กระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดีหมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนง โดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดี หมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนง โดยพุทธสันติวิธี” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา บริบท ความต้องการจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดีหมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนง และ 3) เพื่อเสนอกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดีหมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนงโดยพุทธสันติวิธี เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 25 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม จากผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนทั้งสิ้น 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ ดังนี้
ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหา บริบท ความต้องการจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องตามศาสตร์สมัยใหม่ พบว่า ปัญหาการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง คือประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ผู้ไกล่เกลี่ยหรือผู้ประนีประนอม บางท่านยังไม่เข้าใจในหลักกฎหมายว่าเราสมควรและไม่สมควรทำอะไร จำเลย คดีหมิ่นประมาทอาจเกิดจากอารมณ์ชั่ววูบหรือการขาดสติ คู่ความมีอคติกับคู่กรณี ผู้ประนีประนอมต้องค้นหาความจริงว่าคู่กรณีมีความขัดแย้งเรื่องอะไร บางกรณีเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง มีความจำเป็นที่ควรจะทำ ผู้ประนีประนอมบางท่านทำเกินหน้าที่ ว่า สาเหตุแห่งคดีหมิ่นประมาท แสดงให้เห็นว่าผู้ละเมิดกระทำวจีทุจริต 4 ประการ คือการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ 2) หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดีหมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนง ได้แก่หลักวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน วาจาประกอบด้วย 5 ประการอะไรบ้าง คือ 1. พูดถูกกาล 2. พูดคําจริง 3. พูดคําอ่อนหวาน 4. พูดคําประกอบด้วยประโยชน์ 5. พูดด้วยเมตตาจิต และหลักสติ ขันติ และสันติเป็นหลัก 3) กระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดีหมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนง โดยพุทธสันติวิธี ตามหลัก LOTUS Model ซึ่งประกอบไปด้วย L = พูดด้วยเมตตาจิต O = พูดถูกกาล T = พูดคำจริง U = คำพูดที่ประกอบด้วยประโยชน์ S = พูดคำอ่อนหวาน ทั้งนี้ โดยมีกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย 5 ขั้นตอน 1. เตรียมตัว เตรียมความพร้อมโดยการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2. เริ่มประชุม การเปิดประชุมไกล่เกลี่ยนัดแรก 3. เข้าสู่การแก้ปัญหา การค้นหาประเด็นข้อพิพาทและความต้องการของคู่พิพาท 4. เสนอทางออก การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในประเด็นพิพาท และ 5. ปิดการเจรจาไกล่เกลี่ย การจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งหลักการทั้งสองอย่างมีความสอดคล้องและสามารถบูรณาการเป็นแนวปฏิบัติได้เป็นอย่างดี โดยมีหลักสติ ขันติ และสันติเป็นหลักธรรมสนับสนุน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Atcharanuwat, N. (2016). Mediation Pepperdine Style, Straus institution of Dispute Resolution: Pepperdine University School of Law. Bangkok: Office of Judicial Promotion, Courts of Justice.
Chinkunkitniwat, N. (2019). The Qualifications of the Mediator in the Integrated Buddhist Perspetive: A Case Study of Appeal Court 7. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Larppitakmongkol, P. (2019). A Development of Mediator Characteristics at Samut Prakan Provincial Court by Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Limprangsi, S., & Buranabanya, R. (2017). 7 Elements of Real Needs-Based Mediation. Bangkok: Office of the Judiciary.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Phra Adisuk Wachirapunyo, & Khuntong, A. (2015). The Qualifications of the Mediator in the Integrated Buddhist Perspective. Journal of MCU Peace Studies, 3(1), 53-70.
Phra Khanong Criminal Court. (2022). History/General Information of the Agency. Retrieved October 28, 2022, from https://www.coj.go.th/th/content/page/index/id/91994
Pratheuangrattana, Ch. (2018). A Mediation Model by the Integration of Buddhist Peaceful Means: Case Study of Phitsanulok Municipality. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.