ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยใบหน้า ผ่านตู้ ATM ธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชุติมา ปะติกานัง วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิไลลักษณ์ รักบำรุง วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การยอมรับ, นวัตกรรม, การทำธุรกรรมทางการเงินด้วยใบหน้า, ตู้ ATM , ธนาคารออมสิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำธุรกรรมทางการเงิน ด้วยใบหน้า ผ่านตู้ ATM ธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ลูกค้าธนาคารออมสินในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า (1) ลักษณะประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และ อาชีพ พบว่า ลูกค้าธนาคารออมสินที่มีอายุ รายได้ต่อเดือน อาชีพต่างกัน ยอมรับนวัตกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยใบหน้า ผ่านตู้ ATM ธนาคารออมสิน แตกต่างกันที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่พบความแตกต่าง และ (2) ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีส่งผลต่อยอมรับนวัตกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยใบหน้าผ่านตู้ ATM ธนาคารออมสิน สามารถทำนายได้ 69.8% เมื่อทดสอบตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อตัวแปรตามครั้งละตัว พบว่า ความตั้งใจแสดงพฤติกรรมที่การใช้ ทัศนคติในการใช้ การรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งาน และการรับรู้ถึงประโยชน์ ส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำธุรกรรมทางการเงิน ด้วยใบหน้า ผ่านตู้ ATM ธนาคารออมสิน มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

Business and Electronics Operations Department Government Savings Bank. (2019). Procedures for making facial financial transactions through Government Savings Bank ATMs. [Online]. Retrieved 20 May 2020, from: https://www.gsb.or.th.

Damanpour, F. (1987). The Adoption of Technological, Administrative, and Ancillary Innovations: Impact of Organizational Factors. Journal of Management, 13(4), 675-688.

Davis. (1989). Technology Acceptance Model: TAM . [Online]. Retrieved May 20, 2020, from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/download/ 27325/23292/

Freeman, C. and Soete, L. (1997). The Economics of Industrial Innovation. 3rd ed. London: Continuum.

Gorernment Savings Bank. (2019). Customer infor. [Online]. Retrieved May 20 , 2020 , from : https://www.gsb.or.th (in Thai)

Government Saving Bank. (2019). Economic Research Center. [Online]. Retrieved May 20, 2020, from: https://www.gsb.or.th (in Thai)

Herkema. (2003). Innovation: Meaning, Types and Importance of Entrepreneurship. Business Administration Journal, 33 (128), 49-65.

Kornsa, S., Peerapa, T., and Sripaisak, R. (2017). Technology adoption influencing intentions of baby boomers' online shopping intentions in Bangkok. Panyapiwat Journal, 9(3), 3-15.

Panyawai, P. and Suphawan, L. (2016). The Technology Acceptance and Country of Origin Affecting the Attitude on Pre-order Cosmetic via Online Business of Customer in Bangkok. Journal of Innovation and Management, Suan Sunandha Rajabhat University, 1(1), 31-39.

Pithiwatchotikul, N. (2017). Mobile Technology Acceptance, Social Media Marketing, and Online Consumer Behavior Affecting Online Products’ Purchase Intention through Application of Customers in Bangkok. Thesis of the Degree of Master of Business Administration. Bangkok: Graduate School, Bangkok University. (in Thai)

Rattisit, T. (2016). Factors Towards Behavior in Mobile Financial Services of Krungsri Bank’s Customer in Bangkok. Thesis of the Degree of Master of Business Administration. Bangkok: Stamford International University. (in Thai)

Rogers, E.M. (1995). Innovation : Meaning,Type and Importance to Entrepreneurship. Business Administration Journal, 33 (128), 49-65.

Saengchot, T. (2018). Fintech Adoption of Mymo Mobile Banking in Government Saving Bank. Bangkok: Technology Management College of Innovation,Thammasat University. (in Thai)

Tanapa, H. (2016). Fintech Adoption in Banking Industry. Bangkok: Technology Management College of Innovation, Thammasat University. (in Thai)

Wasiraporn, W. (2018). Fin Tech: Financial Innovation in the Digital Age. [Online]. Office of the Commissioner 1 Secretariat of the House of Representatives. Retrieved 20 May, 2020, from: https://edoc.parliament.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

How to Cite

ปะติกานัง ช., & รักบำรุง ว. . (2020). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยใบหน้า ผ่านตู้ ATM ธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 5(-), 14–30. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/244217