การมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศวิทยาชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศวิทยาชุมชน 2. เพื่อพัฒนากิจกรรมและพัฒนาพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศวิทยาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศวิทยาชุมชน การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การปฏิบัติการด้วยการจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนแนวทางการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ และรูปแบบการเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศวิทยาชุมชน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศชุมชนของทั้ง 3 ชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมจากกฎหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และความร่วมมือระหว่างรัฐกับชุมชน เพื่อจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน สร้างความสมดุลระหว่างธรรมชาติและวิถีชีวิตของคนในจังหวัดอุทัยธานี 2. พัฒนากิจกรรมและพัฒนาพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศวิทยาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 1. กิจกรรมแหล่งเรียนรู้บริเวณพื้นที่ ประกอบด้วย กิจกรรมพัฒนาอาชีพ และการส่งเสริมอาชีพยั่งยืน กิจกรรมพื้นที่และกิจกรรมการดูแลป่าการป้องกันรักษาป่า การทำแนวเขตป่าชุมชน การลาดตระเวนป้องกันรักษาป่า ศาลาพักลาดตระเวน กิจกรรมในพื้นที่เกี่ยวกับการดูแลป่า การป้องกันรักษาป่า กิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ กิจกรรมการส่งเสริมอาชีพชุมชน แหล่งเรียนรู้ของชุมชน กลุ่มอาชีพ กิจกรรมร่วมกลุ่มของชุมชน 2. กิจกรรมการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น ประกอบด้วย กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ชุมชน มุ่งสู่เมืองสีเขียว กิจกรรมตลาดลานร่มสักส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช กิจกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมการป้องกันและบรรเทาไฟป่า กิจกรรมชุมชนกับการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น 3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศวิทยาชุมชน ด้วยการดำเนินกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมความหลากหลายสู่พื้นที่ดังนี้ 1. แนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาและการอนุรักษ์พื้นที่ป่าชุมชน 2. แนวทางการดำเนินกิจกรรม 3. แนวทางการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 4. การดำเนินกิจกรรมสร้างจิตสำนึก 5. กิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ 6. กิจกรรมเรียนรู้แหล่งเรียนรู้ของชุมชน 7. การเสริมสร้างจิตสำนึกของชุมชนในการอนุรักษ์พื้นที่บริเวณพื้นที่รอบมรดกโลกทางธรรมชาติห้วยขาแข้งจังหวัดอุทัยธานี ทั้ง 7 ขั้นตอนดังกล่าวนับว่าเป็นรูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพโดยชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chaiprasart, P. (2016). Biodiversity and Conservation of Medicinal Plants at Educational Nature Trails in Bhumibhol Dam, Tak Province. (Research Report). Phitsanulok: Naresuan University.
Chuchip, K. (n.d.). Biodiversity: The Foundation of Sustainability for Local Communities in the Western Forest Complex. Retrieved May 3, 2023, from http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/52/08-intregration/nikhom/intregration_00.html
Duanglampun, Ch. et al. (2013). Development of Green Spaces under the Concept of Ecological Communities: A Case Study of Mae Jo Municipality, San Sai District, Chiang Mai Province. Proceedings of the 2nd National Conference on Forest Ecology Research Network in Thailand: Ecological Knowledge for Restoration. Proceedings of the 2nd National Conference on Forest Ecology Research Network in Thailand. (pp. 384-395). Kasetsart University, Faculty of Forestry; Forest Ecology Research Network in Thailand; Mae Jo University; Department of National Parks, Wildlife, and Plant Conservation; Office of the Higher Education Commission.
Junsontima, K., & Intachaiwong, O. (2015). Management for Participation in Natural Resource by Balance and Sustainability Case Study: Community Ban Khlonghuaiwai, Mae Poen, Nakhon Sawan. Journal of Thai Ombudsman, 9(1), 58-79.
Office of Bioeconomy Development (Public Organization). (2018). Handbook for Local Biodiversity Management. Bangkok: Office of Bioeconomy Development (Public Organization).
Sonloy, N. (1999). The Management Guideline for Bang Ka Chao Green Area Project in Prapadang District, Samutprakarn Province. (Master’s Thesis). Mahidol University. Nakhon Pathom.
Viruhpintu, S., Khwanboon, Th., & Yoelao, W. (2016). Biodiversity of Avian and Wildlife for Ecotourism: A Case Study of ChomPhu Sub-District, Noen Maprang District, Phitsanulok Province. Proceedings of the 3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand (pp.23-39).
Wanlayangkoon, M. (2014). Corporate Social Responsibility Communication Strategy of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.
Yasa, U., & Tangkittipaporn, J. (2014). Sustainable Development of Green Space in Chiang Mai Municipality. Journal of Community Development and Life Quality, 2(3), 233-243.