พฤติกรรมการปรับตัวในการท่องเที่ยวชุมชนของนักท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการปรับตัว, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, นักท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการปรับตัวและความคาดหวังต่อศักยภาพของการท่องเที่ยวชุมชนและ (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการปรับตัวและความคาดหวังต่อศักยภาพของการท่องเที่ยวชุมชนยุคปรกติใหม่ในจังหวัดสมุทรสงคราม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสงครามตั้งแต่มกราคม 2563– มีนาคม 2564 จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ดังนี้ (1) สถิติเชิงพรรณนา ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) สถิติเชิงอนุมาน ใช้การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการปรับตัวของนักท่องเที่ยวมีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อน ลักษณะการท่องเที่ยวแบบกลุ่ม โดยมีความสัมพันธ์รูปแบบครอบครัว ใช้วิธีการเดินทางโดยรถยนต์ มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่าง 1,001 – 2,000 บาท ใช้ระยะเวลา 1 วันในการท่องเที่ยว โดยระดับความคิดเห็นความคาดหวังต่อศักยภาพของการท่องเที่ยวชุมชนยุคปรกติใหม่ของนักท่องเที่ยว โดยภาพรวมมีระดับมาก ซึ่งด้านการจัดการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยมีระดับความคิดเห็นมากอยู่ในอันดับแรก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ต่างกันทำให้พฤติกรรมการปรับตัวในการท่องเที่ยวยุคปรกติใหม่โดยรวมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ (2) นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ต่างกันมีผลต่อความคาดหวังต่อศักยภาพของการท่องเที่ยวชุมชนยุคปรกติใหม่โดยรวมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
References
Chen, Z. (2017). Expectations and Perceptions of Chinese Tourists towards tourism in Muang District of Chiang Mai Province.
Independent Study of the Degree of Master of Business Administration. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. (in Thai)
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 2nd ed. New York: Wiley.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York: Harper and Raw.
Hair, J. F., Black, B., Babin, B., Anderson, R. E., and Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Kaewchoo, P. (2020). Factors Influencing Change in New Normal Tourism Behavior After Covid-19. [Online]. Retrieved from https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-1/6114993619.pdf (in Thai)
Kurež, B. and Prevolšek, B. (2015). Influence of Security Threats on Tourism Destination Development. TIMS Acta, 9(2), 159-168.
Ministry of Tourism and Sports. (2020). Impact of Covid-19 on Thailand Tourism. Tourism Economic Review, 1(4), 64-65. (in Thai)
Office of The National Economic and Social Development. (2017). The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). [Online]. Retrieved from https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=9641 (in Thai)
Phayakvichien, P. (2007). Local Cultural Community Based Tourism in Thailand. eTAT Tourism Journal, 1, 1 – 7. (in Thai)
Statistical Office Samutsongkhram. (2020). Samutsongkhram Provincial Statistical Report. [Online]. Retrieved from http://samutsongkhram.nso.go.th/index.php/local-report/1002--63. (in Thai)
Tangtenglam,S. and Pongpanich, A. (2021). Factors Affecting the Selection of New normal Thai Travel. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 4(1), 12-24. (in Thai)
Tourism Authority of Thailand. (2020). Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA). [Online]. Retrieved from https://www.thailandsha.com/index (in Thai)
Wutisilp, C. and Phasunon, P. (2015). Expectation and Satisfaction in Visiting Homestayof Amphawa, Samut Songkram. Veridian E-Journal Silpakorn University, 8(2), 2066 -2079. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารนวัตกรรมและการจัดการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
โปรดดูที่จริยธรรมการตีพิมพ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/Ethics