การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนา และ 2) เปรียบเทียบภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในทัศนะของผู้มีส่วนได้เสีย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้มีส่วนได้เสียของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้แก่ 1) นักศึกษาปัจจุบัน จำนวน 182 คน 2) ศิษย์เก่า จำนวน 169 คน และ 3) สถานประกอบการ จำนวน 49 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ เป็นคำถามเกี่ยวกับภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี 1) เชิงพรรณนา 2) เชิงอนุมาน ด้วยวิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลความ ค่าสมมติฐาน ค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) การจำแนกวิเคราะห์องค์ประกอบตัวแปร
ผลวิจัยพบว่า 1) ภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในทัศนะของผู้มีส่วนได้เสียมีความแตกต่างกัน 2) เมื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาของคณะศิลปศาสตร์ฯ ผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มมีระดับความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สำหรับภาพลักษณ์ปัจจุบัน กลุ่มศิษย์เก่าและสถานประกอบการเห็นภาพลักษณ์ด้านบุคลากรมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักศึกษาปัจจุบันเห็นภาพลักษณ์ด้านคุณภาพบัณฑิตมากที่สุด นอกจากนี้ทุกกลุ่มยังคาดหวังให้มีภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาที่ดีขึ้นไปอีก โดยนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าพึงปรารถนาให้มีภาพลักษณ์ด้านความเป็นนานาชาติมากที่สุด และสถานประกอบการพึงปรารถนาให้มีภาพลักษณ์ด้านนวัตกรรมมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Apiwanworarat, T. (2022) Dean of Faculty of Liberal Arts. Interview. November, 10.
Boonrat, A. (2014). The Roadmap for Developing Image of Private University in Thailand. (Doctororal Dissertation). Prince of Songkla University. Songkla.
Bucha, S., & Sukumolchan, W. (2021). Image of Students of the Faculty of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Thanyaburi that Affects the Decision to Accept Students to Practice Cooperative Education in the Organization. (Research Report). Pathum Thani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Chairasmisak, K. (2009). CEO and Love. Bangkok: Book Smile Publisher.
Chanapan, T. (2005). Communication Management of Faculties of Communication Arts in Private Universities: A Study of the Decision Making of First Year Students to Apply for Bachelor’s Degree. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.
Committee of Educational Quality Assurance, Faculty of Liberal Arts, Panyapiwat Institute of Management. (2021). SAR, Faculty of Liberal Arts, 2021. Nonthaburi: Panyapiwat Institute of Management.
Freeman, R. E. et al. (2010). Stakeholder Theory: The State of the Art. Cambridge: Cambridge University Press.
Kasemsuk, C. (2019). Stakeholder Relationship Management. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Kumnoonwat, D., & Chansawang, W. (2005). Public Relations and Communications. (2nd ed.). Bangkok: Intime Trade Limited Partnership.
Sadeputtibavorn, I. (2018). Creating Image of Panyapiwat Institute of Management. (Master’s Thesis). Panyapiwat Institute of Management. Nonthaburi.
Sennok, M. (2013). Company Image and Marketing Mix Strategies Affecting Purchasing Decisions New Brand of Soft Drink Products of Consumers in Bangkok: A Case Study of S Brand Soft Drink Products of Sermsuk Public Company Limited. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.
Suphakawanich, C. (2008). Brand Building. Thai Contractors. Retrieved March 23, 2023, from http://www.thaicontractors.com/content/cmenu/1/20/41.html
Wongwattana, S., Amsa-art, L., Phothihang, P., & Prakrongja, P. (2016). The Image of Pibulsongkram Rajabhat University. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 10(1), 1-13.