กระบวนการจัดการพื้นที่ทางศิลปะ ปาตานี อาร์ตสเปซ

Main Article Content

ดุจตะวัน กันไทยราษฎร์
สิทธิธรรม โรหิตะสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมและกระบวนการจัดการพื้นที่ศิลปะปาตานี อาร์ตสเปซ จังหวัดปัตตานี โดยเก็บข้อมูลด้วยการศึกษางานเอกสาร สังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ศิลปินในกลุ่มปาตานี อาร์ตสเปซ จำนวน 8 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่าปาตานี อาร์ตสเปซ ก่อตั้งในปี 2557 เพื่อใช้เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับกลุ่มศิลปินสามจังหวัดชายแดนใต้ในการแสดงงานศิลปะ เผยแพร่วัฒนธรรม และเพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตามแต่ละบุคคล กิจกรรมของปาตานี อาร์ตสเปซได้แก่ นิทรรศการศิลปะ บรรยาย เสวนา เวิร์กชอป ฉายภาพยนต์สั้น เทศกาล และให้เช่าใช้สถานที่ กิจกรรมส่วนใหญ่จะบอกเล่าปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ในมุมของคนท้องที่ผู้พบเจอปัญหาอย่างแท้จริง นอกจากนี้ปาตานี อาร์ตสเปซยังมีกิจกรรมการแสดงนิทรรศการยังพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย สำหรับการจัดการพื้นที่ของปาตานี อาร์ตสเปซ พบว่ายังไม่เป็นระบบเท่าที่ควรจากอุปสรรคด้านรายได้ จึงมีการจัดการในส่วนที่จำเป็นก่อน เช่น ภัณฑารักษ์ ร้านอาหาร และอาคารนิทรรศการ กิจกรรมในอนาคตของปาตานี อาร์ตสเปซจะมีการสร้างพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน และที่พักศิลปินจากต่างพื้นที่ อีกทั้งมีแนวคิดสร้างเทศกาลศิลปะทุก 2 ปีเพื่อแสดงศักยภาพของศิลปินในสามจังหวัดชายแดนใต้และเพื่อให้ผู้คนเข้ามาเที่ยวในพื้นที่มากขึ้นอันนำมาซึ่งรายได้สู่ชุมชน ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดที่ผ่านมาของ ปาตานี อาร์ตสเปซส่งผลให้คนจากภายนอกพื้นที่เข้าใจความเป็นมาสถานการณ์ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้นผ่านงานศิลปะ และยังทำให้ผู้คนได้เห็นความหลากหลายของศิลปะมลายู นำไปสู่การยอมรับความหลากหลายทั้งทางความเชื่อ เพศ วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการทำให้กลุ่มศิลปินสามจังหวัดชายแดนใต้ได้เข้าไปสู่วงการศิลปะร่วมสมัยในเวทีระดับชาติได้

Article Details

How to Cite
กันไทยราษฎร์ ด. ., & โรหิตะสุข ส. . (2024). กระบวนการจัดการพื้นที่ทางศิลปะ ปาตานี อาร์ตสเปซ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(4), 1605–1616. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280069
บท
บทความวิจัย

References

Apimukmongkol, A. 2023. Patani Artspace’s Curator. Interview. October, 13.

Boonphokaew, K. (2017). The Politics of Art Production: Ethnography of Art Exhibition Practices in Thailand after 1997. (Doctoral Dissertation). Thammasart University. Bangkok.

Eknava, N. (2015). The Mixed Media Art Movement in Thailand During 1985s - 2013s. Veridian E-journal, Silpakorn Univesity, 8(1), 1378-1388.

Grodach, C. (2009). Art Spaces, Public Space, and the Link to Community Development. Community Development Journal, 14(4), 474-493.

Jehsorhoh, J. (2021). Patani Artspace Founder. Interview. January, 13.

Maluleem, J. (2021). The Pattern and Process of Peace Negotiation and Conflict Resolution in the Deep South of Thailand. Innovation and Management Journal, 6(2), 92-101.

Pirayakarnnon, M., & Thungsakul, N. (2021). Article Review: Public Space, Cultural Space and Public Cultural Space. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment Journal, 8(1), 134-158.

Rohitasuk, S. (2017). Modern Art in Thailand: The Movement of Private Art Galleries and Art Trading in Bangkok from the 1950s to the 1990s. Bangkok: Mahāwitthayālai Thammasāt.

Satha-Anand, C. (2008). The Violence and the Manipulation of "Truth": Pattani after Half a Century. Bangkok: Thammasat Press Publishing.