สันตินวัตกรรมการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ชฎาพร บุญหนา
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอสันตินวัตกรรมการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ทดลองนำร่องแบบ Exploratory Sequential Design เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก 22 รูป/คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก จิตวิทยาเด็ก ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาและสันติวิธี สนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการทดลองนำร่องกลุ่มผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลก่อนและหลังการทดลอง ได้แก่ แบบประเมินการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสะท้อนความรู้สึกด้วยเทคนิค AAR ใช้สถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยค่า t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วสรุปผลแบบพรรณนาโวหาร


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ปัญหาพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็กที่ไม่พร้อมขาดความเข้าใจในการดูแลเด็กปฐมวัย ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ได้แก่ องค์ความรู้ในการดูแลเด็กไม่เพียงพอ, ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก และการบริหารจัดการสภาวะอารมณ์ตัวเอง 2) ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยต้นแบบ มีหลักธรรมที่นำพัฒนาให้เกิดสันติวิถี คือ พรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา 3) พัฒนาและนำเสนอสันตินวัตกรรมการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย คือ การใช้หลักสูตร ประกอบด้วย 4 โมดูลของการฝึกปฏิบัติและติดตามผล เพื่อสร้างให้เกิดการตระหนักรู้ ผลการทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยสมรรถนะของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า t-test = 3.34 ที่ระดับ .05 ผู้เข้าอบรมพึงพอใจในการอบรมและนำความรู้ไปใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี หลักสูตรนี้เกิดองค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย คือ “CARE” Model

Article Details

How to Cite
บุญหนา ช. ., & วัฒนะประดิษฐ์ ข. . (2024). สันตินวัตกรรมการพัฒนาสันติวิถีของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(6), 2494–2505. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/278695
บท
บทความวิจัย

References

Chumnanvech, K. et al. (2022). A Study and Development of Self-Compassion of Rajabhat Univesity Students with the Use of Integrated Group Psychological Couseling. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 3090-3103.

Janngarm, R., & Promsakha Na Sakonnakhon, R. (2023). Effects of Preschool Parenting Program on Knowledge and Caring Skills of Parent for Promoting Development and Emotional Quotient of Early Childhood in Banphaeng District, Nakhonphanom Province. Journal of Environmental and Community Health, 8(3), 302-312.

Jitwarin, L., et al. (2023). Best Practices in the Management of Private Early Childhood Care Centers in Foreign Countries. Mahidol University's Integrated Social Science Journal, 10(1), 105-109.

Kritpittayabun, K. (2023). Revealing Statistics for 16 Years, There Has Been More than 1,300 Cases of Violence Against Children and Continued Abuse. Retrieved June 25, 2023, from https://shorturl.asia/FSziA

La-ongthong, K. et al. (2021). An Applications of Buddhism’s Four Brahmvihara to the Administration for Child Development Center in Kaset Wisai District, Roi Et Province, Journal of Mani Chettha Ram Wat Chommani, 2(1), 22-33.

Phromreungrit, K. et al. (2020). Caregiving for Early Childhood in Child Development Center: Role of Caretaker. Christian University Journal, 25(2), 109-118.

Sa-nguanphong, Y. et al. (2022), Competency for Raising Early Childhood through Eat-Hold-Play-Tell and Caregiver Participation in Na Siew Subdistrict, Mueang Chaiyaphum District, Chaiyaphum Province. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 16(3), 816-833.

Thammarongpreechachai, P. (2021). Wisdom of Happiness through Self-Compassion. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 9(2), 224-237.

UNICEF. (2023). Early Childhood Development. Retrieved December 2, 2023, from https://citly.me/OTRto