การจัดวางภูมิสถาปัตย์ของวัดใหม่ (ยายแป้น) ให้เป็นรมณียสถาน สำหรับการเจริญจิตภาวนา โดยใช้พลังบวรเป็นฐานตามแนวพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการจัดวางภูมิสถาปัตย์ 3. เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในรูปแบบอริยสัจจ์โมเดล ภายใต้กรอบการดำเนินงานวิจัย 9 ขั้นตอน โดยมีเครื่องมือวิจัยคือการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มประชากรจำนวน 40 รูป/คน ประกอบด้วย 1. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิสถาปัตย์ 5 ท่าน 2. กลุ่มผู้แทนพระภิกษุสงฆ์วัดใหม่ (ยายแป้น) 5 รูป 3. กลุ่มผู้แทนชุมชน 10 ท่าน 4. กลุ่มผู้แทนหน่วยงานของรัฐและโรงเรียนในพื้นที่ 5 ท่าน 5. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้านการจัดวางภูมิสถาปัตย์ 5 รูป 6. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้านพระพุทธศาสนา 5 รูป 7. กลุ่มผู้แทนผู้มาปฏิบัติธรรม 5 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาและความต้องการจำเป็นของชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) คือ ปัญหาการไม่มีพื้นที่สีเขียว ปัญหาฝุ่น PM2.5 ปัญหาการขาดแคลนที่จอดรถ ดังนั้น การจัดวางภูมิสถาปัตย์ของวัดใหม่ (ยายแป้น) ให้เป็นรมณียสถาน จะทำให้เกิดสุขภาวะภายในที่ดี 2. หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการจัดวางภูมิสถาปัตย์ คือ สัปปายะ 4 ประกอบด้วย 1) อาวาสสัปปายะ การออกแบบการจัดวางภูมิสถาปัตย์ที่ตอบโจทย์ความต้องการ 2) ปุคคลสัปปายะ สะท้อนจากการมีส่วนร่วมของพลังบวร 3) โภชนสัปปายะ การช่วยเหลือแบ่งปันกันด้านอาหารภายในชุมชน 4) อุตุสัปปายะ การออกแบบภูมิสถาปัตย์ ให้มีช่องให้ลมพัดผ่าน 3. พัฒนาและนำเสนอ แบบการจัดวางภูมิสถาปัตย์ของวัดใหม่ (ยายแป้น) ให้เป็นรมณียสถาน องค์ความรู้ที่ได้ คือ “ROMANEE Model” 1) Relax ผ่อนคลาย 2) Organizing จัดระเบียบ 3) Mindfulness การมีสติ 4) Architecture สถาปัตยกรรม 5) Naturopathy ธรรมชาติบำบัด 6) Empowerment พลังบวร และ 7) Environment สิ่งแวดล้อม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Kellert, S., & Calabrese, E. (2023). The Practice of Biophilic Design. Retrieved July 2, 2023, from https://www.biophilic-design.com/
Khamfad, P., Luengworrawattana, P., & Magod-in. (2021). Buddhist Principles and the Power Concept of “Bowon” (Ban, Temple, School) to Promote the Conservation of the Chedi Bucha Canal. 13th National Academic Conference (Nokhon Pathom Rajabhat University): Conservation of the Natural Environment and Local Arts. Nokhon Pathom: Nokhon Pathom Rajabhat University.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2016). Introduction to Buddhism: Life Is Beautiful, Society Is Good, Nature is Romanee. (2nd ed.). Bangkok: Plitham Publishing House.
Phraatikan Ratthanathorn Nadhadhammo (Tappavon), Phrasrisombhot (Waranyo Sonchun), & Namsena, S. (2023). Landscape Design Model of Temples to Promote Dhamma Practice. The Journal of Research and Academics, 6(6), 41-54.
Phrakhruchayapattanathorn (Nai Sundaro), Sukhuprakarn S., & Kanlayapatthanakul W. (2023). Planning of Aranyavasi Temples in Thai Society. The Journal of Research and Academics, 6(1), 1-14.
Phrakhrupalad Panyaworawat, & Koomkrong, S. (2022). Open the Door to Bang Khun Non, Yin Yol Wat Mai (Yai Paen). Bangkok: Prayoonsanthai Publishing House.
Phrakhrupalad Sampipatthanadhammajan (Niran Sirirat), Phramaha Chit Tongkratok, &
Koomkrong, V. (2022). A Successful Encouragement in the Vipassana Meditation Practice according to the Sappaya Principle. Journal of Arts Management, Foundation of Globalization Fairness, 6(4), 1908-1922.
Phrakhrupalad Wanchart Vichato (Yoddamnern), & Phramaka Hai Dhammamedhi (Saechua) (2024). SANCTUARY: The Management of the Construction for Temple in Buddhism. The Journal of Research and Academics, 7(1), 337-352.
Phramaha Sangiam Suwajo (Maneewong), Phrakhrupipithpariyattikit, & Phoowachanathipong, K. (2019). Model of Happiness Monastery Development by Suppaya Based on Buddhist Psychology. Journal of MCU Nakhondhat, 6(6), 2822-2841.
Phramaha Thanakorn Kittipanyo (Sroisri), Sukprakarn, S., & Namsena, S. (2022). Landscape Architecture of Temples Promotion the Buddhist Tourism in Phetchabun Province. The Journal of Research and Academics, 5(4), 29-31.
Tapuling, C., Kotsupho, P., & Phrakhrusiripariyatyanusath (2022). A Model of Temple Development according to Buddhist Ecology: A Case Study of Temples Promoting Environmental Management at an Excellent Level. Journal of Graduate studies Review MCU Phrae Campus, 8(2), 150-168.
United Nations Thailand. (2023). The Causes and Effects of Climate Change. Retrieved June 10, 2023, from http://Thailand.un.org/th/174652-สาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
World Commission on Environment and Development. (2023). Our Common Future. Retrieved July 13, 2023, from http://www.un-documents.net/our-common-future.pdf