กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องโดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันเกิดมีความขัดแย้งในสังคมกันมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างบุคคล ระหว่างองค์กร และต่อมาได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคล ชุมชน และท้ายที่สุดจะนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคม และประเทศชาติ รวมทั้งนานาชาติต่อไป เช่น การเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ แล้วใช้กำลังทหารเข้าสู้รบกัน ย่อมทำให้ประเทศต้องใช้งบประมาณในการต่อสู้กัน ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งด้านชีวิต ทรัพย์สิน และทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกิดความติดขัด ล่าช้าในการพัฒนาประเทศ อันเนื่องมาจากผลเสียจากความขัดแย้งกัน ตามกระบวนการยุติธรรมหลัก ในด้านกฎหมายนั้น เมื่อผู้กระทำความเสียหายแก่บุคคลอื่น ศาลจะมีกระบวนการพิจารณาความผิดตามกฎหมายและต้องได้รับโทษ ย่อมทำให้มีบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น รัฐ ต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจ พนักงานอัยการ จำเลยหรือผู้เสียหายต้องมีทนายความ และผู้พิพากษาเป็นผู้วินิจฉัยคดี เมื่อผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดทางอาญา ต้องได้รับโทษจำคุก พร้อมทั้งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายกลับไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจากจำเลย เพราะจำเลยถูกจำคุกเสียแล้ว นอกจากนั้น หากจำเลยมีครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนหรือผู้ใกล้ชิด ก็จะรู้สึกทุกข์ใจไปกับจำเลยด้วย รวมทั้งผู้เสียหายที่ไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายจากจำเลยและจากรัฐ ผู้เสียหายก็จะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรมด้วย
การแก้ไขความขัดแย้งต่าง ๆ ดังกล่าวมีหลายวิธีแต่ในบทความนี้ จะเสนอกระบวนการยุติธรรมทางเลือก ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี คือ การนำกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและหลักพุทธสันติวิธีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมของบุคคล และองค์กรในปัจจุบัน เพื่อช่วยในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคู่ความให้เกิดประสิทธิภาพ โดยยังมิต้องนำข้อขัดแย้งขึ้นสู่กระบวนการของศาล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Court of Justice. (2018). About the Office of the Judiciary. Retrieved April 12, 2022, form https://www.coj.go.th/th/content/page/index/id/16
Judicial Promotion Office, Office of the Judiciary. (2017). Handbook for Dispute Mediation System in Courts According to the Supreme Court President's Regulations on Mediation B.E. 2554 (2011). Bangkok: Thana Press Co., Ltd.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Ministry of Justice. (2017). History and Evolution of the Ministry of Justice. Retrieved April 12, 2022, form https://www.moj.go.th/view/11
Office of the Judiciary. (2006). Psychological Techniques for Mediation. (7th ed.). Bangkok: Active Print Co., Ltd.
Phramaha Hansa Dhammahaso (Nithiboonyakorn). (2018). Buddhist Peaceful Means: Integration of Principles and Tools for Conflict Management. (2nd ed.). Bangkok: Prayoonsanthai Printing Limited Partnership.
Pratheuangrattana, Ch. (2018). A Mediation Model by the Integration of Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
The Supreme Court President's Regulations on Mediation B.E. 2554. (2011, 7 October). Royal Gazette. Vol. 128, Issue 73 a.
Watthanasap, W., Phothiransiyakorn, N., Khanthong, A., Kasemwongchit, K., & Harasith, S. (2011). Citizen's Mediation and Dispute Conciliation Handbook. Bangkok: Klung Na Na Vithya Press Limited Partnership.