การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ธราเชฎฐ์ สุคนธ์
พิสิฐ เมธาภัทร
ไพโรจน์ สถิรยากร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการในสถานประกอบการตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา 1) สถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) สถานประกอบการ และ 3) นักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ฯ และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารศูนย์ฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดประชุมกลุ่มย่อย


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 4.05, S.D. = 1.03) จัดลำดับความสำคัญของสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น 6 ด้าน จากมากไปน้อย คือ ด้านการวัดและประเมินผลการฝึกอาชีพรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการ ด้านการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ด้านการฝึกอาชีพในสถานประกอบการด้านการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ด้านการจัดทำแผนการฝึกอาชีพรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการ และด้านศูนย์การเรียนการสอนรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี จัดตั้งภายในสถานศึกษา พบว่าผลการจัดอันดับความต้องการจำเป็นทุกข้อมีความสำคัญระดับมาก 2) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ฯ นำผลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ฯ ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 มาใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนารูปแบบ ภายใต้รูปแบบวงจรเดมมิ่ง (PDCA) และจากการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 ท่าน พบว่า รูปแบบการบริหารศูนย์การจัดการเรียนการสอน รายวิชาฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 13 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (P: Plan) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 2) การดำเนินการ (D: Do) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 3) การปฏิบัติในสถานประกอบการ (C: Check) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน และ  4) การประเมินผล (A: Action) ประกอบด้วย 1 ขั้นตอน โดยผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.76, S.D. = 0.39) ดังนั้น จึงมีความเหมาะสมที่จะไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารศูนย์ฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
สุคนธ์ ธ. ., เมธาภัทร พ. ., & สถิรยากร ไ. . (2025). การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 13(1), 341–355. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285406
บท
บทความวิจัย

References

Dual Vocational Education Center. (2023). Dual Vocational Education-Data. Retrieved February 24, 2025, from https://dve.cm.in.th

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Marnphae, N. (2018). The Management Planning Model of Dual Vocational Training of Technical College under the Office of the Vocational Education Commission. (Doctoral Dissertation). Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. Phranakhon Si Ayutthaya

Office of the Education Council. (2017). The National Education Plan B.E. 2560-2579 (2017-2036). Bangkok: Prikwarn Graphic.

Office of the Vocational Education Commission. (2019). Vocational Education Management Standards, Vocational Certificates, and Higher Vocational Certificates No. 8: Bilateral Vocational Education Management. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission.

Office of the Vocational Education Commission. (2024). Higher Vocational Certificate Program 2024. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission.

Saengchan, T., Wisetsena, Ch., Chuanchom, S., & Tanya, S. (2021). The Effective Dual Vocational Administration Model for Institutionsunder the Office of Vocational Education Commission. Sikkha Journal of Education, 8(2), 76-85.

Sathitmon, U., Kaongernand, M., & Sakorn, J. (2021). Module Curriculum Development and Upgrading Logistics English Language Proficient Enhancement in Industrial Sector. SSRU Journal of Public Administration, 4(3), 125-138.

Tupwong, J. (2022). Learning and Instruction Model for Enhance Quality Administration Dual Vocational Education of Bangpakong Industrial and Community Education College Chachoengsao Province. Vocational Education Central Region Journal, 6(1), 24-33.