การพัฒนาหลักสูตรเสริมวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการสร้างหลักสูตรเสริมวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมจาก 3.1) การศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 3.2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยของหลักสูตรเสริม กับนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรปกติ 3.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรเสริม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ คือ ครู 24 คน และนักเรียน 316 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และการศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริม คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 88 คน ที่ศึกษาในโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วสุ่มอย่างง่ายให้ 1 ห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง และอีก 1 ห้องเรียนเป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม หลักสูตรเสริม แบบทดสอบ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนเห็นว่าสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D. = 0.70) ส่วนความต้องการอยู่ในระดับมาก (
= 4.13, S.D. = 0.69) ครูเห็นว่าสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก (
= 3.99, S.D. = 0.90) และความต้องการอยู่ในระดับมาก (
= 3.88, S.D. = 1.06) 2. หลักสูตรเสริมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย ผลการเรียนรู้ โครงสร้างเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้การวัดและประเมินผล และเกณฑ์การจบหลักสูตร ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (
= 4.01, S.D. = 0.52) 3. หลักสูตรเสริมมีประสิทธิผล โดยพบว่า 3.1) นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์โดยรวมร้อยละ 83.65 ซึ่งอยู่ในระดับดี ทั้งนี้พบว่าหลักสูตรเสริมมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.65/81.07 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3.2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนตามหลักสูตรปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรเสริมในระดับมาก (
= 3.75, S.D. = 0.49)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Aj-in, S. (2013). Developing a Learning Management Model that Emphasizes Analytical Thinking in Groups of Subjects. Learn Science. Retrieved November 20, 2013, from http://www.resjournal. kku.ac.th/article/16_01_72.pdf
Charoenwongsak, K. (2010). Analytical Thinking. (6th ed.). Bangkok: Success Media.
Golding, C. (2005). Developing a Thinking Classroom: A Workbook for Professional Learning Teams. Melbourne: Hawker Brownlow Education.
Laonet, N. (2013). Is It Really Difficult to Develop Thinking Skills? Retrieved November 20, 2013, from http://www.pccpl.ac.th/~sci/techer/25540622inquiry.pdf
Lekkaew, S. (2012). Organizing Learning Activities Using the Inquiry Process that Emphasizes Skill Training. Thinking: To Develop the Ability to Think and Analyze Academic Achievement and Psychology. Science, Science Learning Content for Mathayom 1 Students. (Master’s Thesis). Chiang Rai Rajabhat University. Chiang Rai.
Lomsai, K. (2009). Factors Influencing the Development of Thinking Processes in Basic Educational Institutions. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Nakhon Pathom.
Mayothee, N. (2013). Developing Analytical Thinking Abilities with Learning Activities, Project on Making Thai Desserts from Local Ingredients Career Learning Subject Group and Technology, Mathayom 1 Level. (Master’s Thesis). Maha Sarakham Rajabhat University. Maha Sarakham.
McGuinness, C. (1991). From Thinking Skills To Thinking Classrooms: A Review and Evaluation Oof Approaches for Developing Pupils’ Thinking. (Research Report). London: DfEE.
Nakaro, A. (2008). Developing a Curriculum to Enhance Self-Management Abilities Using Guidance Activities for Mathayom 1 Students. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University Prasarnmit. Bangkok.
Noochan, O. (2008). Study of Analytical Thinking Skills and the Ability to Summarize Ideas. Summary of 4th Grade Students Learning Using the Inductive Teaching Method Together with Mind Mapping Techniques Thai Language Learning Group. (Master’s Thesis). Graduate School, Thaksin University. Songkhla.
Sariwat, L. (2006). Thinking. Bangkok: Odeon Store.
Schiever, S. W. (1991). A Comprehensive Approach to Teaching Thinking. Boston: Allyn and Bacon.
Singhsena, E. (2009). Developing Analytical Thinking Ability, Thai Language Learning Group of Grade 3 Students at Muang Loei School Loei Educational Service Area Office Area 1. (Master’s Thesis). Graduate School, University Loei Rajabhat. Loei.
Sriphuwong, K. (2008). Learning Results with the Analytical Thinking Process in the Thai Language Learning Subject Group of 6th Grade Students. Khon Kaen University. Khon Kaen.
Sukkakarin, S. (2017). Report on the Development of Ready-Made Lessons. Creative Set of Five Steps Poem for Mathayom 1 Students at Ban Nai Soi School. Mae Hong Son: Ban Nai Soi School.
Susaoraj, P. (2008). Development of Thinking. Bangkok: Chulalongkorn University Book Center.