กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้โดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณี ศาลอาญาพระโขนง

Main Article Content

กัญจน์นที รัตนศิลป์กัลชาญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาด้านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ ของศาลอาญาพระโขนง 2) เพื่อบูรณาการกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ ตามแนวพุทธสันติวิธี และ 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้โดยพุทธสันติวิธี ของศาลอาญาพระโขนง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และได้พัฒนาเครื่องมือวิจัยตามแบบอริยสัจโมเดล โดยเดินตามบันได 9 ขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านศาลและนักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาและสันติวิธี จำนวน 10 ท่าน และวิเคราะห์ผลด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาด้านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ ของศาลอาญาพระโขนง ในปัจจุบัน พบว่า ยังมิได้กำหนดนโยบายในการนำคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนการพิจารณาคดี และขั้นตอนในการปฏิบัติงานของผู้ประนีประนอมยังไม่ชัดเจน รวมทั้งผู้ประนีประนอมยังไม่เข้าใจเป้าหมายในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ และขาดความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ เช่น ป. อาญามาตรา 56, ป.วิ อาญามาตรา 35 และ มาตรา 39 (2) เป็นต้น 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้โดยพุทธสันติวิธี ได้แก่ หลักอริยสัจสี่ ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค เมื่อคู่ความมีทุกข์ ผู้ประนีประนอมต้องค้นหาว่าโจทก์มีทุกข์อย่างไร จำเลยมีทุกข์อย่างไร และช่วยคู่ความหาสาเหตุของทุกข์นั้น และช่วยชี้แนะหาทางออก  แห่งทุกข์ เพื่อให้คู่ความบรรลุแห่งการดับทุกข์และหลุดพ้นจากทุกข์ และผู้ประนีประนอมเองควรต้องมีหลักพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา) เป็นธรรมประจำใจ และต้องควบคุมกระบวนการด้วยการมีสติ มีขันติ เพื่อให้เกิดสันติ เกิดสันติภาพภายใน สันติภาพภายนอก และเกิดสังคมสันติสุข และ 3) กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ โดยพุทธสันติวิธีของศาลอาญา พระโขนง ได้แก่ การไกล่เกลี่ยฟื้นสัมพันธ์เพื่อสันติภาพ (Peace Restorative Mediation) 6 ด้าน คือ (1) ให้โอกาสจำเลยและผู้เสียหายบอกเล่าความจริงที่เกิดขึ้น (Opportunity) (2) ให้จำเลยได้รู้สึกสำนึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดของตน (Remorse) (3) จำเลยหามาตรการเยียวยา แก้ไข ฟื้นฟู ผู้เสียหาย (Healing Solution) (4) ให้จำเลยได้มีโอกาสแสดงความรับผิดชอบและแก้ไขพฤติกรรม (Responsibility) (5) สามารถสานสัมพันธ์กันต่อไปได้ และจำเลยไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก (Relationship) และ (6) ผู้เสียหายได้ให้อภัย และถอนคำร้องทุกข์-จำหน่ายคดี (Forgiveness)

Article Details

How to Cite
รัตนศิลป์กัลชาญ ก. . (2024). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้โดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณี ศาลอาญาพระโขนง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(5), 1824–1837. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281743
บท
บทความวิจัย

References

Court of Justice. (2018). History of Court of Justice. Retrieved January 8, 2023, from https://coj.go.th/th/content/page/index/id/3

Court of Justice. (2022). Judiciary Development Strategy (2022-2025). Retrieved January 8, 2023, from https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid=38228&table=files_biblio

Phra Paisal Visalo. (n.d.). Buddhist Mediation. Retrieved January 20, 2023, from https://www.visalo.org/article/P_karnKlaiKlear.htm

Phrakhanong Criminal Court. (2018). Vision and Mission. Retrieved April 12, 2023, from https://crimpkc.coj.go.th

Phrakrubhavanasarabundit. (2023). Director, Office of Buddhism-Promotion and Social. Interview. February 3.

Phramaha Weerasak Abhinandhavedhi. (2023). Lecturer of Peace Studies Program. Interview. February 3.

Pratheuangrattana, Ch. (2019). Principle and Methods of Buddhist Integration that Lead to Success in Mediation. Journal of MCU Peace Studies, 7(1), 193-212.

Sreeyaphai, S., Chachikul, P., & Uthaphun, Ph. (2022). An analytical Study of Applying Buddhist Principle for Reconciliation of Mediators in Khon Kaen Provincial Court. Dhammathas Academic Journal, 22(1), 139-151.

Tajai, S. (2016). Problems and Obstacles of the Mediation in Family Cases: A Case Study at Central Juvenile and Family Court (Meenburi Branch). (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.