กระบวนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของอินฟลูเอนเซอร์บนแพลตฟอร์มยูทูบ
คำสำคัญ:
อินฟลูเอนเซอร์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอินฟลูเอนเซอร์ กระบวนการฝึกอบรมบทคัดย่อ
การเปลี่ยนผ่านจากสื่อออฟไลน์หรือสื่อเก่า สื่อโทรทัศน์ วิทยุ ผ่านเข้าสู่โลกออนไลน์ ถือเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต หาความรู้ สร้างความบันเทิง การเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้ได้สร้างความเจริญเติบโตในการนำเสนอเนื้อหาผ่านสื่อวีดีโออย่างแอปพลิเคชันยูทูบ (Youtube) ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
ยูทูบ (Youtube) เป็นแอปพลิเคชันที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 เพื่อนำเสนอสื่อวีดีโอ หรือภาพ เคลื่อนไหว สำหรับการนำเสนอเรื่องราว ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความรู้ การให้ความบันเทิง และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (Westenberg, 2016) ยูทูบเป็นสื่อที่สามารถทำให้ผู้ติดตามเกิดความคล้อยตาม โน้มน้าวใจให้ซื้อสินค้า หรือปฏิบัติตามได้ ด้วยการนำเสนอผ่านภาพเคลื่อนไหว เสียง สี เอฟเฟคต่าง ๆ ที่สามารถแสดงถึงอารมณ์ได้ดีกว่าสื่อภาพนิ่ง การสร้างความรู้สึกร่วมของสื่อวีดีโอบนแอปพลิเคชันยูทูบจึงนำไปสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์เนื้อหา และความเชื่อมั่นที่เพิ่มมากขึ้นของผู้ติดตาม ให้กลายเป็นผู้สร้างสรรค์เนื้อหาได้ในเวลาเดียวกัน เป็น
แอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยม และสร้างอิทธิพลต่อผู้ติดตาม โดยเฉพาะกลุ่มช่วงวัยระหว่าง 18-25 ปี (Global, 2016) ยูทูปเป็นช่องทางที่สร้างผู้นำทางความคิด หรือผู้ทรงอิทธิพลหรืออินฟลูเอนเซอร์ในบทบาทของยูทูเบอร์ เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้สร้างสรรค์เนื้อหาและผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการโน้มน้าวใจ การสร้างความน่าเชื่อถือ และการสร้างความบันเทิงก็ตาม ซึ่งในปัจจุบัน อินฟลูเอนเซอร์ในบทบาทของยูทูเบอร์ได้นำเสนอเนื้อหาที่หลากหลาย อาทิ การแต่งหน้า การรับประทานอาหาร การนำเสนอผลิตภัณฑ์ในลักษณะโฆษณาออนไลน์ การรีวิวสถานที่ท่องเที่ยว และการนำเสนอกลวิธีในการเล่นเกมส์ เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาที่ได้รับมีทั้งความรู้ และความบันเทิงพร้อมกัน เป็นเนื้อหาที่สดใหม่ มีความน่าสนใจ และน่าติดตาม นอกจากนี้ อินฟลูเอนเซอร์ยังถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ และสามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี การสร้างรายได้จึงเป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจที่ทำให้ผู้ติดตามมีความสนใจในอาชีพยูทูเบอร์
การพัฒนาเนื้อหาในกลุ่มของอินฟลูเอนเซอร์ จำเป็นต้องมีการสร้างสรรค์เนื้อหาที่ใหม่ และน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง แต่ในบางครั้งการสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่อาจไม่สามารถทำได้โดยทันที และยังพบว่า การสร้างสรรค์เนื้อหาที่ตอบโจทย์ต่อกลุ่มผู้ชม ก็คืออีกหนึ่งปัญหาที่มักพบบ่อยในยุคปัจจุบัน จนส่งผลให้การนำเสนอเนื้อหานั้นต้องหยุดลง ประกอบกับจำนวนผู้สร้างสรรค์เนื้อหาที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความแข็งแกร่งในการแข่งขัน และการทำงานที่ซับซ้อนของผู้สร้างสรรค์เนื้อหา (Zheng,D., 2020) เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการนำเสนอของอินฟลูเอนเซอร์ นั่นหมายความว่าหากการสร้างสรรค์เนื้อหาไม่ตอบโจทย์ต่อผู้ชม สิ่งที่เกิดขึ้นคือปัญหาในการสร้างการจดจำ และจำนวนผู้ติดตามนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบว่า เนื้อหาของการนำเสนอที่ถูกเผยแพร่ในช่องทางยูทูบ บางครั้งกลับสร้างผลกระทบในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นคำหยาบ การใช้คำที่ไม่เหมาะสม และเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับกลุ่มคนดู (Henry, 2009) รวมถึงการกระทำที่รุนแรง อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อผู้รับสาร ซึ่งสามารถนำไปสู่เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้ในอนาคต ส่งผลกระทบต่อผู้ชมและสังคม รวมทั้งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของตัวอินฟลูเอ็นเซอร์ได้
การสร้างสรรค์เนื้อหาในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันยูทูบ สามารถสร้างรายได้ และชื่อเสียงให้กับตัวบุคคลได้ แต่โดยส่วนใหญ่ผลงานวิจัยที่ผ่านมาพบการศึกษาปัจจัยในการสร้างรายได้ หรือการสร้างชื่อเสียงของกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ แต่พบงานวิจัยที่ศึกษาอินฟลูเอนเซอร์บนแพลตฟอร์มยูทูบจำนวนน้อยที่ประยุกต์เข้ากับหลักทางวาทนิเทศ ผู้วิจัยจึงสนใจการโน้มน้าวใจ การสร้างความน่าเชื่อถือของอินฟลูเอนเซอร์ รวมถึงการนำเสนอเนื้อหาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อนำผลการศึกษามาถอดบทเรียนในการออกแบบกระบวนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอินฟลูเอนเซอร์ และผู้ที่มีความสนใจในสายอาชีพ สามารถเข้าใจคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอินฟลูเอนเซอร์ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม โดยผู้วิจัยได้ทำการออกแบบกระบวนการฝึกอบรมบนฐานทฤษฎีวาทนิเทศเพื่อค้นหาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอินฟลูเอนเซอร์บนแพลตฟอร์มยูทูบ โดยใช้หลักทฤษฎีโน้มน้าวใจ Aristotle’s persuasive appeals อันได้แก่ Ethos (ความน่าเชื่อถือของผู้พูด) Pathos (การสื่อสารอารมณ์ร่วมให้แก่ผู้ฟัง) และ Logos (หลักฐานและเหตุผลของสาร) เป็นหลักในการออกแบบการฝึกอบรม รวมทั้งการสร้างสรรค์เนื้อหา การแสดงออกผ่านหลักแนวคิด The Five Cannons หลักแนวคิดวัจนภาษาและอวัจนภาษา มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์กระบวนการฝึกอบรม ผ่านกระบวนการออกแบบความคิด (Design Thinking) จะช่วยสนับสนุนให้ยูทูเบอร์นำไปใช้ในการนำเสนอ หรือแสดงออกได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยในการสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างการจดจำ และช่วยให้เกิดการพัฒนาเนื้อหา และพัฒนาการนำเสนอ (กนกอร เรืองศรี, 2560) โดยข้อมูลที่ได้จากการถอดบทเรียนของอินฟลูเซอร์ที่ประสบความสำเร็จ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรม และนักวิชาการ เพื่อให้ตอบโจทย์หลักทางวาทนิเทศได้อย่างครอบคลุม และในการออกแบบการฝึกอบรมหลังจากได้ผลลัพธ์จากบุคคลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจะนำผลลัพธ์ที่ได้มาประกอบในการออกแบบกระบวนการฝึกอบรมอย่างสร้างสรรค์
References
Ahmed, N. (2019). A study of ethos, pathos and logos in YouTube advertisements. International
Berger, A. A. (2015). Media and communication research methods: An introduction to qualitative and quantitative approaches. SAGE Publications.
