การประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อการให้การบริหารนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพ : ศึกษากรณีสาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระเจตนิพิฐ พุทฺธญาโณ กาวิละ
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริการนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักสติตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อเสนอการประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อการให้บริการนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพของหลักสูตรสันติศึกษา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (แบบภาคสนาม) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้รับบริการ จำนวน 13 รูป/คน กลุ่มผู้ให้บริการ จำนวน 6 รูป/คน กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 5 รูป/คน รวม จำนวน 24 รูป/คน วิเคราะห์ผลด้วยอุปนัยวิธี


ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทสภาพปัญหาความต้องการและแนวคิดทฤษฎีการบริการของเจ้าหน้าที่หลักสูตรสันติศึกษาในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่การดูแลบริการนิสิตจำนวนมากทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ทำให้การดูแลบริการไม่ทั่วถึงได้ การให้บริการนิสิตต้องการให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด เจ้าหน้าที่ควรมีสติเป็นอย่างมาก มีสติตั้งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ การสื่อสาร การประสานงาน รวมถึงการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนิสิต ต้องการให้มีการบริการผ่านทางการสื่อสารกลุ่มไลน์ใช้เทคโนโลยี ด้วยมีสติมุ่งมั่นเพื่อให้บริการประทับใจ 2) สติ หมายถึง ความระลึกได้ การมีสตินั้นคอยกำกับไม่ให้หลงลืม ระลึกรู้ไม่เลื่อนลอย สติเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวงและเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ สติเป็นเกราะกันภัยไม่ให้เกิดปัญหา มีศรัทธาในการบริการ ไม่ทำความเบียดเบียนพยาบาท มีความพากเพียรในการทำงานและเป็นผู้มีปัญญา และ 3) การประยุกต์หลักสติให้เอื้อต่อการบริการนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพของหลักสูตรสันติศึกษา นั้นสามารถสรุปได้ 8 ประการ ได้แก่ (1) มีสติคอยกำกับไม่ให้หลงลืมไม่ให้เลื่อนลอยในการงานบริการนิสิตด้วยความรับผิดชอบ (2) มีสติยึดเหนี่ยวจิตใจศรัทธาแน่วแน่ในงานบริการนิสิตด้วยหัวใจ ไม่มีความคับแค้นใจบริการนิสิตด้วยใจ      ที่เป็นสุข (3) มีสติตื่นตัวกับการบริการนิสิตด้วยความกระตือรือร้นเพื่อความอำนวยสะดวกรวดเร็ว (4) มีสติ การสื่อสารในการบริการนิสิตด้วยทักษะการสื่อสารเพื่อรักษาความสัมพันธ์ให้ดี ไม่กระทบกระทั้ง ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง (5) มีสติตั้งมั่นทำงานบริการนิสิตตามหน้าที่รับผิดชอบโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น (6) มีสติในการแสดงออกในการให้บริการนิสิตด้วยความสำรวมยิ้มแย้มแจ่มใส (7) มีสติตั้งจิตแน่วแน่ในความดี มีศีล มีความเพียรเพื่อการบริการนิสิตด้วยความโปร่งใส และ (8) มีสติอยู่เป็นสุขเพื่อการบริการนิสิตในปัจจุบัน ด้วยความเป็นผู้มีปัญญา

Article Details

How to Cite
พุทฺธญาโณ กาวิละ . พ. ., & วชิรปญฺโญ พ. . (2025). การประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อการให้การบริหารนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพ : ศึกษากรณีสาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 13(1), 27–41. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/277260
บท
บทความวิจัย

References

Chanlun, J. (2020). Information Behavior during COVID-19 Pandemic Era. TLA Bulletin, 64(2), 36-49.

Charoensiri, S., Wongsuwan, Ch., Suwanlert, Ch., & Siriwong, W. (2018). The Model to Retrieve Electronic Information via the Digital 4.0 “Cloudbrarian” Service. Pulinet Journal, 5(1), 223-231.

Horsaengchai, B. (2018). A Trend for Developing Peace Engineers Curriculum in Integrated Buddhist Perspective: A Case Study of the Doctor of Philosophy Program in Peace Studies Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Kaewchaithen, P. (2018). Guidelines for Arranging Lifelong Learning Resources in Neighborhood Area of Chulalongkorn University to Promote the Youths to Be Lifelong Learners. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Kaewsowatana, N., & Phramaha Hansa Dhammahaso. (2021). The Developmental Process of Mindfulness-Based Learning: A Case Study Upper Primary School at Ban Tha Khoi Nang School Sisaket Provice. Journal of MCU Peace Studies, 9(3), 1015-1027.

Mugsudachaisiri, N. (2019). A Development of Master of Arts Program in Mindfulness Studies (International Program) of International Buddhist Studies College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Apichai Abhivaddhano. (2016). An Application of Garavasadhamma for Enhancing Peaceful Families. Journal of MCU Peace Studies, 4(1), 174-187.

Phra Supakit Supanno, Iamsupasit, S., & Udomtamanupab, M. (2020). Effect of Mindfulness and Solving Problem Process to Stress and Learning Achievement of Students in Secondary School: Mueang District, Kanchanaburi Province. Journal of MCU Peace Studies, 8(2), 585-595.