การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน ศึกษากรณีวัดปากน้ำอเมริกา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดนนั้น พระธรรมทูตสายต่างประเทศจะต้องได้รับการอบรมให้มีความรู้ความสามารถ จริยาวัตรอันงดงาม พระธรรมทูตต้องมีความเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของประเทศที่ตนไปเผยแผ่ให้ดีพอ ทำให้การการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และสื่อสารกับคนในประเทศนั้นได้ดี และมีความมั่นใจในการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะไปปฏิบัติหน้าที่เผยแผ่ในต่างประเทศ เพื่อสนองงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย ทำหน้าที่ในการส่งสารซึ่งก็คือธรรมะอันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา นำไปให้ถึงประชาชนเพื่อให้เข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นผู้นำในการสั่งสอนให้คำแนะนำประชาชนให้เกิดศรัทธา และน้อมนำเอาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาสู่การปฏิบัติในวิถีชีวิต
พระธรรมทูตผู้ทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาและทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของคณะสงฆ์ไทยเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ เดินทางไปเพื่อฉลองศรัทธา พุทธศาสนิกชนไทยที่มีถิ่นฐานอยู่ที่นั้นเป็นชุมชนและปรารถนาที่จะให้มีวัดไทยขึ้น พระสงฆ์ทำหน้าที่หลักในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อบรมสั่งสอนประชาชนให้เข้าถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การสร้างวัดจึงเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเช่นกัน เพราะวัดเป็นศูนย์กลางการพบปะของชุมชนคนไทยที่อยู่ต่างแดนในเมืองนั้น ๆ และเป็นสถานที่ที่ผู้สนใจพระพุทธศาสนาจะได้ศึกษาพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Cybervanaram. (2010). Cybervanaram: The Development of Spreading Buddhism from Oral Tradition to the Cyber World. Retrieved October 22, 2024, from http://cybervanaram.net/2009-12-17-14-43-37-13/860-2012-11-09-04-06-10
King, R. H. (2001). Thomas Merton and Thich Nhat Hanh: Engaged Spirituality in an Age of Globalization. New York: The Continum International Publishing Groups Inc.
Kumpairoj, Ph. (2010). Buddhist History from the Pilgrimage Sites. n.p.: n.p.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
National Office of Buddhism. (2012). Strategy of the National Office of Buddhism. Bangkok: National Buddhism Publishing House.
Phantarangsi, S. (1973). Comparative Religion. Bangkok: Phadungwitthaya Printing.
Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto). (2017). Development of Thai Sangha in the United States. Presented at the 41st General Assembly of the Council of Thai Bhikkhus in the USA, Held at Wat Mongkolratanaram, Florida, USA, June 2-4, 2017. Florida, USA.
Phra Dhammapitaka (P. A. Payutto). (2005). Dictionary of Buddhism: Compendium of Dhamma. Bangkok: MCU Press.
Phra Dhammavisuddhikawi (Phijit Thitawanno). (2003). Thai People and the Work of Spreading Buddhism. Bangkok: Chuan Phim Press.
Phra Nattakitt Suddhamano (Udomphol). (2017). The Propagation of Theravada Buddhism in England. Journal of Chandrakasemsarn, 23(44), 33-47.
Phra Paisal Visalo. (2003). Reformation and Revival of Buddhism in the Era of Globalization. Collected Writings and Articles by Phra Paisal Visalo. Retrieved October 12, 2024, from http://www.visalo.org/article/budKarnpatiroob.htm
Phrapalad Amphon Suthero, & Phramaha Thanat Atthajari. (2000). Dhammaduta in Foreign Countries. Bangkok: MCU Press.
Punyanupap, S. (1981). Comparative Religion. Bangkok: Ramkhamhaeng University.
Royal Institute. (2013). Royal Institute Dictionary B.E. 2554 (2011). Bangkok: Nanmeebooks Publications.
Somdet Phra Maharatchamangkalacharn (Chuang Worapunyo). (2008). Sammothaniyakkatha. Live Broadcast Ceremony of the Fourth Anniversary of Wat Paknam America, July 8, 2008. Florida, USA.
The Council of Thai Bhikkhus in the USA. (2022). About the Council of Thai Bhikkhus in the USA. Retrieved November 12, 2024, from https://thectu.org/
Wallace, A., & Shapiro, S. (2006). Mental Balance and Well-Being: Building Bridges between Buddhism and Western Psychology. American Psychologist, 61(7), 690-701.