กระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขภายใต้พลังบวร โดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา สาเหตุ ความต้องการจำเป็นด้านครอบครัวสันติสุขในเขตพื้นที่แขวงบางขุนนนท์ กรุงเทพมหานคร และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขภายใต้พลังบวรโดยพุทธสันติวิธี 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เอื้อต่อกระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขภายใต้พลังบวรโดยพุทธสันติวิธี 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในรูปแบบอริยสัจโมเดล มีขั้นตอนวิจัยตามแนวทางบันได 9 ขั้น การสัมภาษณ์เชิงลึก 3 กลุ่ม 1. กลุ่มประชากรในชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) 22 คน 2. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 16 รูป/คน 3. สนทนากลุ่มย่อย 6 รูป/คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการดำเนินชีวิตร่วมกันของครอบครัวในชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) มีปัญหาจากสถานะทางเศรษฐกิจ การขาดศีลธรรม ขาดความซื่อสัตย์และขาดความตระหนักในหน้าที่ ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจและร่างกาย นำมาซึ่งครอบครัวแตกแยก 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุข คือ หลักฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เพื่อให้การดำเนินชีวิตร่วมกันในครอบครัวระหว่างคู่สมรสได้รู้จักความซื่อสัตย์ อดทนก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรค ให้อภัยฝึกตนข่มใจ รู้จักเสียสละ ใส่ใจในบริบทรอบ ๆ ตัวของทั้งสองฝ่าย 3) กระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุข ผ่านกิจกรรมเรียนรู้ 5 กิจกรรม เกิดองค์ความรู้ใหม่ คือ ครอบครัว สุกหรรษา โมเดล โดยการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) รู้จักใส่ใจ ยอมเสียสละ มีความรู้สึกเชิงบวก เห็นใจระหว่างกัน 2) รู้จักเปิดใจ มีความมั่นคงทางจิตใจ พูดจริงทำจริง มีความรักความอบอุ่น การดูแลด้านจิตใจกัน 3) รู้จักเข้าใจ รู้จักอดทนต่อสิ่งเย้ายวนใจ เข้าใจในตัวตนหาทางออกของปัญหาชีวิตได้ 4) รู้จักวางใจ เกิดสัมพันธภาพที่ดียิ่งขึ้น มีความเห็นอก เห็นใจกัน 5) กิจกรรมเรียนรู้สุกหรรษา เกิดพันธะสัญญาช่วยสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง ช่วยเหลือเกื้อกูล ในการดำเนินชีวิตครอบครัว ให้เกิดความสันติสุขอย่างยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chimvilaisup, A. (2016). The Sustainable Development of Thai Community: Ban Doi Chang Case Study. Rangsit University. Pathum Thani.
Chuimanee, S. (2017). A Study of Application of Four Garavasadhammas for the Householder of Spouse. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Duangkhieo, T. (2023). Wat Mai Community Secretary (Yai Paen). Interview. April, 29.
Eoseewong, N. (2002). Before the Sri Ariya Era: Regarding Religion Beliefs and Morals. Bangkok: Matichon.
Kanlayapatthanakul, W. et al. (2021). Buddhist Principles and Principles to Strengthen Family Security in Accordance with Buddhism. Journal of MCU Peace Studies, 9(1), 84.94.
Lucknowanich, S. (2011). Personal Relationship, Living Behaviors, and Academic Achievement of University Students in the Private Residence, Rangsit Area, Pathumthani. Bangkok: Bangkok University.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
McClelland, D. C. (1970). Test for Competence Rather than Intelligence. American Psychologists, 1(3), 57-83.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok: Office of the Prime Minister.
Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammcitto). (2019). Sustainable Development Goals (SDGs). Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.
Phra Phromkhunaporn (P.A. Payutto). (2000). Family Happiness Is the Peace of Society. (2nd ed.). Bangkok: Thammasapa.
Phramaha Hansa Dhammahaso. (2011). Buddhist Peaceful Means. Bangkok: 21st Century Co., Ltd.
Prabkraisi, T. (2023). Kham Government Teacher Level 7. Interview. April, 25.
Rạksap̣hạkdee, J. (2001). A Study of Married Couple's Morality according to the Buddhist Ethics. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.
Rasamithammachote, S. (2005). Guidelines for Developing Human Potential by Competency Based Learning. (2nd ed.). Bangkok: Sirivatana Interprint Public Company Limited.
Rawạngngan, S. (2010). Causal Relationships of Big Five Personality Factors on Relationship Satisfaction of Dating Couples with Components of Love as Mediators. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Sirisit, K. (2023). Private Company Employee. Interview. April, 24.
Siriwanbut, P. (1997). Family Psychology. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
Srithongsuk, K. (2016). The Moderating Effect of Internal Locus of Control on the Relationships among Perceived Organizational Support Peer Relationship and Happiness at Work. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.
Thaokotsri, S. (2023). Private Company Employee. Interview. April, 26.
The Bureau of Registration Administration. (2015). Divorce. Retrieved July 5, 2023, from https://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-han d%20book%20/general/28-general-status-divorce
Themomentum. (2017). Divorce Doesn't Mean Failure Changing Perspectives on Divorce in Thai Society. Retrieved July 5, 2017, from https://themomentum.co/momentum-feature-divorce-not-fail/
Wasi, P. (1996). Buddhism and the Spirit of Thai Society, Research Issues on Religion and Culture. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Wattanaphanit, K. (2023). Private Company Employee. Interview. April, 25.
Yoomonthien, P. (1994). When Dharma Protects the World of Buddhadasa Bhikkhu, Abbreviated Version. Bangkok: Sukkhapabjai.