การพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบเพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนบ้านเหมือดแอ่ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมาลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ปัญจรีย์ จุลไกรอานิสงส์
ถวิลวดี บุรีกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบททั่วไป สภาพปัญหาชุมชน และคุณลักษณะจิตอาสาของเยาวชน ในชุมชนบ้านเหมือดแอ่ และแนวคิด ทฤษฎี การพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุข ตามหลักวิทยาการร่วมสมัย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุข 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุข โดยพุทธสันติวิธี ของชุมชนบ้านเหมือดแอ่ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยวิเคราะห์ตามแบบอริยสัจจ์โมเดล ใช้ขั้นตอนบันได 9 ขั้น ประกอบหลักการคิดเชิงออแบบ ร่วมกับการใช้วิธีการ 5 ป. นำหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 และสติ มาบูรณาการสร้างเครื่องมือในการฝึกอบรม กับกลุ่มทดลอง 16 คน กิจกรรมในการฝึกอบรม 8 กิจกรรม


ผลการวิจัยพบว่า 1) เยาวชนในชุมชนยังขาดคุณลักษณะความเป็นจิตอาสา ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ใช้แนวคิดทฤษฎีจิตอาสา การพัฒนาการของเด็กและเยาวชน ทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผูอื่น ชุมชน และกระบวนการเสริมสร้างชุมชนสันติสุข เป็นต้น 2) หลักธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบที่นำมาใช้ คือ สังคหวัตถุ 4 และสติ 3) กระบวนการพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุข โดยพุทธสันติวิธี ด้วยรูปแบบ YOUTH Volunteering Model” หลักการสำคัญ ดังนี้ Y = Yourself หมายถึง การเริ่มต้นจากตนเองทั้งด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ ด้านจิตวิทยารวมไปถึง การมีคุณธรรมประจำใจที่จะช่วยเหลือบุคคลที่มีความลำบากกว่าตน O = Opportunity หมายถึง การมีโอกาสทางการศึกษา ทางสังคม ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างโอกาสให้แก่ผู้อื่นในการสร้างจิตอาสา U = Unity หมายถึง ความสามัคคีและการร่วมมือกันให้เกิดผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ T = Talk หมายถึง คำพูดเสริมสร้างทักษะในการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์อันดีงามในการทำงานจิตอาสา H = Hospitality หมายถึง การเสียสละและเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม


ผลการประเมินการนำกระบวนการไปใช้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากแบบประเมินหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และ คะแนนเฉลี่ยระยะติดตามผลหลังจบกิจกรรมสูงกว่าหลังการทดลอง แสดงให้เห็นว่า   กลุ่มทดลองได้รับการพัฒนาความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการเป็นต้นแบบจิตอาสาเพิ่มสูงขึ้น

Article Details

How to Cite
จุลไกรอานิสงส์ ป. ., & บุรีกุล ถ. . (2024). การพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบเพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนบ้านเหมือดแอ่ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมาลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(5), 2041–2056. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/276972
บท
บทความวิจัย

References

Anprasit, D. (2012). Socialization Model to Promote Volunteerism in the Community: A Case Study of Bang Namwan Community Phra Pradaeng District, Samut Prakan Province. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Asyo, P. (2014). Revealing the Focus of Organizing Education on Citizenship Duties in the 21st Century. Retrieved January 18, 2022, from http://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/39671-6848.pdf

Bunruang, P. (2012). Lifelong Education. Retrieved January 18, 2022, from http://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/39671-6848.pdf

Kalasin Provincial Office. (2021). Strategy and Information for Provincial Development Group Kalasin Province Development Plan 2020-2022. Retrieved January 20, 2022, from https://www.kalasin.go.th/t/th/planproject/planp-a/2561-2565-2563.html

Sai-sorn, S. (2013). Integration of Buddhist Principles in Volunteer Work. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Suphasorn, P., Somsri, T., & Saetwong, S. (2012). The Process of Developing Volunteerism according to Buddhism. (Research Report). Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Tiyao, B. (2018). Volunteer Movement: Socialization and Personal Development of Youth in Bangkok and Surrounding Areas. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavid yalaya University. Ayutthaya.

WHO. (1994). Life Skill Education for Children and Adolescents in School. London: Department of Health.