การพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนเมืองภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธี ของชุมชนวัดสารอด กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธีของชุมชน วัดสารอด 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธธรรมที่เอื้อต่อรูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธีของชุมชนวัดสารอด และ 3) เพื่อพัฒนา และนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธีของชุมชนวัดสารอด เป็นงานวิจัยแบบอริยสัจจ์โมเดล การวิจัยเชิงคุณภาพ ลงพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คำถามสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ จัดสนทนากลุ่มเฉพาะ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลัก รวม 39 รูป/คน ประกอบด้วย พระภิกษุสงฆ์ 13 รูป แกนนำชุมชนวัดสารอด 25 คน หน่วยงานภาครัฐ 1 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาภูมิปัญญาวัดสารอด คือ ชุมชนไม่ให้ความสนใจภูมิปัญญาชุมชน ผู้นำภูมิปัญญาไม่การถ่ายทอดภูมิปัญญา เทคโนโลยี การบริโภคที่เปลี่ยนไป ขาดการประชาสัมพันธ์และประสานงาน ขาดประสบการณ์ ขาดความร่วมมือ เสียสละ ภูมิปัญญาไม่มีเอกลักษณ์และสูญหาย 2. พุทธธรรมที่เอื้อ คือ อริยสัจ 4 หลักอปริหานิยธรรม การประชุม ร่วมแสดงความคิดเห็น การระดมสมอง กำหนดเป้าหมาย ส่งเสริมสนับสนุน ร่วมมือ เสียสละ ปฏิบัติตามแผนงาน 3. ผลการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนภายใต้กรอบพลังบวร ได้รูปแบบ “KHAI Model” มีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ 1. K=Knowledge ความรู้ถูก 2. H=Highlight ปลุกให้เด่น 3. A=Activity เน้นกิจกรรม 4. I=Impression ประทับใจ เกิดองค์ความรู้ใหม่ 4 ด้าน 1) แหล่งเรียนรู้ 2) ชูอัตลักษณ์ จดจำมีคุณค่าและมูลค่า 3) สมัครสมานสามัคคี 4) สำราญสุข อยู่ดีกินดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Boonnam, J., & Nawakitphaitoon, N. (2022). Innovation of Cultural Knowledge and Local Wisdom Management for Community Development in Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Buddhistic Sociology, 7(2), 103-114.
Chaiwan, C., Phrapalad Sura Yanatharo, Phrakrusadhukitkosol, & Chusrisuk, W. (2023). Buddhist Peaceful Means for Resolving Current Social Conflicts. Mahachulagajasara Journal, 14(2), 11-21.
Chuenchit, T., Maneekard, I., & Doungkeaw, N. (2023). Development of Local Wisdom Learning Resources for Informal Learning Management of the Khmu Ethnic Group in the Highlands of Chiang Rai Province. Journal of BSRU-Research and Development Institute, 8(2), 47-60.
Jenjai, N. (2023). Community Product Development from Cultural Wisdom Capital, the Old Town Sob Som-Hat Krai Community, Wiang Sub-District, Chiang Khong District, Chiang Rai Province. Journal of SaengKhomKham Buddhist Studies, 8(3), 559-579.
Khundet, W. (2023). Sarod Temple Official. Interview. November, 25.
Kongsema, S., & Wongwatthanaphong, K. (2023). Factors Affecting the Success in Operating the Community Enterprise of Community Rice Production and Propagation Group, Ngio Rai Sub-District, Taphan Hin District, Phichit Province. Journal of Modern Learning Development, 8(12), 202-215.
Layim, T. et al. (2022). Local Food Wisdom of Chai Nat Province: Development of Samrub Chai Nat. Journal of Home Economics, 65(2), 58-73.
Maprasert, P., Adulbutra, S., & Maitreesophon, B. (2023). Public Participation in Community Development in Bangkao Sub-District, Municipality Cha-Am Dristrict, Phetchaburi Province. Journal of Mani Chettha Ram Wat Chommani, 6(5), 267-285.
Nakhonsawan PAO. (2023). Palang Bowon Cooperation 7 Projects. Retrieved June 19, 2024, form https://www.nakhonsawanpao.go.th/performance/view/547
Pakkret city Municipality. (2022). Local Wisdom. Retrieved October 23, 2022, form https://www.pakkretcity.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2873
Phra Kampanat Sukwattano. (2023). Representative of the Monks of Wat Sarod. Interview. November, 25.