petch dissected who wrote the script forNong Mind until he was notified of the arrest of M.112, Speech 24 March. (in Thai)

Wichitwatchararak, K. (2017). The political awakening of the new generation in Thailand, Journal of Yarnsangvorn Research Institute, 11(1), (January - June 2020). (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27

How to Cite

นาคทองอินทร์ จ., พิริยวรรธนะ ว., พุ่มดารา ธ., & ฉลอง บ. (2022). ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาในปี 2563. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 7(2), 88–97. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/260323