กระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ ภาค 6 2) บูรณาการกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี และ 3) นำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูปหรือคน ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านศาลและนักกฎหมาย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสันติวิธีและพระพุทธศาสนา และกลุ่มนักวิชาการขององค์กรภาครัฐและเอกชน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญา ในศาลอุทธรณ์ภาค 6 พบว่า ยังมิได้กำหนดนโยบายในการนำคดีอาญาให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนการพิจารณาคดี และขั้นตอนในการปฏิบัติงานของผู้ประนีประนอมยังไม่ชัดเจน รวมทั้งผู้ประนีประนอมยังไม่เข้าใจเป้าหมายในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา และขาดความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา เช่น ป.อ. มาตรา 56, ป.วิ.อ. มาตรา 35 และ มาตรา 39 (2) เป็นต้น 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา โดยพุทธสันติวิธี พบว่า หลักสาราณียธรรม 6 เป็นหลักธรรมที่สอดคล้องกับกระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ ได้แก่ (1) เมตตากายกรรม ช่วยเหลือกันอำนวยความสะดวกเมื่อคู่พิพาทมาเผชิญหน้ากัน (2) เมตตาวจีกรรม พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดี พูดอย่างเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (3) เมตตามโนกรรม เป็นผู้คิดดี ปรารถนาดี มีความรักความเมตตาต่อกัน (4) สาธารณโภคี อำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้มีการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นด้วยความชอบธรรม (5) สีลสามัญญตา มีความประพฤติสุจริตดีงาม ประพฤติตนถูกต้องตามกฎหมายและทำนองคลองธรรม และ (6) ทิฏฐิสามัญญตา มีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างถ่องแท้ และ 3) กระบวนการการไกล่เกลี่ยฟื้นสัมพันธ์เพื่อสันติภาพ (Peace Restorative justice) ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ (1) ให้โอกาสจำเลยและผู้เสียหายบอกเล่าความจริงที่เกิดขึ้น (2) ให้จำเลยได้รู้สึกสำนึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดของตน (3) จำเลยหามาตรการเยียวยา แก้ไข ฟื้นฟู ผู้เสียหาย (4) ให้จำเลยได้มีโอกาสแสดงความรับผิดชอบและแก้ไขพฤติกรรม (5) สามารถสานสัมพันธ์กันต่อไปได้ และจำเลยไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก และ (6) ผู้เสียหายได้ให้อภัย และถอนคำร้องทุกข์-จำหน่ายคดี และรอการลงโทษ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Kaewlae, N. (2013). Problems with Mediation in Criminal Cases at the Investigative Level. Retrieved January 22, 2022, from http://www.lawgrad.ru.ac.th/Abstracts/1997
Luengprasert, Ch. (2022). Policies of the President of the Supreme Court of Thailand “Solidarity, Unity and Public Service”. Bangkok: Office of the President of the Supreme Court.
Nuyimsai, W. (2018). A Model of the Mediation by Buddhist Peaceful Means: A Case of the Mediation Center of Lawyers Councill, Bangkok. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Phramaha Wiset Kantadhammo. (2019). Conflict Management according to Saraniyadhamma. Journal of Interdisciplinary Innovation Review, 2(1), 32-38.
Rattanasanyanuphap, S. (2023). Dispute Mediation and Resolution by Buddhist Peaceful Means. Journal of MCU Peace Studies, 12(3), 1188-1203.
Sermsilatham, P. (2021). Criteria for Imposing Criminal Penalties under the Information Support Project for the Work of Members of Parliament. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Tajai, S. (2016). Problems and Obstacles of the Mediation in Family Cases: A Case Study at Central Juvenile and Family Court (Meenburi Branch). (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.