Interpersonal Communication as the Husband and the Wife according to the Buddhist Principles.
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลตามหลักพระพุทธศาสนา มีองค์ประกอบที่สำคัญ 9 ประการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนแรก ส่วนของบุคคลผู้ส่งสาร ได้แก่ (1) คนผู้ส่งสาร (รูปนาม หรือขันธ์ 5) (2) เนื้อหาหรือเรื่องราวของสาร (จิตหรือใจ) (3) สื่อหรือช่องทางของสาร (ทวาร 3 หรือกรรมทวาร) (4) วิธีการสื่อสาร (กรรม) (5) รูปแบบของข่าวสาร (อายตนะภายนอก 6) และส่วนที่สอง ส่วนของผู้รับสาร ได้แก่ (6) ช่องทางการรับสาร (ทวาร 6 หรืออายตนะภายใน 6) (7) การรับรู้สาร (ผัสสะ/วิญญาณ) (8) การถอดรหัสหรือตีความสาร (เวทนา สัญญา สังขาร) และ (9) ผู้รับสาร (รูปนาม หรือขันธ์ 5)
ส่วนกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลในฐานะสามีภรรยาตามหลักพระพุทธศาสนาถือว่า การสื่อสารระหว่างสามีหรือภรรยาจะต้องมีลักษณะเป็นการสื่อสารที่ส่งเสริมความรัก ความผูกพัน และความสุขในครอบครัว จัดเป็นการกระทำการสื่อสารที่เป็นกุศล (ความดีงาม) ต่อกันและกัน ส่วนการกระทำการสื่อสารที่เป็นอกุศล (ความชั่ว) นั้น สามีหรือภรรยาควรพยายามงดเว้นและเว้นขาดที่จะแสดงออกต่อกันและกัน โดยที่มีกระบวนการสื่อสารโดยทั่วไป 9 องค์ประกอบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ในฐานะสามีหรือภรรยาผู้ส่งสารส่วนหนึ่ง และสามีหรือภรรยาผู้รับสารอีกส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกับกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลตามหลักพระพุทธศาสนา
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร