กระบวนการส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี ของเทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

รภัสศา ธนวุฒิธนาดุล
อุทัย สติมั่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นและศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) ศึกษาหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 3) พัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการทดลองนำร่องแบบ Exploratory sequential design เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 28 คน สนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน โดยการทดลองนำร่องเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลก่อนและหลังการทดลอง ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และพรรณนาความตามประเด็นที่กำหนด สรุปผลแบบพรรณนาโวหาร


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาของ กระบวนการส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี มีปัญหาใน 2 ประเด็นหลักคือ 1) บุคลากรภายในองค์กรไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน 2) บุคลากรในองค์กรผู้มีหน้าที่ให้บริการไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนผู้มารับบริการ 2. หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาการเคารพศักดิ์ศรี      ความเป็นมนุษย์ได้แก่หลัก สังคหวัตถุ 4 ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของมนุษย์ในสังคมให้เป็นสังคมที่ดีและมีความสุข เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกันโดยอาศัย ธรรม 4 ประการ ได้แก่ “ทาน” คือ การให้อภัย การเสียสละ การเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน“ปิยวาจา” คือ การสื่อสารด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ ไม่หยาบคายก้าวร้าว เหมาะแก่ กาลเทศะ “อัตถจริยา” คือ การประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และ “สมานัตตตา” คือ การเป็นคนเสมอต้น เสมอปลาย มีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล ก่อให้เกิดความไว้วางใจในองค์กรทำให้องค์กรเกิดสันติสุข 3. การสร้างกระบวนการส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีด้วยการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการแนวคิดศาสตร์สมัยใหม่ได้แก่ทฤษฎี Kohlberg เป็นหลักการที่มนุษย์ใช้ในการตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใด แนวคิด The PLUS Decision Making Model เป็นการตัดสินใจเชิงจริยธรรม โดยพิจารณาจากอักษรย่อ 4 รายการใน PLUS แนวคิดในการเรียนรู้ของ Bloom’s Taxonomy เป็นการพัฒนาเพื่อให้เกิดพฤติกรรมจนเป็นวิถีชีวิตของการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดี ร่วมกับ หลักสังคหวัตถุ 4 ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของมนุษย์ในสังคมให้เป็นสังคมที่ดี เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกันได้เป็นองค์ประกอบของ “RESPECT Model”

Article Details

How to Cite
ธนวุฒิธนาดุล ร., & สติมั่น อ. . (2024). กระบวนการส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี ของเทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(6), 2469–2482. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/278886
บท
บทความวิจัย

References

Artidcharoenchai, D. (2015). Happy Workplace in Sriboonyanon School. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.

Industry Network. (2015). Strategy, Articles for the General Public, Knowledge Base. Retrieved February 24, 2024, from https://www.ftpi.or.th/2015/2084

Lertpaitoon, S. (2019). Compilation of Academic Articles in Celebration of the 60th Birthday of Professor Dr. Somkit Lertpaithoon. Bangkok: October Printing House.

Limanon, P. (2024). The Role of Men in Contemporary Thai Family Issues. Journal of the Psychiatrist Association of Thailand, 43(3), 258-265.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

National Center for Geriatric Medicine. (2020). Dharma Teachings. Retrieved February 21, 2024, from https://www.si.mahidol.ac.th/th/siacg/page_detail.asp?id=1

Office of the National Human Rights Commission. (2016). Documents from a Seminar Project to Disseminate Knowledge on “Law on Equality and Non-Discrimination”. Bangkok: Office of the National Human Rights Commission.

Panyapa, R. (2011). Buddhist Virtues in Socio-Economic Development. Bangkok: 21 Century Company.

Phra Athikan Nathawor Khunwaro (Thawornsak). (2022). Respect for Human Dignity in Buddhism. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Social Information and Indicators Development Division Office of the National Economic and Social Development Council. (2023). Report on Analysis of the Situation of Poverty and Inequality in Thailand 2022. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.

Tanchai, W. (N.D.). Decentralization of Responsibilities to Modern Local Administrative Organizations. Retrieved March 26, 2023, from http://www.local.moi.go.th/webst/botfam1.htm

Termpet, T. (2007). Human Dignity: Studying the Case of Protection according to International Law and National Law. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Thairath Online. (2014). Angered by Complaints about Slamming a Door, Man Fires Six Shots, Killing Municipality Worker. Retrieved March 31, 2023, from https://www.thairath.co.th/news/local/central/394415?optimize=a

The Standard Team. (2021). April 1, 1905-King Chulalongkorn (Rama V) Officially Abolishes Slavery in Thailand. Retrieved February 24, 2024, from https://thestandard.co/onthisday01042448/

Waree, S. (2021). Cultural Rights. Retrieved March 8, 2024, from https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/278