ยันต์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ คุณค่า และกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะในล้านนา

Main Article Content

สุบิน ปวงดอกแดง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติ ความเป็นมาและคุณค่าของยันต์ล้านนา 2) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะจากภูมิปัญญายันต์ในล้านนา และ 3) ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปะเชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญายันต์ล้านนา การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลทางด้านเอกสารที่เกี่ยวข้อง ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา ความเชื่อภูมิปัญญาล้านนา เครื่องรางของขลัง การประกอบพิธีกรรมของชาวล้านนารวมถึงบุคคลที่สนใจในยันต์ล้านนา จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ แบบสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. จากความเชื่อของชาวล้านนาที่มีต่อยันต์ล้านนา พบว่า ความเชื่อเป็นการสืบทอดที่เกิดจากภูมิปัญญาในเรื่องของยันต์ล้านนาที่ใช้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา จากการใช้อักขระรวมถึงตัวอักษรล้านนา การใช้ยันต์ล้านนาเพื่อเป็นเครื่องราง ของขลังที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ใช้คุ้มครองและป้องกันตัวจากอันตรายตามความเชื่อของทางล้านนา โดยยันต์ล้านนาส่งผลทางด้านจิตใจให้มีพลังการดำเนินชีวิตที่มีแต่ความสุข จากยันต์ล้านนาสู่งานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่ผสมผสานความเชื่อในเรื่องจาก ผี พราหมณ์ พุทธ อันเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน 2. กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะจากภูมิปัญญาล้านนา พบว่า เป็นกระบวนการที่นำเอาองค์ความรู้ทางด้านศิลปะพื้นบ้านของล้านนาที่เกี่ยวข้องของการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา ด้วยการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์ความเป็นล้านนา โดยเริ่มจาก “บุคคล” สู่ “วัด” “ชุมชน” และ “พื้นที่สาธารณะ” มีการพัฒนาศิลปะและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยันต์ล้านนาด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ เป็นการอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา ด้วยการพัฒนาศักยภาพและภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่เกิดจากบุคคลจากความเชื่อ พิธีกรรม รวมถึงคำสอนที่ถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษในเรื่องของยันต์ล้านนา ซึ่งงานสร้างสรรค์เป็นการเปลี่ยนแปลงด้วยการพัฒนาที่ยังใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบตามข้อจำกัดและข้อปฏิบัติ ที่ยังคงด้วยยึดถือมาตามความเชื่อและทัศนคติของความเป็นล้านนา 3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปะเชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญายันต์ล้านนา พบว่า ยุคสมัยเกิดการเปลี่ยนแปลง จากรูปแบบเดิมของยันต์ล้านนาที่เขียนลงบน กระดาษสา ใบลาน แผ่นตอง บนผ้า เขาสัตว์ และไม้ ด้วยข้อจำกัดของขนาดที่ใหญ่รวมถึงลวดลาย จึงเกิดแนวคิดของการพัฒนารูปแบบให้มีขนาดเล็กสามารถพกพาได้ง่าย แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นล้านนา เช่น การสร้างยันต์ล้านนาที่มีรูปแบบเดิมเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ที่มีความสวยงาม มีการเรียนรู้ที่เกิดจากภูมิปัญญายันต์ล้านนาจากครูอาจารย์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์ของผู้ถือยันต์ล้านนา จึงเกิดเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปะเชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญายันต์ล้านนาด้วยการสร้างทัศนคติความเชื่อให้กับบุคคลรุ่นใหม่ที่สนใจในงานศิลปะของยันต์ที่ยังคงมีเอกลักษณ์เป็นทั้งงานศิลปะที่ทรงคุณค่าและควรรักษาสืบไป

Article Details

How to Cite
ปวงดอกแดง ส. (2025). ยันต์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ คุณค่า และกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะในล้านนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 13(1), 82–96. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281547
บท
บทความวิจัย

References

Chiang Mai Univercity Library. (1999). Yantras and Mantras. Retrieved October 30, 2023, from https://library.cmu.ac.th/digital_collection/digitalheritage/show.php?RecID=72&FID=6277

Chimplee, K. (2012). Knowledge Management Models for Local Wisdom in Wickerwork Handicrafts: A Case Study of Local Community Enterprises in Nakhon Ratchasima Province. (Doctoral Dissertation). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Choibamroong, T. (2011). Wisdom for Creative Local Development. Bangkok: A.P. Graphic Design and Print Co., Ltd.

Khananurak, M. (2007). Folklore. (2nd ed.). Bangkok: Odeonstore.

Matichoweekly. (2021).Know the Types of “Lanna Yantras” from Protecting Against Spirits to Safeguarding Crops. Retrieved October 30, 2023, from https://www.matichon weekly.com/column/article_453352

Payomyong, M. (1994). Lanna Thai Twelve-Month Traditions. (3rd ed.). Chiang Mai: Sorsapprint.

Phra Bhramagunabhorn (P.A. Payutto). (2013). Dictionary of Buddhism. Bangkok: Sahadhammika Co., Ltd.

Phrakhru Sophonphatthananuyut et al. (2005). A Study on the Problems of Applying Local Wisdom in Teaching and Learning Management in Phrapariyattidhamma Schools.

Chulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus. Phrae.

Phrapisnupol Suwannaroopo (Rooptong). (2011). A Study of Buddha Dhamma and Value as Appeared in Lanna Yuntian: A Case Study of Amphur Muang, Lampang Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkorniajavidyalaya University. Bangkok.

Pongpit, S. (2010). One Hundred Words You Should Know. Bangkok: Charoenwit Printing.

Sripasang, W. (2015). Lanna Amulet. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 3(1), 13-27.

Summa, N. et al. (1991). Rituals and Social Communication. Chiang Mai: Faculty of Humanities, Chiang Mai University.

Tansiri, A. (2006). Local Culture and Thai Culture. (1st ed.). Bangkok: Watana Panich Printing Co.,Ltd.

Vinitasatitkun, P., & Phramaha Chan Chirametthi (Lowalun). (2015). Folklore: Beliefs in Thai Society. Journal of MCU Humanities Review, 1(1), 31-44.

Wasi, P. (1991). Folk Wisdom and Cultural Operations. Bangkok: Office of the National Culture Commission.