กระบวนการพัฒนาผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

ปุญญาพร ธนัชชวลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ความจำเป็นต้องการ และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น ของหลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พบว่า (1) ผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยภายใน (สันติภายใน) เนื่องจากมุ่งเน้นแต่การไกล่เกลี่ยภายนอก (2) ผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยที่เพิ่งขึ้นทะเบียน ยังขาดทักษะในการไกล่เกลี่ย เนื่องจากมีชั่วโมงในภาคปฏิบัติน้อย ทำให้ขาดความมั่นใจในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (3) ผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยยังขาดความรู้เรื่องขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ถูกต้องเป็นระบบ (4) ผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยยังขาดเทคนิควิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เป็นมืออาชีพ (5) ผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยยังเขียนบันทึกข้อตกลงไม่ถูกต้อง 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาผู้สูงวัยไกล่เกลี่ย  ข้อพิพาท พบว่าหลักไตรสิกขามุ่งพัฒนาคุณลักษณะของผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มุ่งพัฒนาผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยให้สามารถไกล่เกลี่ยเป็นมืออาชีพ โดยใช้หลักพุทธสันติวิธีในการวิเคราะห์ความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ และมีผลลัพธ์ของการพัฒนาผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผ่านภาวนา 4 ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านกายภาพ ผลลัพธ์ด้านพฤติภาพ ผลลัพธ์ด้านจิตตภาพ และผลลัพธ์ด้านปัญญาภาพของผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 3) กระบวนการพัฒนาผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี พบว่า องค์ความรู้ใหม่ของกระบวนการพัฒนา เป็น MEDR Model โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้สูงวัย  โดยพุทธสันติวิธี 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 คือการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ขั้นที่ 2 มองหาจุดยืนแต่ละฝ่าย ขั้นที่ 3 สร้างทางเลือกผ่าทางตัน ขั้นที่ 4 ค้นหาความต้องการที่แท้จริง การฟังอย่างลึกซึ้ง ขั้นที่ 5 หาจุดร่วมอย่างพอใจ ขั้นที่ 6 รักษาความสัมพันธ์

Article Details

How to Cite
ธนัชชวลัย ป. . (2025). กระบวนการพัฒนาผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 13(1), 167–179. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280961
บท
บทความวิจัย

References

Department of Older Persons, Ministry of Social Development and Human Security. (2023). 5-Year Action Plan (2023-2027). Retrieved February 21, 2023, from https://www.dop.go.th/download/laws/th1691739659-845_0.pdf

Dispute Resolution Promotion Division, Department of Rights and Liberties Protection. (2019). Report on the Implementation of the Mediation Act B.E. 2019. February 25, 2023, from https://catalog.rlpd.go.th/sk/organization/pcd_os_dataset

Nithiphanyangsong, T. (2021). Development of the Dispute Mediation Process during Investigation Stage by Buddhist Peace Method in Phuket Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Phra Nakhon Sri Ayutthaya.

Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammachitto). (2010). Integrating Buddhism with Modern Sciences: Buddhism and National Reconciliation. Retrieved March 12, 2023, from https://www.mcu.ac.th/article/detail/435

Phramaha Hansa Dhammahaso (Nithibunyakorn) (2013). Religious Principles and Dispute Mediation. Bangkok: Active Print Co., Ltd.

The Peace Studies and Good Governance Institute, King Prajadhipok's Institute. (2019). Training Program and Manual for Training Personnel to Register as Mediators under the Dispute Mediation Act, B.E. 2019. Retrieved March 12, 2023, from https://www.kpi.ac.th/

The WHOQOL Group. (1995). The World Health Organization Quality of Life assessment (WHOQOL): Position Paper from the World Health Organization. Social Science & Medicine, 41(10), 1403-1409.

Wasi, P. (2000). Desirable Quality of the Elderly. Bangkok: Chulalongkorn University.

Watthanatsap, W. (2012). Conflict: Principles and Tools for Problem Solving. (4th ed.). Khon Kaen: Khlangnana Wittaya Press.