การจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลี โดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหาความต้องการเกี่ยวกับการจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลีและแนวคิดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลี 2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลี และ 3. เพื่อนำเสนอการจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลีโดยพุทธสันติวิธี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1. พิธีกรรมบวงสรวงกับยุคปัจจุบันพบว่า มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากดั้งเดิมและมีแนวโน้มเป็นไปในลักษณะส่งเสริมความเชื่อที่ผิด หรือการนำไปผูกโยงกับเรื่องงมงาย หรือเห็นคุณค่าของวัตถุมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ รวมถึงไม่เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลี เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อของมนุษย์ในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพนับถือ เพื่อขอพร ขอบคุณ หรือเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสิ่งเหล่านั้น พิธีกรรมนี้มีรากฐานมาจากความเชื่อส่วนบุคคล ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคน โดยมีวัตถุประสงค์ของพิธีกรรมบวงสรวงส่วนใหญ่ก็มักจะมีแนวโน้มหรือโน้มเอียงไปในด้านของการ 1) ขอพร 2) ขอบคุณ 3) แก้บน 4) ป้องกันภัย และ 5) สร้างขวัญกำลังใจ 2. หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลี ผลการวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อจัดการวัฒนธรรมในพิธีกรรมการทำเทวตาพลี พบว่า 1) หลักโภคอาทิยะ หรือ โภคาทิยะ 5 ข้อว่าด้วยการทำพลี 5 อย่าง ข้อว่าด้วยเทวตาพลี ถวายเทวดา คือ สักการะบำรุงหรือทำบุญอุทิศสิ่งที่เคารพบูชาตามความเชื่อถือ 2) หลักอนุสติ 10 ข้อว่าด้วยเทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา คือ น้อมจิตระลึกถึงเทวดาทั้งหลาย ที่ตนเคยรู้และพิจารณาเห็นคุณธรรมอันทำบุคคลให้เป็นเทวดานั้น ๆ ตามที่มีอยู่ในตน และ3) หลักไตรสิกขา คือ ทาน ศีล ภาวนา 3. การจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลีโดยพุทธสันติวิธี พบว่าควรประกอบไปด้วยหลัก 5 ประการ ดังนี้ 1) รักษาแก่นแท้ 2) ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้อง 3) สร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วม 4) ใช้เทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่ และ 5) ผสานกับหลักไตรสิกขา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Nuchit, P. (2006). Rituals and Beliefs Concerning the House-Raising Ritual of the City Pillar Shrine, Phra Wo Phra Ta, Mueang District, Nong Bua Lamphu Province. (Master’s Thesis). Loei Rajabhat University. Loei.
Phrakrusirirattananuwat et al. (2012). Vows and Sacrifices: Concepts, Principles and Influences on Thai Society. (Research Report). Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phramaha Prasobrerk Charuwatho (Rattanayong). (2007). The Analytikal Study of the Concept of Worship in Buddhism. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok.
Phuwanon, W. (2002). Beliefs and Rituals Regarding the Buddha Image of Luang Por Song Phi Nong: A Case Study of Ban Nong Khiat, Chum Phae District, Khon Kaen Province. (Master’s Thesis). Loei Rajabhat University. Loei.
Royal Institute. (2011). Royal Institute Dictionary B.E. 2554. Bangkok: Nanmeebooks.
Saenglap, S. (2003). Beliefs and rituals regarding Chao Pho Phraya Srithon of the Nong Bua Sub-District Community, Phu Ruea District, Loei Province. (Master’s Thesis). Loei Rajabhat University. Loei.