แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งของประชาชนหมู่บ้านพฤกษา 13 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สุภาพ พฤฒิสาริกร วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สัณฐาน ชยนนท์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิจิตรา ศรีสอน วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บริบูรณ์ ฉลอง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แนวทาง, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้ง, ประชาชน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป (3) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนหมู่บ้านพฤกษา 13 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 370 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมประมวลผลสำเร็จรูป สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนหมู่บ้านพฤกษา 13 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 17 คน ด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจงและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์จากเนื้อหา โดยผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป ของประชาชนหมู่บ้านพฤกษา 13 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของประชาชน ที่แตกต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) แนวทาง การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป ได้แก่ (1) การจัดการเลือกตั้งและการนับคะแนนควรให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรม โดยให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากว่านี้ (2) หน่วยงานควรมีการตรวจสอบสิทธิให้มีความถูกต้อง และเปิดโอกาสให้ผู้รับสมัคร พรรคการเมืองหาเสียงได้อย่างเป็นอิสระและมีเวทีหาเสียงที่เพียงพอ (3) ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น และ (4) ควรกำหนดระยะเวลาในการเลือกตั้งแบบเดิม และเพิ่มจำนวนวันเลือกตั้งล่วงหน้าให้เพิ่มขึ้น

References

Catt, H. (1999). Democracy in Practice. London and New York: Routledge.

Chodwachirapong, C. (2008). The Role of Police in 2007 General Election: A Case Study of Chomthong Police Station, Chiang Mai Province. Independent Study of the Degree of Master of Political Science. Chiang Mai: Chiang Mai University. (in Thai)

Denjarugul, T. (2016). Political participation of people in Nakhon Pathom municipality, Nakhon Pathom Province. Thesis of the Degree of Master of Education. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)

Kongjam, R. (2014). Political participation of police officers at Muang Suphan Buri Police Station. In practice. 22-23. Thesis of the Degree of Master of Education. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)

Phuangngam, K. (2005). Thai Local governments: Principles and Future Dimensions. 5th ed. Bangkok: Winyuchon. (in Thai)

Sawangsuk, P. (2010). Factors That Influence Political Participation in the Taweewattana District, Thailand. Thesis of the Degree of Master of Arts Program in Public Administration. Nakhon Pathom: Mahidol University. (in Thai)

Schumpeter, J. A. (1943). Capitalism, Socialism and Democracy. London and New York: Harper & Brothers.

Thamrongthanyawong, S. (2006). Public policy: Concepts, Analysis and Processes. 13th edition. Bangkok: Faculty of Public Administration. National Institute of Development Administration. (in Thai)

Thomrongthanyawong, S. (1997). Politics: Conceptual and Development. Bangkok: Faculty of Public Administration National Institute of Development Administration. (in Thai)

Uwanno, B. (2002). Good governance in Thai society. Bangkok: Winyuchon. (in Thai)

Yukong, B. (2007). The development of Political participation in the election of members of the house of representatives off the people in Thatako district, Nakhon Sawan province. Thesis of the Degree of Master of Art Program in Development Strategy. Nakhon Sawan Rajabhat University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27

How to Cite

พฤฒิสาริกร ส., ชยนนท์ ส., ศรีสอน ว., & ฉลอง บ. (2022). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งของประชาชนหมู่บ้านพฤกษา 13 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 7(2), 112–123. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/259883