ครอบครัวไร้ความรุนแรงด้วยพี่เลี้ยงชุมชน

Main Article Content

ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
สุริยเดว ทรีปาตี
สีฟ้า ณ นคร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากฎหมายด้านความรุนแรงในครอบครัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและนำเสนอแนวทางพัฒนาที่สามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและสิทธิที่เกี่ยวข้อง และทักษะการจัดการกับความรุนแรง ทักษะการให้ความช่วยเหลือ 3) เพื่อสร้างพี่เลี้ยงชุมชนที่สามารถให้ความช่วยเหลือและถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาให้กับผู้อื่น      ในชุมชน ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง กลุ่มผู้นำ อาสาชุมชน เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายท้องถิ่น ในพื้นที่ 4 ภาค จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เชียงราย อุดรธานี และสุราษฎร์ธานี และขยายผลต่อ 9 จังหวัด เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเฉพาะตัวอย่าง แนวทางสนทนากลุ่มมีดังนี้ แนวทางการพัฒนาสาระสำคัญของกฎหมายความรุนแรงในครอบครัวที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงและเหมาะสมกับบริบทสังคมไทยควรเป็นอย่างไร คำสำคัญอะไรที่ควรให้เกิดความเข้าใจตรงกันในแต่ละกลุ่ม เช่น นิยาม ความรุนแรงในครอบครัว และ สาระเกี่ยวกับกฎหมายความรุนแรงในครอบครัว (และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง) และสิทธิมนุษยชนที่แต่ละกลุ่มควรรู้ การให้น้ำหนักความสำคัญในแต่ละกลุ่มสาระ ควรให้สาระใดที่เหมาะสม ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชน กับกลุ่มผู้ใหญ่ เช่น ครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน แบบประเมินความรู้และความพึงพอใจ การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสะท้อนคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย Wilcoxon Signed Ranks


ผลการศึกษาสรุปผลได้ดังนี้ พบว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมและยังมีข้อกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่ควรปรับปรุงแก้ไขในบางมาตราเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมถึงยังมีผู้คนจำนวนมากที่ยังไม่ทราบถึงกฎหมายและสิทธิที่เกี่ยวข้อง เมื่อเกิดความรุนแรงแล้วไม่ทราบว่าจะแจ้งหน่วยงานใด และไม่ทราบว่าจะปรึกษาใคร ผู้วิจัยจึงนำเสนอ ดังนี้ 1) ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3 มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 และมาตรา 16 2) การให้ความรู้กฎหมายและสิทธิที่เกี่ยวข้องและทักษะการจัดการกับความรุนแรง ทักษะการให้ความช่วยเหลือ ด้วยหลักสูตร (1) การเสริมสร้างเยาวชนพลังบวกร่วมแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว (2) การพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชนครอบครัวพลังบวก โดยอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ 3 วัน มีเยาวชนที่เข้าอบรม 4 จังหวัดนำร่อง จำนวน 1,175 และกลุ่มแกนนำผู้ใหญ่ จำนวน 235 คน ผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เกิดเยาวชนพลังบวกร่วมยุติปัญหาความรุนแรงในครอบครัวร่วมผลิตสื่อรวม 40 ชิ้นงาน โครงการขับเคลื่อน 1 หมู่บ้าน 1 ตำบล ครอบครัวพลังบวก 2 ตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการสถานศึกษาสีขาว ร่วมยุติปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 6 แห่ง 3) การสร้างพี่เลี้ยงชุมชนที่เข้มแข็งในพื้นที่ 9 จังหวัดขยาย     โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ระยะอบรม 2 วัน มี 11 กิจกรรม ผู้เข้าอบรม รวม 357 คน ใน 9 จังหวัด ขยายผล ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีความรู้ เข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว การประสานต่อช่วยเหลือ ทักษะในการเป็นที่ปรึกษา เกิดพื้นที่ชุมชนที่นำไปขยายผลเผยแพร่ความรู้ 3 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพ สุพรรณบุรี และพะเยา

Article Details

How to Cite
วัฒนะประดิษฐ์ ข. ., ทรีปาตี ส. ., & ณ นคร ส. (2024). ครอบครัวไร้ความรุนแรงด้วยพี่เลี้ยงชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(5), 1892–1908. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/278994
บท
บทความวิจัย

References

Bangkokbiznews. (2020). Harness Community Potential, Establish Safe Zones, and Reduce Domestic Violence. Retrieved November 22, 2021, from https://www.bangkokbiz news.com/news/detail/908506

Boonlop, B. (2021). Provincial Prosecutor at the Office of the Attorney General, Special Prosecutor's Office, Legal Development Division, Academic Office. Interview. March, 31.

Bureekul, T. (2021). 24th Annual King Prajadhipok’s Institute (KPI) Congress 2022. Retrieved January 20, 2021, from https://www.kpi.ac.th/uploads/pdf/R16III1ocDhUqbTPw98Bl0Z0gI8sew0EHAOlfbMU.pdf

Chaitanyapat, T. (2020). Problems in the Enforcement of Domestic Violence Laws. Retrieved January 20, 2021, from https://library.coj.go.th/ebook.html?bid=56167&fid=14635

Department of Women's Affairs and Family Development. (2020). Study Report on Community-Based Approaches to Prevent and Address Violence Against Women and Family Members: Enhancing Existing Foundations and Establishing New Ones. Retrieved September 1, 2021, from https://opendata.nesdc.go.th/dataset/06b51b02-7d70-490e-ac42-e63243060faa/resource/16f88f11-aed7-4705-836e-910ee1d7e974/download/r6.1.29-cba-report.pdf

Gunmintra, C. (2019). Domestic Violence: Problems and Prevention. In RSUSSH 2019 Conference Committee (Eds). Proceedings of RSU Research Conference (2019) (pp. 984-997). Published Online: Rangsit University. Retrieved December 12, 2021, from https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2019/NA19-136.pdf

Kamphiranon, S. (2020). Domestic Violence in Thai Society. Bangkok: Academic Bureau, Secretariat of the Senate.

Pucharoensilp, S. (2018). The Next Step of the Law on Protection of Domestic Violence Victims. The Journal of Development Administration Research, 8(2), 32-42.

Ratchatawan, S. (2022). Prosecutor at the Office of the Attorney General, Office of Criminal Law Research and Justice Process Development, Nitivajra Institute. Interview. March, 26.

Tangon, R., & Sirisaksomboon, C. (2018). Legal Measure to Protect Victimization of Women under Domestic Violence: A Case Study of Cyberstalking in International Law. Journal of Politics, Administration and Law, 10(3), 465-490.

Theeravut, N., & Sripa, K. (2019). Domestic Violence Situation and Police Role Development in Dealing with Violence: A Case Study of Metropolitan Police Division 9. Journal of the Police Nurses, 11(2), 326-338.

Thongkuay, S. (2021). United Against Domestic Violence Crisis. Online Academic Seminar Participated on July 28, 2021. Member of the United Nations Committee on the Rights of Persons with Disabilities.

UNWOMEN. (2018). Fact and Figures: Ending Violence Against Women 2018. Retrieved November 21, 2021, from https://www.unwomen.org/en/what-we-do/ending-violence-against-women/facts-and-figures

______. (2018). Global Study on Homicide: Gender-Related Killing of Women and Girls 2018. Retrieved November 21, 2021, from https://www.unodc.org/documents/data-and-analysis/GSH2018/GSH18_Gender-related_killing_of_women_and_girls.pdf