การพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสาโดยพุทธสันติวิธีของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วิภาวี ปรุงเกียรติ
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา และความต้องจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสาของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร และแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) ศึกษาและวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสาภายใต้กรอบบวรของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร และ 3) พัฒนาและนำเสนอการพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสาโดยพุทธสันติวิธีของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอริยสัจจ์โมเดล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ จัดสนทนากลุ่มเฉพาะ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มี   ส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 28 รูป/คน ประกอบด้วย พระภิกษุสงฆ์จำนวน 6 รูป แม่ชีจำนวน 1 คน และกลุ่มอุบาสิกาจำนวน 21 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) วัดสารอด เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” มีเครือข่ายบวรที่เข้มแข็งในการพัฒนาวัดให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองด้วยกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ปัจจุบันมีอุบาสิกามาปฏิบัติธรรมจำนวนมากขึ้น แต่ขาดอุบาสิกาจิตอาสาที่มีความรู้ความสามารถมาทำหน้าที่ปฏิบัติงานสร้างโยชน์ของส่วนรวม ในการขวนขวายช่วยเหลืองานวัด จึงต้องการพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสาที่ดีและลดค่าใช้จ่ายจัดจ้างแรงงานทำหน้าที่ภายในวัด 2) พุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาอุบาสิกาจิตอาสา ได้แก่ ด้านศีล กำหนดวิถีชีวิต จัดวางระเบียบกติกาใช้ร่วมกันในสังคม ด้านสมาธิ ตั้งใจรับผิดชอบและตรวจสอบนโยบายโครงการต่าง ๆ ทุกกระบวนการร่วมกันด้วยจิตใจที่มั่นคงแน่วแน่ ด้านปัญญา ดำเนินงานในหน้าที่อย่างใคร่ครวญอย่างรอบด้านตัดสินใจ คิดริเริ่มร่วมกันในกิจกรรมตามแนวทางแห่งสันติ 3) นำเสนอองค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสา 5 ประการของ PHOTI MODEL มี (1) P: practice แผนปฏิบัติ เป็นการวางแผนในการทำการขวนขวายช่วยเหลืออย่างจิตอาสา (2) H: hospitality พร้อมช่วยเหลือ ตั้งมั่นในการขวนขวายอาสาช่วยเหลือ เสียสละเวลา โดยไม่หวังผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทน (3) O: organization พร้อมเมื่อต้องการ จิตอาสารวมพลังสามารถช่วยงานได้เป็นครั้งคราวตามกำหนดการล่วงหน้าชัดเจน สู่ผลลัพธ์สำเร็จตามเป้าหมาย (4) T: Trust vortsy ทำตัวให้มีคุณค่าแก่การเชื่อถือไว้วางใจ ดำรงตนอยู่ในหลักศีลธรรม จริยธรรม เป็นที่ยอมรับนับถือ (5) I: Identity อัตลักษณ์ สร้างความโดดเด่น ประทับใจ ร่วมมือกันเสียสละทำให้มีอุบาสิกาจิตอาสาขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้นเพียงพอและมีสัญลักษณ์จิตอาสาอันน่าจดจำ ทำให้เกิดสันติภาพในชุมชนอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ammaphan, S. (2004). Lecturers Must Know. Bangkok: Odeon Store Press.

Chaowiwat, P., & Sae-Eab, S. (2019). Tzuchi: The Charity of Public Mind is Metta to Sustain the World. Journal of Humanities Naresuan University, 16(2), 91-104.

Khecharanan, N. (1999). Human Resource Management. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Limapichat, K. (1988). Principles and Techniques for Organizing Training and Development: Planning Guidelines Project Writing and Project Management. Bangkok: Siam Silp Printing.

Meejanphet, M. (2020). Laity Model in the Early Buddhism: A Dimension of Buddhist Support. (Doctoral Dissertation). Mahamakut Buddhist University. Nakhon Pathom.

Metheesuwapab, S., & Wijitwanna, S. (2019). Human Resource Potentialities in Organizations: Evaluation and Development. Siam Academic Review, 20(35), 1-10.

Miller, V. A. (1994). The Guidebook for Global Trainers. Massachusetts: Human Resource Development Press, Inc.

Phra Dharmakosacarya (Prayoon Dhammajitto). (2010). How to Integrate Buddhism with Modern Science. Bangkok: MCU Press.

Phramaha Hansa Dhammahaso (Nithibunyakorn). (2014). Buddhism and Modern Technology. (3rd ed.). Phra Nakhon Si Ayutthaya: MCU Press.

Phramaha Hansa Dhammahaso (Nithibunyakorn). (2018). The Integration of the Knowledge in Field of Peace for Developing Peace Building Process in Thai Society. Journal of MCU Peace Studies, 6(3), 1254-1266.

Suyaprom, S. et al. (2013). Organizational Theory and Management. (2nd ed.). Bangkok: MCU Press.

The National Security Policy and Plan. (2019). Area Development Plan to Enhance National Security (2019-2022). (2nd ed.). Bangkok: Office of the National Security Council.