การพัฒนาสามเณรภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธี ของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระภวัต ธมฺมจาโร เหลืองศิล
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสามเณรของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร ภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธี 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสามเณรของวัดสารอด และ 3) เพื่อพัฒนา และนำเสนอการพัฒนาสามเณรของวัดสารอด งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบอริยสัจโมเดลสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตามแนวบันได 9 ขั้น โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นการเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก รวม 30 รูป/คน ประกอบด้วย พระภิกษุสงฆ์ 6 รูป แม่ชี 1 รูป กลุ่มอุบาสก อุบาสิกา 23 คน การวิจัยเชิงคุณภาพลงพื้นที่จากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาเกี่ยวกับสามเณรวัดสารอด คือ ขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง ไม่ตรงต่อเวลา ไม่สามารถที่จะซักจีวร เก็บจีวร ดูแลรักษาจีวร และเก็บสิ่งของเครื่องใช้ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยตนเองได้ ชอบหลบนั่งหลับในห้องน้ำ ความจำสั้น ขาดทักษะในการใช้ภาษาไทย ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ติดโทรศัพท์มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงติดเกมส์ มีอารมณ์ก้าวร้าว ไม่เชื่อฟังคำสอนพระอาจารย์ต่อหน้าอย่างหนึ่งลับหลังอย่างหนึ่ง ไม่อยู่ในกฎระเบียบ ไม่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ไม่เคารพพระพี่เลี้ยง กระทำความผิดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน พูดจาหยาบคาย และสามเณรกับพี่เลี้ยงขัดแย้งทะเลาะกันเอง 2. พุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสามเณรของ วัดสารอดภายใต้กรอบบวรของวัดสารอด มุ่งที่หลักแห่งอริยสัจ 4 หลักกิจวัตร 10 ประการ มาเป็นเครื่องมือใช้ในการปกครอง และนำเอาเครื่องมือแห่งไตรสิกขา พัฒนาที่ละขั้นที่ละตอนอย่างเหมาะสม กับธรรมชาติของสามเณร และ 3. ผลการพัฒนาสามเณรภายใต้กรอบพลังบวร สามเณรต้องการมีพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิดให้คำแนะนำแนวทางการปฏิบัติที่ถูก ใส่ใจดูแลสามเณรให้อยู่ในโอวาท ทำให้สามเณรอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีสามัคคีปรองดอง มีความรู้ มีปัญญาแยกแยะผิดชอบชั่วดีได้ การพัฒนาสามเณร เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของพลังบวรที่ต้องร่วมมือกันในการพัฒนาสามเณร ทำให้ได้รูปแบบกอบัวโมเดล “KORBUA Model” มีองค์ประกอบย่อย 8 ประการ ได้แก่ กอบัวที่ 1 K=Knowledge มีความรู้ดี กอบัวที่ 2 O = Operation การจัดการ กอบัวที่ 3 B = Behave พากันประพฤติดี กอบัวที่ 4 R= Relation สานสัมพันธ์ กอบัวที่ 5 U = Unique มีลักษณะเฉพาะ กอบัวที่ 6 A = Assist อนุเคราะห์ผู้อื่น องค์ความรู้ใหม่ในงานวิจัยนี้ คือ เพื่อพัฒนาสามเณรให้มีความเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี ท่าทีน่าเลื่อมใส จิตใจสุขสม และอุดมปัญญา


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Inthasara, W. (1986). Human Resource Development according to Buddhist Principles, Volumes 1 and 2. Bangkok: Bannakhan.

Leader Community of Wat Sarod. (2023). New Knowledge Regarding the Development of Novice Monks at Wat Sarod. Interview. May 15.

Phra Dhammapitaka (P.A. Prayutto). (1997). Buddhism Develops People and Society. Bangkok: Local Printing House.

Phra Khamyod Paññadharo (Inphachant). (2017). A Study of Moral Cultivation of Students at Lao International College, Lao People’s Democratic Republic. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Phrammabundit. (2014). Integrating Buddhism and Modern Science Buddhism and National Reconciliation. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing House.

Phra Thanakrit Kalyanadhammo (Kertlamjiak). (2018). Study of Applying the Principles of Loving-Kindness to Reduce Violence in Today's Society. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramaha Hansa Dhammahaso (Nithibunyakorn). (2002). Crisis in Buddhism: A Case Study of Novice Ordination in Thailand (C.E. 1980-2000). (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

______. (2016). Peace Studies: the Buddhist Path to World Peace. Journal of MCU Peace Studies, 4(sp1), 1-9.

Representative of the Novice Wat Sarod. (2023). New Knowledge Regarding the Development of Novice Monks at Wat Sarod. Interview. May 15.

Representative of the Sangha Wat Sarod. (2023). New Knowledge Regarding the Development of Novice Monks at Wat Sarod. Interview. May 15.