การพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี : ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

สาโรจน์ พึ่งไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาความผูกพันในองค์กรตามแนวทางศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลัก     พุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาความผูกพันในองค์กร ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอการพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น ของหลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาภาพรวมของวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ และสภาพปัญหาภาพรวมของบุคลากรวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานานชาติ ประกอบด้วย 1) การจัดการงานยังซับซ้อนคลุมครือ 2) ขาดความรู้เรื่องกำหนดแนวทางให้บุคลากรพัฒนาตัวเองด้านต่าง ๆ 3) ขาดความรู้การพัฒนาบทบาทกระบวนการสร้างความผูกพัน 4) ขาดเทคนิคการสร้างแนวความคิดในการปฏิบัติตัวตามค่านิยม 2) หลักพุทธสันติวิธีที่จะเอื้อต่อการพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้ของหลักไตรสิกขา 3 มุ่งพัฒนาความผูกพันของบุคลากรในองค์กรผ่านเครื่องมือของศีล สมาธิและปัญญา โดยมีการวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของบุคลากรในองค์กรด้วยหลักอริยสัจ และมีการวัดผลความผูกพันในองค์กรผ่านภาวนา 4 3) ขั้นตอนในการพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 คือ ขั้นตอนการตระหนักรู้ ขั้นตอนที่ 2 สิ่งแวดล้อม ขั้นตอนที่ 3 สร้างแรงบันดาลใจ ขั้นตอนที่ 4 ระบบองค์กร ขั้นตอนที่ 5 ความเข้าใจ โดยมุ่งการพัฒนา 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) พัฒนาให้บุคลากรเกิดความตระหนักในเรื่องต่าง ๆ โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดในการดำเนินการ 2) กระตุ้นให้บุคลากรมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้งานที่ตนเองรับผิดชอบประสบความสำเร็จ และองค์กรมีความก้าวหน้า 3) มุ่งการลงมือทำเน้นให้ลงมือทำ อิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด ใช้กระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านการทดลองทดสอบ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้และเป็นแรงขับเคลื่อนเพื่อให้ทุก ๆ กิจกรรมสำเร็จ

Article Details

How to Cite
พึ่งไทย ส. (2025). การพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี : ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 13(1), 222–233. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280963
บท
บทความวิจัย

References

Anuwat-Udom, M. (2013). Basic Knowledge Framework on Conflict Management through Peaceful Means: Peace Dialogue. Bangkok: Office Peace and Governance, King Prajadhipok's Institute.

Aphiprachayasakul, K. (2017). Organization Efficiency Increasing. Bangkok: Focus Media and Publishing.

Katim, L., Wongnaya, S., & Boonpituk, S. (2018). Strategic Movement for Human Resource Management of Phobphrawittayakom School under the Secondary Educational Service Area Office 38. Srinakharinwirot Academic Journal of Educational, 19(1), 174-192.

Manmee, Th. (2014). Building Organizational Commitment in Buddhism. Retrieved May 5, 2023, from https://www.gotoknow.org/posts/582130

Phra Pramote Vatagovito et al. (2020). The Development of Curriculum for Enhancing the Local Leader Competencies in Becoming Peace Engineer for Building Peace in the Communities. (Research Report). Phra Nakhon Sri Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Hansa Dhammahaso (Nithibunyakorn). (2014). Buddhist Conflict Resolution: Integrating Principles and Tools for Conflict Management. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.

Premwichai, P. (2023). Three Studies for Human Resource Development. Journal of Interdisciplinary Innovation Review, 6(1), A34-A41.

Rojanamongkol, P. (2018). The Effect of Leadership to Engagement of the Employees in Generation-Y: Case Study of the Company A. (Master’s Thesis). Rajamangala University of Technology Krungthep. Bangkok.

Smithikrai, Ch., & Phusapanit, P. (2017). Factors Influencing Job Commitment and Organizational Commitment of Personnel at Chiang Mai University. Chiang Mai: Chiang Mai University.

Watthanatsap, W. (2012). Conflict: Principles and Problem-Solving Tools. (4th ed.). Khon Kaen: Khlangnana Wittaya Printing House.