Coassemble. (2021). Classroom Training vs eLearning: The Pros and Cons. Retrieved from https://www.coassemble.com/blog/classroom-training-vs-elearning-the-pros-and-con/
Chau, C. (2010). YouTube as a participatory culture. New Directions for Youth Development, 2010(128), 65-74. doi: 10.1002/yd.376.
Global, L. (2016, February 23). 10 YouTube creators to watch in 2016. Retrieved from https://www.theguardian.com/technology/2016/feb/23/10-youtube-creators-to- watch-in-2016
Henry, J. S. (2009). Information and communication technology law. Moniclair University: New Jersey.
Henry Jenkins (2006). Convergence Culture: Where Old and New Media Collide. New York: New York University Press.
Kennedy, G. A. (2007). Aristotle on rhetoric: A theory of civic discourse. Oxford University Press.
Porter, L. V. (2019). The Five Canons of Rhetoric as a Tool for Content Analysis of YouTube Videos. In The Handbook of Research on Digital Content, Mobile Learning, and Technology Integration Models in Teacher Education (pp. 264-282). IGI Global. doi:10.4018/978-1-5225-7823-3.ch015
Singler, B. (2017). Ethos, Pathos, Logos: The Three Pillars of Persuasion. Oxford Research Encyclopedia of Communication. doi: 10.1093/acrefore/9780190228613.013.281
Walther, J. B. (1996). Computer-mediated communication: Impersonal, interpersonal, and hyperpersonal interaction. Communication Research, 23(1), 3-43. doi: 10.1177/ 009365096023001001
Westenberg, W. (2016). The influence of YouTubers on teenagers. University of Twente: The Netherlands.
Zheng, D. (2020). The Challenges of Being a YouTuber. GigsDoneRight. Retrieved from https://gigsdoneright.com/blog/the-challenges-of-being-a-youtuber/.
Kanokorn Ruangsri. (2017). Creativity and Message Design in TEDxBangkok. (Master's Thesis, Faculty of Communication Arts). Chulalongkorn University, Bangkok.
Kantima Rittveeradech. (2017). Strategies of Micro Influencers Affecting the Purchase Decisions of Organic Cosmetics through Online Media Among Women in Bangkok. (Independent Study). Bangkok University, Bangkok.
Kittiya Suriwan. (2016). The Relationship between Key Opinion Leaders and Brand Consumers. (Master's Thesis). National Institute of Development Administration, Bangkok.
Dutsaya Sukvoraphirum. (2022). The Influence of Social Media Influencers on Youtube, Facebook, and Instagram on Cosmetic Product Purchase Decisions of People Aged 20-55 Living in Bangkok and Surrounding Areas. (Independent Study). College of Management, Mahidol University, Bangkok.
Thanapol Khansong & Paphatsara Chaiwong. (2021). Rhetorical Strategies of Effective Product Presenters through Live Streaming on E-commerce Applications in Thailand. Journal of Communication Arts, Chulalongkorn University.
Nattapong Sukprasit & Preecha Kammadhi. (2020). Marketing Ethics of Online Influencers. Journal of Management Science Review, Doctor of Business Administration Program, Valaya Alongkorn Rajabhat University.
Rattanaporn Boonnuch. (2012). The Development and Training Affecting Employee Efficiency: A Case Study of the Provincial Electricity Authority, Region 1 (Central), Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. (Master's Thesis, Master of Business Administration). Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Bangkok.
Rung Sriatsadaporn. (2015). Personality and Communication Competence: From Childhood to Working Age. Course Book, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.
Wipaporn Nantasuthiwaree. (2015). Communication Strategies for Cosmetic Products through Social Media Net Idols and Purchasing Decisions of Thai Female Teenagers. Bangkok University, Bangkok.
Supang Chantavanich. (2016). Data Analysis in Qualitative Research. 12th Edition. Chulalongkorn University Press, Bangkok.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมและการจัดการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
โปรดดูที่จริยธรรมการตีพิมพ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/Ethics