การพัฒนาหลักสูตรเสริมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง จำนวนและพีชคณิตวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ธนพร งามเถื่อน
กชกร ธิปัตดี
จำลอง วงษ์ประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรเสริมตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องจำนวนและพีชคณิตวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรเสริม 3) ทดลองและศึกษาผลการใช้หลักสูตรตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง จำนวนและพีชคณิตวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยระยะที่ 1 มีสองกลุ่มคือครูผู้สอน จำนวน 40 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 400 คน สหวิทยาเขตเดชนาอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้หลักสูตรเสริม คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 35 คน โรงเรียนนากระแซงศึกษา ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา แบบวัดพฤติกรรมอันพึงประสงค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยากง่ายและอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ และการทดสอบที


ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับปานกลาง (equation = 2.77, S.D. = 1.03) และนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (equation = 2.80, S.D. = 1.32) 2) หลักสูตรเสริมที่สร้างขึ้นประกอบด้วย หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง และแนวดำเนินการที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะการแก้ปัญหา และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.57, S.D. = 0.10) 3) ผลการใช้หลักสูตรเสริมทดสอบหลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 34.09 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.21 พบว่าหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาอยู่ในระดับมาก (equation = 4.24, S.D. = 0.08) นักเรียนมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (equation = 4.21, S.D. = 0.07) นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.61, S.D. = 0.11) หลักสูตรเสริมได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลักการ จุดหมาย โครงสร้างเนื้อหาและแนวดำเนินการให้สอดคล้องกัน

Article Details

How to Cite
งามเถื่อน ธ. ., ธิปัตดี ก. ., & วงษ์ประเสริฐ จ. . (2025). การพัฒนาหลักสูตรเสริมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง จำนวนและพีชคณิตวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 13(1), 290–303. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/277860
บท
บทความวิจัย

References

Chankhao, S. (2015). Development of Health Education and Physical Education Curriculum for Novices at the Lower Secondary Level in Phrapariyattham School. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Chuchuy, C. (2020). The Development of a Mathematics Process Skills Test for Prathom Suksa 2 Students by Application of Generalizability Theory. (Master’s Thesis). Naresuan University. Phitsanulok.

Demaisip Hortillosa, A. (2013). Context-Based Mathematics Problem Solving: Cognitive and Affective Effects on BIT and BS VOC-Tech Students. IAMURE International Journal of Education, 5(1), 1-1.

Ekakul, T. (2009). Operations Research, Printed No. 2. Ubon Ratchathani: Yongsawat Inter Group Co., Ltd.

Koomsiri, P. (2018). Relationship between Public Stigma, Attitudes and Social Supports in Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD). (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Lertpattanakitkul, A. (2011). A Study of Internet Usage Behavior of the Students under the Office of the Basic Educational Commission in Bangkok Educational Service Area 1. (Master’s Thesis). University Srinakharinwirot. Bangkok.

Paiwittayasiritham, C. (2007). A Development of the Curriculum Evaluation Model: An Application of a Meta-Evaluation. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Phanich, W. (2012). Ways of Creating Learning for Students in the 21st Century. Bangkok: Sodsri Foundation.

Phusara, R. (2003). Curriculum Development in Line with Educational Reform. Bangkok: Book Point.

Promket, C. (2013). Report on the Results of the Development of Problem-Based Learning Activities, Subject Groups, Science Learning About Life and the Environment of Mathayom 3 Students at Thesaban Wat School Sa Thong, Secondary Educational Service Area Office 27. (Research Report). Maha Sarakham: Maha Sarakham Rajabhat University.

Santiwong, T. (1994). Organization and Administration. (9th ed.). Bangkok: Thai Phatthana Panich.

Saylor, J. G., & Alexander, W. M. (1974). Planning Curriculum for School. New York: Holt Rinehart and Winston, Inc.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace & World, Inc.

Wither, S. E. (2000). Local Curriculum Development and Place-Based Education. (Doctoral Dissertation). University of Denver. Colorado, U.S.A.