การปฏิบัติกัมมัฏฐานในคัมภีร์สฬายตนะตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อความเป็นอิสระแห่งจิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์คัมภีร์สฬายตนะตามแนวสติปัฏฐาน 4 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ในคัมภีร์สฬายตนะสู่การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติกัมมัฏฐานในคัมภีร์สฬายตนะตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อความเป็นอิสระแห่งจิต เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ พื้นที่การวิจัย คือ สวนทัมมอิสโรและวัดป่านันทบุรีญาณสังวราราม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 24 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินองค์ความรู้ และวัดระดับความพึงพอใจจากแบบประเมินตนเอง แบบสัมภาษณ์กลุ่มแบบกึ่งมีโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1. การวิเคราะห์และสังเคราะห์คัมภีร์สฬายตนะตามแนวสติปัฏฐาน ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่มที่ 18 จัดองค์ความรู้ได้ 2 หมวด คือ 1) สฬายตนะ ที่เป็นไปเพื่อการเกิดทุกข์ในภพภูมิ เรียกว่า สมุทยวาระ 2) สฬายตนะ ที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์และภพภูมิ เรียกว่า นิโรธวาระ 2. องค์ความรู้ในคัมภีร์สฬายตนะสู่การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติไปกำกับอายตนะภายในทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ถูกอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ มากระทบแล้ว มีสติรู้ปัจจุบันขณะใน 4 ฐาน คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งความเข้าใจเรื่องอายตนะภายในกับภายนอกของผู้ให้ข้อมูล มีผลไม่แตกต่างกันมากนัก 3. การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติกัมมัฏฐานในคัมภีร์สฬายตนะตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อความเป็นอิสระแห่งจิต ประกอบด้วยสัทธรรม 3 คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นแนวทางการฝึกปฏิบัติ ซึ่งไม่มีคำบริกรรมในอารมณ์กัมมัฏฐาน บูรณาการร่วมกับปาริสุทธิศีล 4 ได้แก่ 1) ปาติโมกขสังวรศีล การมีศรัทธารักษาศีล 2) อินทรียสังวรศีล การมีสติรักษาอายตนะภายใน 6 3) อาชีวปริสุทธิศีล การมีความเพียรในสัมมาชีพ 4) ปัจจยสันนิสิตศีล การมีปัญญาเสพบริโภคปัจจัยภายนอก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Kanari, T. (2007). Kaliyuga and Thailand’s Economic Crisis. (3rd ed.). Bangkok: Amarin Book Center.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1957). Pali Tripitaka: Mahachula Edition. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.
______. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok: MCU Press.
______. (2023). Mahachulalongkornrajavidyalaya University Development Plan, Phase 13 (B.E. 2566-2570): Public Version. Retrieved June 7, 2024, from https://pr.mcu.ac.th/?p=9693/2024/07/12
Phra Bhaddanta Carita Dhammapāla Thera. (1993). Pathikavagga Aṭṭhakathā. Bangkok: Mahachulalongkorn rajavidyalaya University Press.
Phra Buddhaghosa Mahāthera. (1983). Patthūpasiddhi. Bangkok: Chalermchan Printing.
______. (2012). Visuddhimagga: Thai Translation. Bangkok: Mahachulalongkorn rajavidyalaya University.
Phra Kaccāyana Mahāthera. (1997). Kaccāyana vyākaraṇa. (Translated by Mahachulalongkornrajavidyalaya University). Bangkok: Wiriya Phatthana Printing.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2008). Holistic Well-Being in Buddhism (6th ed.). Bangkok: Kled Thai.
______. (2010). Dhamma Analysis (2nd ed.). Bangkok: Charoendee Mangkhang Printing.
______. (2012). What Did the Buddha Realize? Bangkok: King of Advertising and Graphics Co., Ltd.
Phra Rerukane Chanthawimala Thera. (2013). Vipassana Meditation. (Translated by Sunthorn Plamin). Bangkok: Pimsuay Publishing.
Phra Suphot Thammavaddhano. (2019). The Six Sense Bases and the Attainment of Enlightenment in Buddhism. MCU Philosophical Review Journal, 2(2), 51-63.
Phra Thepwethi (P.A. Payutto). (1989). The Buddha’s Teaching Techniques. (2nd ed.). Bangkok: Buddhist Dhamma Foundation.
Phra Visuddhācārya Mahāthera. (2020). Dhātu-vatthu-saṅgaha-pāṭhanissaya. (2nd ed.). Bangkok: Prayurasat Thai Printing.
Phra Nārada Thera. (1998). Milindapañha Aṭṭhakathā. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.
______. (1999). Abhidhammatthasaṅgah Aṭṭhakathā. Bangkok: Mahachulalongkorn rajavidyalaya University Press.
Phra Sumangalasamit Thera. (1999). Abhidhammatthavibhāvanīṭīkā. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.
______. (1992). Abhidhānappadīpikā sūci. Bangkok: Mahamakut Buddhist University.
Phramaha Phathorn Aphatharo et al. (2018). An Analytical Study on the Significance of the Six Sense Bases in the Salayatana Vibhanga Sutta. MCU Social Science Review, 7(3), 101-111.
Phramaha Sutith Apakaro (Oboon). (2005). Learning Innovation: People, Community, and Development. Bangkok: Pisit Thai Offset.
Somdet Phra Buddhaghosacarya (P.A. Payutto). (2024). Entering the Rains Retreat: A Life of Learning. Retrieved February 22, 2025, from https://www.papayutto.org/th/book_ detail/769
Sriariya, Y. (2007). Kaliyuga and Thailand’s Economic Crisis. (3rd ed.). Bangkok: Amarin Book Center.
Tasonthi, S. (2011). Disappearance of the Dhamma. Thonburi: Think Beyond Books.
______. (2022). One Month of Mind Observation for Nirvana. Thonburi: Think Beyond Books.
______. (2023). The Four Noble Truths: The Identity of Buddhist Teachings. Mahachula Academic Journal, 10(1), 205-220.
Thongsuk, T. (2023). Depression Can Be Cured: Just Family Care and Attention. Ubon Ratchathani: Siritham Offset.
Wasi, P. (2002). The Human Path in the 21st Century: Towards a New Paradigm of Development. Bangkok: Chulalongkorn University Press.