A การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษและ การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาโดยวิธีการสอนการโค้ชแบบผสมผสาน ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของผู้เรียนระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • ไพบูลย์ สุขวิจิตร บาร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • จิตรลดา สุดดีพงษ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สุพักตรา ศรีเจริญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนโดยการโค้ชแบบผสมผสาน, รูปแบบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง , ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษและการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาหลังการสอนพูดโดยใช้วิธีการสอนการโค้ชแบบผสมผสาน (Blended Coaching Instruction: BCI) ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา ENG111 ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 3, 521 คน ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาจาก 9 คณะ และ 3 วิทยาลัย จำนวน 171 คน จาก 4 กลุ่มเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างมาจากการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยมุ่งศึกษากลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (The One-Group Pretest-Posttest Design) การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้ระยะเวลาในการทดลองสอนและเก็บข้อมูลจากการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการโค้ชแบบผสมผสาน ทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (1) ขั้นเรียนทางออนไลน์ด้วยตัวเอง (2) ขั้นเตรียมตัว (เรียนด้วยตัวเอง) (3) ขั้นทบทวนและสอบถาม (เรียนแบบตัวต่อตัว) (4) ขั้นนำเสนอ (เรียนแบบตัวต่อตัว) และ (5) ขั้นการสะท้อนกลับ (เรียนแบบตัวต่อตัว) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยการนำตนเอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาศึกษา พบว่า ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ในระดับปานกลาง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีคะแนนความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษสูงมีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาที่สูง และในทางกลับกันนักศึกษาที่มีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสูงก็จะมีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษที่สูงเช่นกัน โดยงานวิจัยนี้ได้เสนอข้อแนะนำในเชิงวิชาการและการนำวิธีการสอนไปปรับใช้ในชั้นเรียนและงานวิจัยในอนาคตต่อไป

References

Anuphap, K. (2017). Self-Directed Learning for Learning Development in Computer Subject of Prathomsuksa 4 Student. Thesis of the Degree of Master of Education in Curriculum and Instruction. Nonthaburi: College of Education Science, Dhurakij Pundit University. (in Thai)

Azizah SBH, R. T., and Susanti, A. (2021). The correlation between students’ speaking skills and self-directed learning in virtual English community. Paramasastra: Jurnal Ilmiah Bahasa Sastra Dan Pembelajarannya, 8(2), 146–163.

Aupet, A. (2018). Effects of collaborative blended learning in group work ability career and technology 4 subject for Mathayomsuksa 5 students. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(3), 3068-3080.

Bangkokbiznews. (2020). “Solving the problem of 'English' skills, why do Thai people 'lose' over and over again?” Bangkokbiznews. [Online]. Retrieved 6 February 2020, from: https://www.bangkokbiznews.com/social/865234 (in Thai)

Isti’anah, A. (2017). The effect of Blended Learning to the students’ achievement in Grammar Class. IJEE (Indonesian Journal of English Education), 4(1), 16-30.

Marek, M. W., & Wu, W. (2011). Using Facebook and SKYPE as social media in an EFL conversation class. The Proceedings of the 28th International Conference on Teaching and Learning in the ROC, National Taichung University of Education, Taichung, Taiwan.

Merriam, S. B., Caffarella, R. S., and Baumgartner, L. M. (2007). Learning in Adulthood: A comprehensive guide. 3rd ed. San Francisco, CA: John Wiley & Sons.

Niramitchainont, P. (2012). Psychosocial factors related to self-directed learning of Srinakharinwirot University Students. The Periodical of Behavioral Science, 12(1), 129-141. (in Thai)

Puttidirok, A., & et al. (2019). Development English speaking skill by using training communicative language teaching (CLT) for supporting staff at Rajabhat Maha Sarakham University. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 13(3), 231-240. (in Thai)

Riensumettharadol, M.R. and Sujarinpong, P. (2023). English-Speaking Problems and Solutions: A Case Study of Thai EFL Interns in Hospitality and Tourism Industry. Journal of Studies in the Field of Humanities, 30(1), 208-226.

Sorkeomany, B. (2024). Promoting Students’ Speaking Proficiency through Communicative Activities: Case Study of Department of English, Faculty of Education, Champasack University. Souphanouvong University Journal of Multidisciplinary Research and Development, 10(1), 51-62.

Srinonyang, P., & et al. (2018). English achievement of self-directed learning through Edusoft’s English Discoveries. Journal of Srilanchang Review, 4(1), 47-63. (in Thai)

Szabo, F. & Csepes, I. (2023). Constructivism in language pedagogy. Hungarian Educational Research Journal, 13(3), 405-417.

Tongnate, K. (2014). The Development of Learning Model of Blended Learning Online. (Research Report). Maha Sarakham University: Rajabhat Maha Sarakham University.

Wangphasit, L. (2019). A development of coaching model to enhance English communication skill of education students’ Srinakharinwirot University. Journal of Education and Innovation, 21(1), 183-195. (in Thai)

Wolff, M., and et al. (2019). Coaching to improve self-directed learning. The Clinical Teacher, 17, doi: 10.1111/tct.13109.

Yimyam, S., and et al. (2015). Developing on Blended Learning for developing the 21st century learning skills. Nursing Journal CMU, 42, 129–140.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

How to Cite

บาร์ ไ. ส., สุดดีพงษ์ จ., & ศรีเจริญ ส. (2024). A การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษและ การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาโดยวิธีการสอนการโค้ชแบบผสมผสาน ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของผู้เรียนระดับปริญญาตรี. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 9(1), 135–149. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/277545