Environmental Management in Temple for Health Care for Sangha According to Buddhism

Main Article Content

Phramaha Prayad Sunon

บทคัดย่อ

This research had three objectives: to study concepts related to the environmental management; to examine environmental context of temples (Wat) in the city municipality of Nongkhai; and thereby to create a strategic plan of environmental management in the temples (Wat) for Thai monks’ healthcare according to Buddhism. It is a qualitative research, using documentary data and content analysis as its instrument.

Results of the research as follows:

1)    The concept regarding Healthcare – oriented environmental management constitutes habitat management for supporting better healthcare and preventing people from the risky environmental factors. However, the Buddhist concept of environment management emphasizes the importance of physical environment management, suitable to meditation practice and depending on the seven favorable necessities of living

2)    Regarding context of the temples, there is no tidy environ, lack of fundamental sanitation; toilets were contaminated, and there were also other disease carriers such as deceased pigeons. Additionally, more than two monks in each temples was developing obesity. Some of them are also suffering from a chronic disease.

3)    The strategic approach of environmental management in temple for health care of Thai Sangha according to Buddhism consists of the following components:  (1) environmental context should be well arranged in the tidy, peaceful and safe way; (2) for personal context, importance of communication and a human encounter should be developed. Apart from that, social context in terms of community’s participation should be incorporated to monks’ healthcare.

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาบริบทสิ่งแวดล้อมวัดในเขตเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 3) เพื่อหาแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมวัดเพื่อดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ไทยตามแนวพระพุทธศาสนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1)    การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อดูแลสุขภาพ มีแนวคิดคือ จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอันเกิดจากสิ่งแวดล้อม การจัดสิ่งแวดล้อมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มีแนวคิดคือ จัดสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพให้เอื้อต่อสุขภาพตามหลักสัปปายะ 7

2)    บริบทสิ่งแวดล้อมวัดในเขตพื้นที่ที่ศึกษา พื้นที่ใช้สอยภายในวัดยังไม่เป็นระเบียบ ขาดความสงบและความร่มรื่น ความสะอาดห้องน้ำห้องสุขา อยู่ในขั้นปรับปรุง พบสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคมากที่สุดคือนกพิราบ มีพระภิกษุสามเณรในแต่ละวัดมากกว่า 2 รูป อยู่ในภาวะอ้วนเกินมาตรฐานและอาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

3)    แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมวัดเพื่อดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ไทยตามแนวพระพุทธศาสนา ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ ควรสะอาด สงบ เป็นระเบียบ และมีความปลอดภัย ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงบุคคล ควรมีการจัดระเบียบสิ่งแวดล้อมด้านการสื่อสารและบุคคลที่คบหา ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงสังคม ชุมชนควรเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ให้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
Sunon, P. P. (2017). Environmental Management in Temple for Health Care for Sangha According to Buddhism. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1578–1593. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/86118
บท
บทความวิจัย